แปะก๊วย

กิงโกะ แปะก๊วย

กิงโกะ (Ginkgo Biloba) คือพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันว่าใบแปะก๊วย ซึ่งในวงการแพทย์แผนโบราณรู้กันดีว่าถูกนำใช้นับหมื่นปี นอกจากนี้ยังสามารถเอามารับประทานได้อีกด้วย เสมือนผักผลไม้ทั่วไป ฉะนั้นวันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าทำไมกิงโก๊ะหรือใบแปะก๊วยจึงเป็นที่แพร่หลายกัน 

กิงโกะหรือแปะก๊วยมีดีที่อะไร 

ถ้าหากเราจะพูดถึงกิงโกะหรือแปะก๊วยจริงๆก็ควรพูดถึงที่มาก่อนว่ามาจากไหนถิ่นกำเนิดของพืชสมุนไพรชนิดนี้มาจากภูเขาด้านตะวันออกของนครเซี่ยงไฮ้ประเทศจีนจากนั้นก็ได้มีการนำไปเพาะพันธุ์ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยมีความสัมพันธ์ของศาสนา 2 ประเทศมาเกี่ยวข้อง ลักษณะเด่น ๆ ที่กิงโก๊ะคือมีใบมี 2 แฉก คล้ายใบพัดโบราณ อีกทั้งยังมีการแยกต้นผู้ ต้นเมียออกจากกันด้วย แต่ถ้าเราย้อนกลับไปอีกพบว่ากิงโก๊ะอยู่มานานก่อนที่มนุษย์จะค้บเจอซะอีก สันนิษฐานกันว่ามีอายุถึง 270 ล้านปีเลยทีเดียว ซึ่งเป็นยุคเดียวที่ไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้ 

องค์ประกอบทางเคมีของกิงโกะมีความน่าสนใจอย่างมากสามารถแบ่งย่อยได้สารที่ค้นพบเป็น 2 กลุ่ม คือ Terpenoids ที่สามารถแยกย่อยลงไปอีก คือ Ginkgolide และ Bilobalide และ Flovonoids ที่เป็นสารจำพวก Steroide ซึ่งสารจำพวก Steroide สามารถพบได้ในฮอร์โมนของมนุษย์ โดยปกติแล้วร่างกายจะสามารถสังเคราะห์ได้เอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของร่างกาย ฉะนั้นเราจะสังเกตได้ง่าย ๆ เลยว่าเมื่อผู้สูงอายุที่แก่ขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รับประทานกิงโก๊ะ ก็เพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อกระดูก จำเป็นต้องกินอาหารสเตียรอยด์ธรรมชาติภายนอก เนื่องจากพอแก่ตัวไป ระบบการสังเคราะห์จะค่อย ๆ เสื่อมลง

กิงโกะหรือแปะก๊วยช่วยอะไร

สรรพคุณของกิงโกะนั้นมีเยอะมากซึ่งส่วนมากกิงโกะจะถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริมเพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานซึ่งประโยชน์มีดังนี้

  • ช่วยในการฟื้นฟูระบบประสาทและสมอง สามารถบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ บ้านหมุน โดยส่วนมากอาการเหล่านี้จะเกิดการระบบประสาทและสมองทำงานผิดปกติ 
  • มีประสิทธิภาพมากกว่ายาเบต้าฮีสทีน ในทางการแพทย์จะใช้ยาเบต้าฮีสทีนในการรักษาอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน 
  • สามารถป้องกันโรค Alzheimer ได้ ซึ่งกิงโกะจะไปช่วยให้การทำงานของระบบประสาทและสมองทำงานดีมากขึ้น ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรค Alzheimer ได้ มีแค่ยารับประทานบรรเทาอาการเท่านั้น ฉะนั้นใครที่ไม่อยากแก่ตัวไปแล้วเป็นโรค Alzheimer ก็ควรรับประทานกิงโกะตั้งแต่เนิ่น ๆ 
  • สามารถบรรเทาอาการไมเกรนได้ มีการวิจัยพบว่าสารสกัดเข้มข้นจากกิงโกะสามารถลดอาการปวดหัวจากไมเกรนได้ เพราะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของร่างกาย 
  • สามารถช่วยเพิ่มสารไนเตริกออกไซด์ ที่เป็นสารเร่งทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งในปัจจุบันก็มีการใช้สารสกัดกิงโกะรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอีกด้วย
  • สามารถลดอาการกังวลได้ กิงโกะมีคุณสมบัติเหมือนตัวหลอกหรือยาหลอก เป็นตัวแปรควบคุมที่จะคอยหลอกให้สมองไม่เกิดอาการเครียด ทำให้การใช้ชีวิตดีขึ้น นอนหลับสบายมากขึ้น 
  • เนื่องจากกิงโกะมีสารที่ช่วยในการไหลเวียนของเลือด ทำให้ช่วยลดโอกาสในการเกิดตะคริวและเหน็บชา โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายบ่อย ๆ เพราะอาการดังกล่าวเกิดจากปลายประสาทอักเสบ 
  • สารสกัดกิงโกะเข้มข้นสามารถรักษาอาการจอประสาทเสื่อมได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันการตาบอดของผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้น ต้อหิน 

สาระสำคัญที่ทำให้กิงโกะมีประโยชน์มากมายขนาดนี้คือ Flovone Glycoside และ Terpene Lactone เป็นสารตั้งต้นที่ดีของสมอง ยิ่งกินยิ่งฉลาด ยิ่งกินยิ่งความจำดี 

โทษของกิงโกะหรือแปะก๊วย

ถึงแม้ว่ากิงโกะจะให้ประโยชน์มากมาย ข้อจำกัดในการรับประทานก็ยังมีอยู่ ปริมาณที่เหมาะสมคือ 80-240 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ซึ่งหากเรารับประทานมากกว่านี้อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เมื่อเราพิจารณาตามโครงสร้างทางเคมีของกิงโกะแล้ว พบว่าสาร Gingkolide มีฤทธิ์ในการเกาะดึงเกล็ดเลือด ซึ่งทำให้เลือดไหลไม่หยุด ผลเสียที่ตามมาจะเกิดขึ้นเมื่อเราเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เลือดออก โดยปกติแล้วมนุษย์จะมีการส่งสัญญาณให้เกล็ดเลือดไปห้ามเลือกทันที เมื่อร่างกายเกิดความเจ็บปวด กิงโกะก็ยังสามารถทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องเสียได้ หรือกระวนกระวาย และสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่กำลังให้นมบุตร การรับประทานกิงโกะในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดวิงเวียนศีรษะ มึนงง ระบบการนอนอาจจะปั่นป่วนได้ 

ความน่าตกใจเกิดขึ้นเมื่อมีการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกิงโกะ โดยการทดลองครั้งนี้ได้ใช้หนูเป็นตัวทดลอง ซึ่งพบว่ากิงโกะให้ LD50 เท่ากับ 7,725 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวของหนู มีฤทธิ์ความเป็นพิษอ่อน ๆ แต่ไม่ร้ายแรงจนถึงขนาดทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลายพันธุ์ได้หรือสามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็ง 

กิงโกะหรือแปะก๊วยบำรุงสมอง

ในปัจจุบันการรับประทานกิงโกะนั้นแพร่หลายมาก และสามารถหาซื้อมารับประทานได้ง่ายตามร้านเภสัชกรทั่วไป หรือแม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อ ซึ่งการรับประทานกิงโกะก็เพื่อบำรุงสมอง รูปแบบที่เราเห็นบ่อยมากที่สุดก็คือแคปซูลยา แต่การใช้กิงโกะบำรุงสมองจำเป็นต้องผสมสารอาหารตัวอื่นด้วย เพื่อให้การทำงานของกิงโกะมีประสิทธิภาพและจะได้ไม่ส่งผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนมากพบว่าสารสกัดเข้มข้นกิงโกะ จะมาพร้อมกับสารสกัดใบแปะก๊วย เพราะสองตัวนี้สามารถทำงานเข้ากันได้ดี และบางครั้งก็นิยมใส่พวกน้ำมันรำข้าว น้ำมันตับปลาร่วมด้วย เพื่อให้รับประทานง่ายมากขึ้น 

แต่จริง ๆ แล้วเราก็สามารถรับประทานกิงโกะสด ๆ ได้เลย โดยชาวจีนจะนิยมนำมาผัดกับพวกปลาทะเล กลายเป็นเมนูสุขภาพหมื่นปี บางครั้งเราก็จะเจอเม็ดแปะก๊วยอยู่ในขนมหวานตามภัตตาคาร แต่แน่นอนว่าความเข้มข้นของสารอาหารย่อมน้อยกว่าแบบแคปซูล มีทั้งยังมีสารพิษอ่อน ๆ ที่ทำให้เราเกิดอาการ Abdominal cramping ได้ ทางทีดีหากใครชอบกินเม็ดแปะก๊วย ก็สามารถกินได้แต่ไม่เกิน 5-6 เม็ดต่อวัน 

สรุป

สรุปเลยก็คือกิงโกะหรือแปะก๊วย เปรียบเสมือนยาบำรุงสมองชั้นพรี่เมี่ยมที่ทำให้ระบบการทำงานแล่นแบบไม่สะดุด เราสามารถรับประทานได้ทุกวัน และเด็กเล็กก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน แต่กิงโกะก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่ถ้าเรารับประทานโดยไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษาโทษและประโยชน์ก็จะให้ผลเสียมากกว่าผลดี ฉะนั้นต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์มากที่สุด