ชาเขียว

ไร่ชาเขียว

Green tea หรือ ชาเขียว คือชาชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันทั่วไปอยู่แล้ว โดยปกติการดื่มก็จะชงกับน้ำร้อนจัด กลายเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่ใครหลาย ๆ คนชื่นชอบ หรือบางครั้งก็นิยมใส่ไซรัปไรหรือนมสดลงไปด้วย เพื่อความหลากหลายในการดื่ม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับชาเขียวให้ดีขึ้นกว่าเดิม ว่าจริง ๆ แล้วมันคือชาอะไรกันแน่

ชาเขียวทำมาจากอะไร

การแปรรูปชาเชียวนั้นมีมาอย่างช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มต้นจากประเทศญี่ปุ่นและจีนที่นิยมดื่มชาเขียวพร้อมขนมรสหวานจัด วิธีการผลิตนั้นมาจากใบชาสดมาผ่านไอน้ำหรืออบด้วยความร้อน เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในใบชาเขียว เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยา browning reaction ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ใบชามีสีน้ำตาล จากนั้นก็พาไปทำแห้ง ซึ่งใบชาที่ได้ก็จะมีสีเขียวตามต้องการ ซึ่งระดับของสีชาเขียวก็ใช้เป็นตัวจำแนกแบ่งชาเขียวเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น ชาเขียว Konacha ที่มีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นที่หอมหวาน นิยมชงในงานพิธีกรรม ชาเขียว Oujicha ที่เป็นชาเขียวคั่วที่มีสีน้ำตาลอมเขียวเข้ม มีรสชาติเข้มข้นที่สุดในบรรดาชาเขียว ชาเขียว Matcha หรือที่รู้จักกันดีในมัทฉะ มีสีเขียวอ่อน มีกลิ่นที่สดชื่น นิยมใช้เป็นส่วนผสมของขนมหวาน และเป็นชาที่ใช้ในการพิธีชงชาของญี่ปุ่น เป็นต้น 

ความเข้าใจผิดของหลายคนคิดว่าชาเขียวต้องเก็บมาจากต้นชาเขียวแน่นอนทว่าจะพูดแบบนั้นก็ไม่ผิดซะทีเดียวเพราะชาเขียวชาขาวชาดำหรือชาอู่หลงล้วนเก็บมาจากต้นชาชนิดเดียวกันซึ่งเป็นพืชชนิด Camellia sinensis แต่สาเหตุที่ทำให้รสชาติ กลิ่น ต่างกันออกไปคือการหมักและการแปรรูป ในปัจจุบันมี 2 ประเทศใหญ่ ๆ ที่ส่งออกชาเขียว คือ ประเทศจีนและญี่ปุ่น ความต่างของชาเขียวของ 2 ประเทศนี้คือ ชาเขียวจากประเทศญี่ปุ่นจะมีวิธีการที่ซับซ้อน ผ่านกรรมวิธีหลาย ๆ อย่าง แต่ชาเขียวจากประเทศจีนจะใช้แค่การคั่วเพียงอย่างเดียว ซึ่งรสชาติของชาเขียวญี่ปุ่นจะเข้มข้นกว่า ส่วนชาเขียวจีนจะเบากว่านั่นเอง 

สารที่มีอยู่ในชาเขียว

เหตุผลของคนทั่วไปที่นิยมดื่มชาเขียว ข้อแรกคือความอร่อย หอมหวาน ข้อที่สองก็คือสารอาหารที่มีอยู่ในใบชา โดยพบว่าใบชาเขียวหนึ่งใบ ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี และสารกลุ่ม Xanthine alkaloids หรือสารคาเฟอีนและธิโอฟิลลีน ที่มีอยู่เมล็ดกาแฟเหมือนกัน ซึ่งหน้าที่หลัก ๆ ก็คือการไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัวตลอดเวลา ลองสังเกตได้จากการที่เมื่อเราดื่มชาเขียว จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีความสดชื่นไปพักใหญ่ ๆ อีกทั้งยังพบสารโพลีฟีนอลในชาเขียว เช่น EGCG, Epicatechin Gallate, Myricetin, Kaempferol, Catechin และ Quercetin เป็นต้น ซึ่งเราพบว่าสาร Catechin คือตัวแปรในเรื่องของสี กลิ่น และรสชาติของชา ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น หากเราเก็บชาในฤดูใบไม้ผลิ จะมีปริมาณของ Catechin อยู่ที่ 12-13% แต่ถ้าหากเราเก็บในฤดูร้อน จะมีปริมาณ Catechin อยู่ที่ 13-14% ในเรื่องของความขมของชาเขียว จะมีสารแทนนินเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยถ้ามีปริมาณสารแทนนินมาก ชาเขียวของเราก็จะมีรสที่ขม ฝาด มากนั่นเอง 

ในทางการแพทย์พบว่าสาร Polyphenol มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะสาร Catechin ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ เช่นเดียวกันกับพวก bete-carotene ที่อยู่ในพวกพืชผักผลไม้ ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระนี้จะไปยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา oxidation ของไขมัน ข้อดีคือหากเราใช้ชาเขียวเป็นส่วนผสมของอาหารที่มีไขมันสูง ๆ เมื่อตั้งอาหารชนิดนั้นไว้นาน ๆ อาหารจะไม่เกิดกลิ่นเหม็นหืนขึ้น

ในปัจจุบันเราสามารถสังเกตได้ว่ามีผลิตภัณฑ์ชาเขียวออกมาวางจำหน่ายมากมายกรรมวิธีที่ใช้ก็คือการนำไปแช่ในสารละลายแอลกอฮอล์เพื่อลดความเข้มข้นซึ่งความเข้มข้นของชาเขียวขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในสารละลายโดยทั่วไปแล้วจะมีคาเฟอีนประมาณ 17.4% ของน้ำหนักชาเขียวประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบแคปซูล แบบผง หรือเม็ดยา ซึ่งปริมาณของคาเฟอีนที่ได้จะไม่เยอะจนเกินไป เพราะถ้าเยอะเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

ประโยชน์ของชาเขียว

ในประเทศญี่ปุ่นการดื่มชาเขียว เสมือนการดื่มน้ำเปล่า เพราะไม่ว่าจะวัยไหน เพศไหน ในมือก็ถือชาเขียวร้อนทั้งวัน ดังนั้นเรามาดูสรรพคุณชาเขียวมีอะไรบ้าง ทำไมคนญี่ปุ่นถึงชอบดื่มกัน 

  • ในประเทศจีนและอินเดีย มีการชาเขียวเพื่อรักษาช่วยในการย่อยอาหาร รักษาบาดแผล 
  • สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ในประเทศที่มีการบริโภคชาเขียวสูง ๆ พบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งมีน้อยมาก ซึ่งมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วยว่าสาร Polyphenol ในชาเขียวสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ จึงทำให้มีการใช้ชาเขียวเพื่อป้องกันการทำเคมีบำบัดของโรคมะเร็ง 
  • สามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้ เนื่องจากสาร Catechins และคาเฟอีนในชาเขียว ช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญเมตาบอลิซึมทำให้น้ำหนักลด
  • สามารถต้านการอักเสบได้ เนื่องจากสาร EGCG ที่มีอยู่ในชาเขียว ทำให้พวกบริษัทเครื่องสำอางต่าง ๆ นิยมสกัดสาร EGCG ในชาเขียว เพื่อกระตุ้นการตอบสนองต่อการอักเสบ ทำให้สุขภาพผิวของเราดีขึ้น 
  • ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ มีการศึกษาโดยสังเกตการณ์ของชาวญี่ปุ่นจำนวน 40,000 คน อายุราว 40-79 ปี ทุกคนต้องดื่มชาเขียวอย่างน้อย 5 ถ้วยต่อวัน ผลปรากฎว่าอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง 
  • สามารถลดความดัน ลดคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจในผู้ที่มีน้ำหนักเยอะหรือโรคอ้วนได้ 
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง สถาบัน AHA ของประเทศสหรัฐอเมริกามีการศึกษาการดื่มชาเขียวในผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก พบว่าความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองลดลง 
  • ทำให้ความจำดีขึ้น ข้อนี้ดีต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยการดื่มชาเขียวจะไปช่วยเพิ่มการทำงานของระบบประสาทให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ข้อควรระวังของชาเขียว

หากใครที่กำลังกังวลว่ากินชาเขียวทุกวัน อันตรายไหมหัวข้อนี้จะมาไขข้อสงสัยกันว่าตกลงชาเขียวที่ดูเหมือนจะเป็นชาไม่มีพิษมีภัย ถ้าเราดื่มมาก ๆ ต่อวัน ร่างกายจะตอบสนองอะไรบ้าง 

  • ไม่เหมาะสำหรับคนที่แพ้คาเฟอีนอย่างรุนแรง การดื่มชาเชียวอาจจะทำให้นอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิด ปวดท้องได้
  • ทำให้ตับทำงานผิดปกติ การบริโภคชาเขียวที่มีความเข้มข้นสูง ๆ อาจจะทำให้ตับทำงานหนัก
  • ใครที่กำลังรับประทานยากระตุ้นต่าง ๆ การดื่มชาเขียวควบคู่ไปด้วย ทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 

ซึ่งหากใครที่ต้องการดื่มชาเขียวก็อย่างลืมสำรวจตัวเองก่อนว่าเป็นผู้ที่แพ้คาเฟอีนหรือกำลังรับประทานยากระตุ้นอยู่หรือเปล่ามิฉะนั้นอาจจะทำให้การดื่มชาเขียวกลายเป็นฝันร้ายก็เป็นได้ 

สรุป

เราสามารถสรุปได้เลยว่าชาเขียวเป็นชาที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดในบรรดาชาทั้งหมดที่มีและอุดมไปด้วยประโยชน์มากมายไม่ว่าจะส่งผลดีต่อระบบหัวใจช่วยป้องกันมะเร็งได้เป็นต้นหากใครที่ต้องการบริโภคชาเขียวก็สามารถทำได้ทุกวันแต่หากเราแพ้คาเฟอีนก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะฉะนั้นใครที่กำลังมองหาเครื่องดื่มสุดเฮลตี้ชาเขียวนี่แหละคือทางเลือกที่ดีที่สุด