Immune

ป้องกันภูมิคุ้มกัน

Immune หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Immune system คือระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยทำให้ร่างกายของเราไม่เจ็บป่วย ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายเรามาก ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Immune system กัน ว่าทำไมร่างกายของมนุษย์ถึงต้องมี 

Immune system คืออะไร

ในทางชีววิทยาให้คำนิยามไว้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกตัวบนโลกต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อดำรงอยู่และสืบเผ่าพันธุ์ โดยธรรมชาติระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถรับรู้ได้เลยว่าสิ่งแปลกปลอมแบบไหนเข้ามาในร่างกาย แล้วจะทำการตอบสนองโดยการทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้นทันที สิ่งแปลกปลอมที่ว่าก็จำพวกเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ ที่เล็ดลอดเข้ามาผ่านทางช่องปาก รูจมูก ตา หรือว่าทางผิวหนัง ซึ่งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นโดยการส่งเม็ดเลือดขาวไปต่อสู้กับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวก็จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ B-cell และ T-cell หลังจากทำลายเสร็จแล้ว หน่วยความจำจะทำงานแล้วจดจำเชื้อโรคตัวนั้นไว้ เราจะสังเกตได้ว่าหากเราเป็นอีสุกอีใสแล้ว เราจะไม่เป็นอีก เนื่องจากสมองและระบบภูมิคุ้มกันของเราจดจำเชื้อโรคอีสุกอีใสไว้แล้ว เมื่อเราได้รับเชื้ออีกในอนาคต เราจะไม่ป่วยซ้ำ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ปรับตัวและออกมาทำลายเชื้ออีสุกอีใสเอง 

เซลล์เม็ดเลือดขาวคือคีย์หลักของระบบภูมิคุ้มกันจำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายของเราสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้เลยว่าร่างกายของเราแข็งแรงเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นมีความต่างจากเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยสิ้นเชิงถึงแม้ว่าลักษณะจะคล้ายกันนอกเหนือจากเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้ว Antibody คือสิ่งที่ช่วยต่อต้านศัตรูของร่างกายอมนุษย์เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะต่อต้านจำพวกสารพิษและแบคทีเรีย การทำงานก็คือเมื่อเจอพวกสิ่งแปลกปลอมแล้ว Antigen จะกระตุ้นให้ Antibody เข้ามาทำลายสิ่งแปลกปลอม เมื่อ Antigen และ Antibody มาทำงานร่วมกัน จะเรียกว่า Antigenic Determinant 

Immune system มีกี่ประเภท 

โดยปกติแล้วเราสามารถได้รับภูมิคุ้มกันหลายทาง ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ 3 แบบ

  • ภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติ คือเป็นภูมิคุ้มกันที่มนุษย์ได้รับมาตั้งแต่เกิด เป็นแนวป้องกันแรกของร่างกายของมนุษย์ รวมถึงสิ่งกีดขวางเช่นผิวหนังและเยื่อเมือก ภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติจะเก็บสารอันตรายไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย รวมถึงเซลล์และสารเคมีบางชนิดที่สามารถโจมตีสารแปลกปลอมได้
  • ภูมิคุ้มกันแบบแอคทีฟหรือที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (Adaptive Immunity) จะเกิดขึ้นเมื่อเราติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนป้องกันสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรค และเชื้อไวรัส ภูมิคุ้มกันชนิดนี้มักจะอยู่กับเราได้อย่างยาวนาน ซึ่งตัวอย่างภูมิคุ้มกันแบบแอคทีฟ คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 
  • ภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราได้รับ Antibody ต่อโรค แทนที่จะสร้างผ่านระบบภูมิคุ้มกันของเราเอง ตัวอย่างเช่น ทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันจากมารดา ผู้คนสามารถรับภูมิคุ้มกันแบบพาสซีฟผ่านผลิตภัณฑ์เลือดที่มี Antibody ภูมิคุ้มกันชนิดนี้จะปกป้องทารกทันทีแต่ใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันที่ไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด อยู่แค่ระยะสั้น 

Immune system อยู่ที่ไหน

ระบบภูมิคุ้มกันของเราอยู่ทั่วไปร่างกาย โดยจะอยู่ที่อวัยวะต่าง ๆ ดังนี้ 

  • ม้าม ซึ่งม้ามเป็นอวัยวะกรองเลือดที่กำจัดจุลินทรีย์และทำงานเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ผ่านการใช้งานและหมดประโยชน์แล้ว ซึ่งยังเป็นแหล่งในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและ Antibody ชนิดลิมโฟไซต์ เพื่อต่อสู้กับโรคที่เกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
  • ไขกระดูก ไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่อที่เป็นรูพรุนที่พบในกระดูกของเรา ทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ให้ร่างกายของเราขนส่งออกซิเจน เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เราใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ และเกล็ดเลือดที่เราต้องการเพื่อช่วยให้ลิ่มเลือดของเรา
  • ต่อมไทมัส ต่อมไทมัสทำหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท T-cell หรือ T-lymphocytes โดยต่อมไทมัสจะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายฮอร์โมน ซึ่งช่วยให้ T-cell ตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม 
  • ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองเป็นเครือข่ายที่อยู่ทั่วร่างกาย โดยมีระบบท่อของน้ำเหลืองเพื่อจัดการกับของเหลวในร่างกาย จัดการกับเซลล์เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เซลล์มะเร็ง คนที่เป็นมะเร็งลุกลามโดยส่วนใหญ่เกิดมาจากการทำงานของต่อมน้ำเหลืองทำงานไม่มีประสิทธิภาพ 
  • ผิวหนัง หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าผิวหนังของเราจัดเป็นระบบภูมิคุ้มกัน ผิวหนังช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย บนผิวหนังของเราจะมีเยื่อเมือกเคลือบอยู่ ซึ่งเป็นเยื่อเมือกบุชั้นในที่ใช้สร้างเพื่อกัดจับและต่อสู้กับเชื้อโรค 

โรคทั่วไปที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน 

อย่างที่เรากล่าวไปแล้วว่าระบบภูมิคุ้มกันเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของร่างกายเรา แค่ระบบภูมิคุ้มกันของเราไม่คงที่หรือได้รับความเสียหายเล็กน้อย โรคก็อาจจะเกิดขึ้นได้เลย ซึ่งมีโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้องระบบภูมิคุ้มกัน 

  • โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้มากเกินไป เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา หรือแมลงสัตว์กัดต่อย ซึ่งอาการจะแสดงออกมาให้เราได้เห็นกัน เช่น จาม มีน้ำมูก ผื่นแดงตามใบหน้า หรือคันตามผิวหนัง 
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรค SLE เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งภูมิคุ้มกันนั้นจะไปทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายจนเกิดการอักเสบและทำให้เกิดความผิดปกติทั่วไปร่างกาย โรคชนิดนี้พบได้ส่วนใหญ่ในผู้หญิง 
  • โรคเอดส์ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัส HIV ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์จะเกิดขึ้นหลังจากการได้รับเชื้อเอชไอวีไปแล้ว 8-10 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้รับเชื้อนั้น ประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะถูกบั่นทอนเรื่อย ๆ จนถึงขาดหายไปเลย ส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม เป็นต้น 
  • โรคมะเร็ง โรคมะเร็งที่เกิดมาจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเชื้อไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา ที่ไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวทั่วไปร่างกาย ส่งผลให้เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งยิ่งเรามีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องมากเท่าไหร่ โอกาสในการเกิดโรคมะเร็งก็มากขึ้นเท่านั้น 

จริงๆแล้วโรคที่เกิดจาก Immune system บกพร่องมีเยอะกว่านี้ ฉะนั้นเราจะเห็นแล้วร่างกายของเราขาดระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้เลย 

อาหารส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

พฤติกรรมการรับประทานอาหารนั้นมีผลกับระบบภูมิคุ้มกันของเราอย่างมากซึ่งมีวิตามินมากมายที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันซึ่งวันนี้เราจะแนะนำอาหารที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงมากกว่าเดิม 

  • โปรตีน เช่น นม ที่เป็นอาหารชั้นเลิศที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็เคยดื่มกัน ไม่ว่าจะเป็นนมวัว นมแพะ หรือนมที่ผลิตมาจากพืชอย่างนมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง ซึ่งนมอุดมไปด้วยโปรตีนที่มาในรูปของกรดอะมิโน ช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเรา นอกจากนี้นมยังสำคัญกับเด็กทารกอีกด้วย โดยเฉพาะนมจากแม่ที่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรก นอกจากนี้โปรตีนยังสามารถพบได้ในพืชอย่างบรอกโคลี 
  • วิตามินเอ โดยทั่วไปวิตามินเอจะอยู่ในผักใบเขียว ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากผักใบเขียวที่อุดมไปด้วยวิตามินเอแล้ว เรายังสามารถพบวิตามินเอได้ในเครื่องในสัตว์ ฟักทอง และแครอท
  • วิตามินซี วิตามินซีเป็นวิตามินที่เราควรได้รับในทุก ๆ ใน และยังให้ประโยชน์มากมายแก่เรา วิตามินซีช่วยในการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยทำลายเชื้อโรค เราสามารถพบวิตามินซีได้ในผลไม้หลากชนิด เช่น ฝรั่ง ที่อุดมไปด้วยวิตามินถึง 151-187 มิลลิกรัมต่อ 1 ผล โดยปกติวิตามินซีสามารถสลายตัวได้ง่ายมาก ฉะนั้นการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีควรรับประทานแบบไม่ผ่านการแปรรูป 
  • สังกะสี ระบบภูมิคุ้มกันนั้นควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้เป็นตัวขับเคลื่อนระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งแหล่งอาหารที่มีสังกะสี เช่น หอยนางรม ตับ และไข่ไก่เป็นต้น 
  • พรีไบโอติกส์ ซึ่งพรีไบโอติกส์คืออาหารสำหรับจุลินทรีย์หรือที่เรียกว่าโพรไบโอติกส์ เปรียบเสมือนหัวเชื้อของอาหารประเภทหมักดอง ซึ่งพรีไบโอติกส์ที่สำคัญก็คือแลคโตบาซิลัส ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว และชีสบางชนิด เมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้วจะเกิดการผลิตสารต่อต้านหรือสารกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อระบบภูมิคุ้มกันของเรา ทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้น 
  • วิตามินบี 6 ซึ่งวิตามินบี 6 ช่วยในการผลิตเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยสนับสนุนการทำงานของเซลล์นักฆ่า เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เข้ามา อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ก็เช่น ธัญพืชตระกูลถั่ว ปลา ไก่ และเนื้อสัตว์