Probiotic

โปรไบโอติค ขับถ่าย

Probiotic คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีที่มนุษย์อย่างเราต้องการ โดยทั่วไปเชื่อว่าเราคงจะได้ยินเกี่ยวกับ Probiotic อยู่แล้ว เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าร่างกายของมนุษย์ต้องการ Probiotic ในการย่อยอาหารและสารชนิดต่าง ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Probiotic กันว่าสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องการแบคทีเรียชนิดนี้กัน 

Probiotic คืออะไร 

Probiotic หรือโพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีต่อสุขภาพของเรา เป็นมิตรกับลำไส้ของเรามาก การบริโภค Probiotic ในวงกว้างนั้นมีความปลอดภัยสูง น้อยมากที่ Probiotic จะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา ความน่าสนใจก็คือโพรไบโอติดค้นพบครั้งแรกในโยเกิร์ต ณ ประเทศบัลแกเรีย ซึ่งเป็นสายพันธุ์บาซิลลัสที่มีชื่อว่า Lactobacillus bulgaricus ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1905 โดยแพทย์และนักจุลขีววิทยาชาวบัลแกเรีย ที่ได้สังเกตว่าทำไมเมื่อเราตั้งนมวัวไว้ที่อุณหภูมิสูง ๆ รสชาติและลักษณะจะเปลี่ยนไปอย่างเป็นธรรมชาติ โดยลักษณะของนมวัวที่ตั้งไว้นานจะอยู่ในรูปของ Curd หรือว่าก้อนนม รสชาติที่เปลี่ยนไปคือมีความเปรี้ยวและกลมกล่อม จนทั้งหมดนี้กลายเป็นทฤษฎี Stamen Grigorov ซึ่งเป็นทฤษฎีสมัยใหม่ Élie Metchnikoff คือผู้ที่คิดค้นทฤษฎีที่ยอดเยี่ยมของโยเกิร์ตบัลแกเรียและเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเขาได้ตั้งสมมติฐานเมื่อราวปี 1907 ว่าชาวนาบัลแกเรียที่บริโภคโยเกิร์ตมีอายุยืนยาวขึ้น

เราจะเห็นได้แล้วว่าโพรไบโอติกเริ่มเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์นานแล้วจนในปัจจุบันมีอาหารหลากหลายประเภทที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกอยู่เมื่อเราได้ยินเกี่ยวโพรไบโอติกคงจะได้ยินกับคำว่าพรีไบโอติกหรือ Prebiotic จริง ๆ แล้วทั้งสองอย่างมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก พรีไบโอติกเป็นสารประกอบในอาหารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตหรือการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เช่น แบคทีเรียและเชื้อรา หรือเรียกง่าย ๆ ว่า Probiotic ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือในทางเดินอาหาร ซึ่งพรีไบโอติกสามารถเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในไมโครไบโอมในลำไส้ได้

ทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติดจะพบมากที่สุดในอาหารที่ผ่านการหมักมาแล้วเช่นโยเกิร์ตกิมจิเทปเป้และนัตโตะเป็นต้นซึ่งเกิดมากจากรดแลคติกที่เป็นแบคทีเรียหลักในการหมักอาหารทุกชนิดบนโลกซึ่งมีความสามารถในเรื่องของการถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสียได้ง่านและปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการ 

การทำงานและประโยชน์ของ Probiotic 

หน้าที่หลัก ๆ ที่โพรไบโอติกต้องทำเมื่อเราบริโภคเข้าไปก็คือปรับสมดุลในร่างกายของมนุษย์ รักษาสมดุลให้คงที่ เมื่อแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ เชื้อรา และเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูกับร่างกายของเราเล็ดลอดเข้ามา แบคทีเรียดีอย่าง Probiotic จะทำหน้าที่ในการขับไล่ของเสียและฟื้นฟูระบบภายในทันที ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นมาก เช่น หลายคนชอบเป็นโรคท้องผูก อาจจะเนื่องมากจากจุลินทรีย์ E.coli ในลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ โพรไบโอติกก็จะไปทำให้การทำงานของ E.coli กลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง แบคทีเรียที่ดีอย่างโพรไบโอติกยังช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงโดยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบการควบคุมการอักเสบของเนื้อเยื่อ โพรไบโอติกบางชนิดสามารถช่วยให้ร่างกายของเราย่อยอาหารได้ดีมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีนที่ร่างกายต้องใช้เวลาถึง 2 วันในการย่อยจนหมด ป้องกันไม่ให้แบคทีเรียร้ายแรงที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้และทำให้เราป่วยผ่านเข้ามาทางอวัยวะทุกส่วนของเรา เสริมสร้างวิตามินที่ดีต่อร่างกาย เช่น วิตามินดีที่ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์เองได้ 

ซึ่งอาหารที่ประกอบไปด้วยโพรไบโอติกที่เราสามารถหาได้ง่ายๆเลยก็คือนมเปรี้ยวเนยชีสและของหมักดองทั้งหลายแต่เราต้องทำการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกจะปลอดภัยต่อร่างกายของเราจริงๆหลายครั้งเราอาจจะเจอสารปนเปื้อนแอบแฝงมาก็เป็นได้ในหนึ่งวันนั้นเราจำเป็นค้องรับโพรไบโอติกประมาณ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ค่อนข้างไม่คงที่ ฉะนั้นหลายคนจึงเลือกรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกแทนเพื่อความสะดวก

ประเภทของ Probiotic ที่เราสามารถพบได้

  • Bifidobacteria เป็นแบคทีเรียประเภทแกรมบวกที่ไม่เคลื่อนที่ โดยทั่วไปจะอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ช่องคลอด ปากของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดบนโลก Bifidobacteria มักจะใช้เพื่อรักษาอาการท้องร่วง ท้องผูก ลำไส้อักเสบ ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน ป้องกันโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ 
  • Lactobacillus แลคโตบาซิลลัสเป็นแบคทีเรียที่ผลิตแลคเตส เอนไซม์ที่ย่อยสลายแลคโตส หรือน้ำตาลในนม แลคโตบาซิลลัสยังผลิตกรดแลคติก ซึ่งกรดแลคติกช่วยควบคุมจำนวนแบคทีเรียที่ไม่ดีในร่างกายให้มีปริมาณน้อย เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อร่างกายของมนุษย์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลิงของกล้ามเนื้อและเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุของร่างกาย แลคโตบาซิลลัสสามารถพบได้ทั่วไปในร่างกาย เช่น ลำไส้เล็ก อวัยวะเพศหญิง และปาก เป็นต้น 
  • B. animalis โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ประเภทโยเกิร์ต มีประโยชน์ในการช่วยย่อยอาหารและต่อสู้กับแบคทีเรียที่เข้ามาเป็นศัตรูต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังคิดว่าจะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของเราอีกด้วย
  • B. breve โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารและในช่องคลอด ซึ่งหน้าที่หลักของ B. breve คือจะต่อสู้กับแบคทีเรียหรือยีสต์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารและช่องคลอด ช่วยให้ร่างกายของเราดูดซึมสารอาหารโดยการหมักน้ำตาลภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังสลายเส้นใยพืชหรือไฟเบอร์ที่ย่อยยากให้ย่อยง่ายขึ้นด้วย
  • B. lactis โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้ได้มาจากน้ำนมดิบ เป็นแบคทีเรียที่ถูกใช้เพื่อใส่ในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกมากที่สุด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เสมือนพรีไบโอติกหรือว่าอาหารสำหรับโพรไบโอติก ทำให้ทารกน้อยมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมากขึ้น 
  • B. longum โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของเรา ทำหน้าที่ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรตและยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
  • L. acidophilus โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้สามารถพบในลำไส้เล็กและในช่องคลอด ช่วยย่อยอาหารและบางครั้งก็ช่วยต่อสู้กับแบคทีเรียในช่องคลอด สามารถพบได้ในโยเกิร์ตและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมัก เช่น มิโซะ เทมเป้ เป็นต้น
  • L. reuteri โพรไบโอติกสายพันธุ์นี้พบได้ในลำไส้และปาก งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า L. reuteri ลดแบคทีเรียในช่องปากที่ทำให้เกิดฟันผุ นอกจากนี้ยังมีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ด้วยว่าช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร

โทษของการได้รับโพรไบโอติกไม่เพียงพอ

เราจะเห็นได้ว่าโพรไบโอติกเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายการที่เราขาดโพรไบโอติกแสดงว่าร่างกายของเราขาดสมดุลซึ่งโทษของการได้รับแบคทีเรียดีอย่างโพรไบโอติกไม่เพียงพอมีเยอะมากดังนี้ 

  • รู้สึกอึดอัด ทางเดินอาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง กรดไหลย้อน อาการเสียดท้องซึ่งเป็นอาการของลำไส้ไม่สมดุล ระบบย่อยอาหารที่ไม่ดีจะมีปัญหาในเรื่องการแปรรูปอาหารและกำจัดของเสียในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินไปใช้ได้อย่างที่ควร 
  • น้ำหนักเกิดการแปรปรวน น้ำหนักของเราจะเพิ่มหรือลดลงภายในระยะเวลาอันสั้น โดยบางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากลำไส้เล็กไม่แข็งแรง ไม่มีสมดุล มีปัญหาในการดูดซับสารอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อสมองส่งสัญญาณว่าเราอิ่มและเก็บไขมัน ไมโครไบโอมในลำไส้จะขาดความหลากหลาย ซึ่งอาจเป็นสารตั้งต้นของโรคอ้วนที่อาจนำไปสู่ภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้น เช่น โรคหัวใจและโรคเบาหวาน
  • เกิดอาหารอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าตลอดทั้งวัน หลายคนอาจจะมีความคิดว่าการเหนื่อยล้าโดยไม่ทราบสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อย ทว่าอาการเพลียอาจจะเกิดมาจากลำไส้ของเรามีปัญหา ส่งผลในเรื่องของพลังงานที่เราต้องนำไปใช้ระหว่างวัน จนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไม่หาย นำไปสู่อาการนอนไม่หลับ นอนแล้วกระสับกระส่าย ปริมาณเซโรโทนีนในสมองไม่ถูกกระตุ้น 
  • ปัญหาเรื่องผิวพรรณ หากสุขภาพการขับถ่ายของเราดี ผิวพรรณของเราจะเปล่งปลั่ง สุขภาพของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่สามารถส่งผลในเรื่องของความงามได้ เช่น กลากและสิว เป็นต้น แม้กระทั่งการอักเสบในลำไส้ที่เกิดจากการแพ้อาหาร การรับประทานอาหารที่ไม่ดี และการขาดแบคทีเรียในลำไส้ที่ดีอย่างโพรไบโอติก เมื่อลำไส้เกิดอาการไม่สมดุล ซึ่งหมายถึงแบคทีเรียที่เป็นอันตรายมากกว่าแบคทีเรียชนิดดี สาเหตุเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับผิวของเราได้
  • การแพ้อาหาร เมื่อเราพูดถึงการแพ้อาหาร หลายคนอาจจะบอกว่าการแพ้อาหารเกี่ยวข้องกับความเซนซิทีฟของร่างกาย ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับโพรไบโอติก ทว่าจริง ๆ บางครั้งสาเหตุที่ทำให้เราแพ้อาหาร อาจจะเกิดมาจากลำไส้เกิดอาการที่ไม่สมดุล แบคทีเรียชนิดดีซึ่งมีน้อย ไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • อารมณ์แปรปรวน ลำไส้เล็กนั้นมีอิทธิพลต่อสมองของเรามาก นักวิทยาศาสตร์ให้ชื่อเล่นกับลำไส้เล็กว่าสมองที่สองของมนุษย์ การวิจัยมีการยืนยันซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าสิ่งต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน และสุขภาพทางอารมณ์นั้นเชื่อมโยงกับสภาวะของลำไส้ของมนุษย์ การมีแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ช่วยสนับสนุนการผลิตและการควบคุมสารเคมีที่กระตุ้นอารมณ์ที่สำคัญ เช่น โดปามีนและเซโรโทนิน

สรุป

เราจะเห็นได้ว่าโพรไบโอติกนั้นสำคัญมาก เราจำเป็นต้องได้รับแบคทีเรียชนิดดีในทุก ๆ วัน เพราะระบบการขับถ่ายของมนุษย์ต้องมีการระบายของเสียออกเป็นประจำ ฉะนั้นเราต้องมีการสำรวจตัวเองได้แล้วว่าเราได้รับโพรไบโอติกเพียงพอหรือเปล่า การได้รับโพรไบโอติกนั้นสามารถได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ จำพวกของหมักดองหรือจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเวลา เราสามารถสรุปเลยได้ว่าหากต้องการมีสุขภาพทางกายและทางจิตที่ดี ก็ต้องมีปริมาณโพรไบโอติกในร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมนั่นเอง