Glucosamine

กลูโคซามีน

Glucosamine หรือ กลูโคซามีน เป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปของน้ำตาล ซึ่งมนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากกลูโคซามีนมากมาย หลายคนอาจจะงงว่าตกลงแล้ว การบริโภคน้ำตาลนั้นดีหรือไม่ดี แล้วทำไมน้ำตาลอย่างกลูโคซามีน ถึงสามารถให้ประโยชน์เราได้ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับน้ำตาลชนิดนี้กัน 

Glucosamine คืออะไร 

กลูโคซามีน คือน้ำตาลอะมิโนและเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการสังเคราะห์ทางชีวเคมีของโปรตีนและไขมันไกลโคซิเลต กลูโคซามีนเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพอลิแซ็กคาไรด์สองชนิดหรือน้ำตาลที่มีหลายโมเลกุล ได้แก่ ไคโตซานและไคติน ซึ่งกลูโคซามีนเป็นหนึ่งส่วนประกอบสายพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ที่มีจำนวนมากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วการได้มาซึ่งกลูโคซามีน ที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตเชิงพาณิชย์หรือจัดจำหน่าย จะผลิตด้วยวิธีการทางเคมีที่เรียกว่าไฮโดรไลซิส หรือ การหมักเมล็ดพืช เช่น การหมักข้าวโพดหรือข้าวสาลี หรือได้มาจากการแปรรูปไคตินจากเปลือกหอย กุ้ง และปู แต่ในปัจจุบันการผลิตกลูโคซามีนจากเปลือกสัตว์ทะเลนั้นไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ที่เป็นมังสวิรัติไม่สามารถบริโภคได้ ผู้ผลิตจึงได้นำผลิตภัณฑ์กลูโคซามีนที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus จำหน่ายบนท้องตลาดแทน 

กลูโคซามีนมีหลายชื่อซึ่งล้วนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะตั้งชื่อของน้ำตาลชนิดนี้ว่าอะไรมนุษย์อย่างเรานั้นไม่สามารถสังเคราะห์กลูโคซามีนได้ฉะนั้นกลูโคซามีนจึงเป็นอาหารเสริมและไม่ใช่ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์กลูโคซามีนมีหน้าที่ในการสนับสนุนโครงสร้างและหน้าที่ของข้อต่อในทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะมีการสั่งให้บริโภคกลูโคซามีนมากกว่าคนปกติ 

รูปแบบของกลูโคซามีนที่อยู่ในอาหารเสริมได้แก่กลูโคซามีนซัลเฟต, กลูโคซามีน คอนโดอิติน, กลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์, และ N-อะเซทิลกลูโคซามีน ซึ่งพบว่ามีเพียงกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้นที่ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม กลูโคซามีนในอาหารเสริม มักจะไม่ใช่กลูโคซามีนเดี่ยว ๆ แต่จะถูกใส่มาร่วมกับสารอาหารประเภทอื่นด้วย เช่น คอนดรอยตินซัลเฟตและเมทิลซัลโฟนิลมีเทน

ประโยชน์ของ Glucosamine 

เป็นที่รู้กันว่ากลูโคซามีนมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย และมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้อีกด้วย ฉะนั้นเรามาดูถึงประโยชน์ของกลูโคซามีนกันดีกว่า ว่าหากเราบริโภคไปแล้วจะส่งผลอะไรบ้าง 

ลดการอักเสบ

กลูโคซามีนมักใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อรักษาอาการอักเสบต่างๆมีการศึกษาเล็กๆในผู้ใหญ่ 18 คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งผู้ใหญ่ทั้งหมดมีการทานกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ 1,500 มิลลิกรัมร่วมกับคอนโดอิตินซัลเฟต 1,200 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 28 วัน ผลปรากฏว่า พฤติกรรมการรับประทานดังกล่าว ช่วยไปลดระดับ C-reactive protein หรือ CRP ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการอักเสบ สามารถลดไปได้ถึง 23% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานอะไรเลย เงานวิจัยอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลูโคซามีน มักจะมีการให้รับประทานสารอาหารอื่น ๆ ร่วมไปด้วย เช่น คอนดรอยติน ซึ่งเป็นสารประกอบที่คล้ายกับกลูโคซามีน มีหน้าที่ช่วยผลิตและบำรุงรักษากระดูกอ่อนที่แข็งแรงของร่างกายเรา 

ช่วยบำรุงข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น

กลูโคซามีนในร่างกายของเราจะถูกเก็บไว้ที่ข้อต่อบทบาทหลักอย่างหนึ่งของกลูโคซามีนคือการสนับสนุนการพัฒนาของกระดูกอ่อนข้อซึ่งเป็นเนื้อเยื่อสีขาวเรียบที่ปกคลุมปลายกระดูกของเราโดยปกติแล้วมนุษย์จะมีของเหลวหล่อลื่นที่เรียกว่า synovial fluid  เพื่อช่วยให้กระดูกอ่อนข้อต่อลดการเสียดสีและทำให้กระดูกเคลื่อนไปมาได้อย่างอิสระและไม่เจ็บปวด กลูโคซามีนจะไปช่วยให้ร่างกายผลิต synovial fluid เพิ่มขึ้น ทำให้การเคลื่อนของเรากระฉับกระเฉงมากขึ้นอีก เนื่องจากกลูโคซามีนช่วยส่งเสริมการสร้างสารประกอบทางเคมีบางชนิด รวมทั้งคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบโครงสร้างที่สำคัญของกระดูกอ่อนข้อและของเหลวในไขข้อ มีการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกลูโคซามีน 1.5–3 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยลดการสลายตัวของกระดูกอ่อนในนักฟุตบอลและผู้เล่นรักบี้มืออาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ

ใช้รักษาความผิดปกติของกระดูกและข้อต่อ

อาหารเสริมกลูโคซามีนมักใช้ในการรักษาสภาพกระดูกและข้อต่างๆการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับกลูโคซามีนมุ่งเน้นไปกลูโคซามีนซัลเฟตซึ่งเป็นรูปแบบกลูโคซามีนรูปแบบหนึ่งซึ่งตัวกลูโคซามีนมีประโยชน์ในการรักษาอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อเข่าเช่นโรคข้อเข่าเสื่อม (OA), โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) และโรคกระดูกพรุน การศึกษาหลายชิ้นระบุว่าการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูโคซามีนซัลเฟตทุกวัน สามารถให้การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมีประสิทธิภาพในระยะยาว โดยลดความเจ็บปวดลงของอาการได้ ช่วยรักษาช่องว่างของข้อต่อ และชะลอการลุกลามของโรค

นอกจากประโยชน์ที่เกี่ยวกับข้อต่อต่าง ๆ แล้ว กลูโคซามีนยังให้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ที่เราคาดไม่ถึงอีกด้วย เช่น 

ช่วยรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS)

ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางของเรา โรคชนิดนี้ส่งผลชัดมาก เช่น เหนื่อยล้า ตัวสั่น และปัญหาในการเดิน พูด และการมองเห็น

ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ

ที่เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของลำไส้ ซึ่งมักนำไปสู่อาการต่าง ๆ เช่น ท้องอืด ปวดท้อง และท้องร่วง 

ช่วยรักษาโรคต้อหิน

ซึ่งเป็นโรคตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นและตาบอดได้ มีงานการวิจัยในหนูทดลองแสดงให้เห็นว่ากลูโคซามีนซัลเฟต ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา โดยลดการอักเสบและให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเรตินา ซึ่งเป็นส่วนหลังของดวงตา ที่มีหน้าที่รับแสงและส่งข้อมูลการมองเห็นไปยังสมองของเรา

ปริมาณของ Glucosamine ที่ควรบริโภค 

โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณกลูโคซามีนโดยทั่วไปที่ทางการแพทย์แนะนำต่อวันคือ 1,500–3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งจริง ๆ เราสามารถบริโภคในปริมาณดังกล่าว มากกว่า หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ เพราะ กลูโคซามีนมาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น เปลือกหอยหรือเชื้อรา หรือผลิตขึ้นในห้องแล็บด้วยปฏิกิริยาทางเคมี โดยอาหารเสริมกลูโคซามีนตามท้องตลาดมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก คือ กลูโคซามีนซัลเฟต, กลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์, N-อะเซทิลกลูโคซามีน

หลายคนอาจจะคิดว่าขึ้นชื่อว่ามีกลูโคซามีน เราก็สามารถบริโภครูปแบบใดก็ได้ การศึกษาส่วนใหญ่พบว่ากลูโคซามีนที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ผลมากที่สุดคือ กลูโคซามีนซัลเฟต ฉะนั้นครั้งหน้าหากเราต้องการเลือกซื้ออาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของกลูโคซามีน เพื่อรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม ก็ควรจะมองหากลูโคซามีนเป็นหลัก 

ผลข้างเคียงของ Glucosamine ที่อาจจะเกิดขึ้น 

ถึงแม้ว่าอาหารเสริมกลูโคซามีนมีความปลอดภัยและสามารถบริโภคได้แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่บ้างที่เราควรคำนึงถึงหากเราได้รับ Glucosamine ในปริมาณที่มากเกินไป สามารถเกิดอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ 

คลื่นไส้และอาเจียน ท้องเสีย อารมณ์แปรปรวน อาการปวดท้อง เราไม่ควรบริโภคกลูโคซามีน หากเรากำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากสภาพร่างกายของหญิงตั้งครรภ์มีความอ่อนไหวมาก 

นอกจากนี้กลูโคซามีนอาจมีผลในการลดน้ำตาลในเลือดเล็กน้อยในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แม้ว่าความเสี่ยงที่อาจะจะเกิดขึ้นค่อนข้างต่ำ หากเราเป็นเบาหวานหรือกำลังใช้ยารักษาโรคเบาหวานอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจบริโภคกลูโคซามีน 

สรุป

เราสามารถสรุปได้ว่ากลูโคซามีนคือสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เนื่องจากสารตัวนี้ดำรงอยู่ในข้อต่อและกระดูกของเรา ซึ่งหากใครที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวหรือต้องการบำรุงเป็นพิเศษ ก็สามารถซื้ออาหารเสริมมาบริโภคได้ เนื่องจากกลูโคซามีนไม่สามารถพบได้ในอาหารทั่วไป แต่การบริโภคก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่ ฉะนั้นหากใครที่ต้องการรับประทานจริง ๆ ควรมีการสำรวจตัวเองหรือปรึกษาแพทย์ก่อน 

อ้างอิง 

Gavin Van De Walle. 2021. Does Glucosamine Work. Available at: https://www.healthline.com/nutrition/glucosamine

R. Morgan Griffin. 2020. Is Glucosamine Good for Joint Pain. Available at: https://www.webmd.com/vitamins-and-supplements/supplement-guide-glucosamine