Cherry

เชอร์รี่

Cherry หรือ เชอร์รี่ เป็นผลไม้ในตระกูล Prunus ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากัน เพราะนอกจากจะรับประทานสด ๆ ในทวีปยุโรปแล้ว ยังเป็นส่วนผสมในขนมหวานหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม เค้ก หรือว่าเครื่องดื่ม ซึ่งเชอร์รี่มีประโยชน์มากกว่าความอร่อย เนื่องจากมันคือยอดราชินีผลไม้ ที่ได้มีการสกัดสารที่สำคัญมาให้พวกเราได้บริโภค ในรูปของอาหารเสริมกัน ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเชอร์รี่ให้มากกว่านี้กัน 

เชอร์รี่คืออะไร 

อย่างทีเรากล่าวกันไปแล้วว่าเชอร์รี่คือผลไม้ชนิดหนึ่ง เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไม่หวาน ฉะนั้นการประยุกต์ในอาหาร จะนิยมทำร่วมกับขนมที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก พาย หรือแยม เพื่อให้รสชาติเข้ากันได้ ในการเอามาใช้ประโยชน์เกือบทุกแขนง นิยมใช้เชอร์รี่สายพันธุ์ Montmorency ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ผลของเชอร์รี่เปรี้ยวมีสารเคมีที่อาจช่วยลดอาการบวม และทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ 

อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะงงว่าแล้วเชอร์รี่หวานไม่ดีตรงไหนจริงๆแล้วขึ้นชื่อว่าเป็นเชอร์รี่ก็มักจะให้ประโยชน์แก่เราอยู่แล้วไม่ว่าจะทางใดก็ทางหนึ่งดังนั้นมันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์กับการใช้มากกว่าว่าเราต้องการสารสกัดอะไรจากเชอร์รี่แน่นอนหากเป็นเชอร์รี่หวานความกังวลที่จะตามคือปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบในผลไม้มีระดับที่สูงเชอร์รี่หวานมีรสหวานจัดทำให้เป็นที่ชื่นชอบของคนหลายคนและสามารถรับประทานเป็นของว่างได้ง่ายในขณะเดียวกันความชื่นชอบที่มีต่อเชอร์รี่เปรี้ยวก็กำลังเริ่มได้รับความนิยมเนื่องจากรสชาติที่กรอบและฝาดของเชอร์รี่เปรี้ยวนั้นเป็นรสชาติแปลกใหม่เฉพาะตัวอีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบและส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อนฉะนั้นหากพูดถึงการรับประทานสดๆแล้วการรับประทานเชอร์รี่หวานก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมกว่าอยู่ดีกลับกันหากถกเถียงในเชิงวิทยาศาสตร์เชอร์รี่เปรี้ยวให้ประโยชน์ที่มากกว่า 

คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่

คุณค่าทางสารอาหารของเชอร์รี่ เรียกได้ว่าเยอะมาก ๆ เชอร์รีแบบไม่มีเมล็ด 1 ถ้วย หรือประมาณ 138 กรัม ที่ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีน้ำตาล 17.7 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 22 กรัม เชอร์รี่ยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และโพแทสเซียม USDA หรือ The U.S. Department of Agriculture ได้เปิดเผยข้อมูลไว้ว่า เชอร์รี่หนึ่งถ้วย วิตามินซี 9.7 mg แคลเซียม 17.9 mg แมกนีเซียม 15.2 mg และโพแทสเซียม 306 mg 

นอกจากสารอาหารที่โดดเด่นแล้วเชอร์รี่ยังมีสารที่น่าสนใจอื่นๆมากมายไม่ว่าจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่รวมกันเป็นอนุพันธุ์ในผลเชอร์รี่หสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่มากในเชอร์รี่คือสารประกอบฟีนอลิกที่การสันนิษฐานว่าออกฤทธิ์ต้านมะเร็งได้และสารโพลีฟีนอลที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบนอกจากนี้ยังมีสารให้สีอย่างแอนโทไซยานินที่ให้สีแดงม่วงและน้ำเงินซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากในทางอุตสาหกรรมอาหารแอนโทไซยานินถูกใช้เป็นสารเจือปนอาหารตามธรรมชาติแต่ข้อเสียคือสลายตัวได้ง่ายและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อโดนกระทำที่ค่า pH ต่ำ ๆ หรือสภาวะเป็นกรด

ประโยชน์ของเชอร์รี่ 

ช่วยรักษาโรคเกาต์ 

คุณสมบัติต้านการอักเสบของเชอร์รี่ช่วยรักษาโรคเกาต์ได้โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดข้ออย่างฉับพลันและรุนแรงซึ่งเกิดมาจากการที่กรดยูริกในเลือดสูงมีงานวิจัยในปี 2018 ระบุว่าการบริโภคเชอร์รี่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรักษาระดับกรดยูริกในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ งานวิจัยถูกนำมาศึกษาต่อจากงานวิจัยปี 2012 ที่มีการพบว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เชอร์รี่สกัดเข้มข้นหรือรับประทานเชอร์รี่ ทำให้อาการของโรคเกาต์ลดลง 35% ในช่วง 2 วัน ซึ่งความน่าสนใจคือปัจจัยอื่น ๆ ภายนอก เช่น เรื่องเพศ เรื่องน้ำหนัก หรือประเภทของยารักษาโรคเกาต์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ

ช่วยในเรื่องการนอนหลับ 

เชอร์รี่เป็นแหล่งของเมลาโทนินธรรมชาติซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อการนอนหลับและอารมณ์เมลาโทนินมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับเนื่องจากเป็นสารเคมีที่กระตุ้นให้เกิดการง่วงนอนมีการศึกษาในปี 2013 โดยมีผู้เข้าร่วมที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 85 ปี มีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษา 2 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ที่รับประทานผลิตภัณฑ์จากเชอร์รี่ และกลุ่มผู้ที่ได้รับยานอนหลับทั่วไป เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากการบริโภค ในบรรดาผู้เข้าร่วมที่บริโภคผลิตภัณฑ์จากเชอร์รี่ พบว่าการนอนหลับและการพักผ่อนตอนกลางคืนดีขึ้นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับยานอนหลับทั่วไป

ช่วยฟื้นฟูการออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงขึ้นได้อย่างไรก็ตามในขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเจ็บได้หากเราออกกำลังกายผิดวิธีมีการศึกษาในปี 2020 โดยเป็นการศึกษาการบริโภคสารสกัดจากเชอร์รี่ โดยผู้เข้าร่วมต้องบริโภคสารสกัดเชอร์รี่เข้มข้นเป็นผงหรือน้ำผลไม้ เป็นเวลา 7 วัน และต้องบริโภคก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงครึ่ง พบว่าการบริโภคสารสกัดจากเชอร์รี่ ช่วยเพิ่มความอึดและความยืดหยุ่นในระหว่างการออกกำลังกายได้ เพราะดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำและคุณสมบัติต้านการอักเสบ อีกทั้งยังต่อต้านอนุมูลอิสระ และส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด

ช่วยพัฒนาการทำงานของสมอง

การที่สมองของเราทำงานผิดปกติ เป็นสัญญาณที่อันตรายว่าเราต้องดูแลตัวเองได้แล้ว และควรเริ่มเดี๋ยวนั้นเลย ความผิดปกติของสมองนำไปสู่การเกิดโรคมากมาย เช่น พาร์กินสันและอัลไซเมอร์ ส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน 

เชอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก และมีวิตามินอื่น ๆ  ที่ช่วยปกป้องเซลล์สมองได้ มีการศึกษาการบริโภคน้ำเชอร์รี่ปริมาณ 16 ออนซ์ หรือ 480 มิลลิลิตรทุกวัน ช่วยสร้างเกราะการป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระในคนทั่วไปได้

การศึกษานี้ได้รับการยืนยันซ้ำไปอีก เมื่อมีการศึกษาการบริโภคน้ำเชอร์รี่ในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยบริโภคน้ำเชอร์รี่ปริมาณ 6.5 ออนซ์ หรือ 200 มิลลิลิตร เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางการพูดและความจำระยะสั้นและระยะยาวดีขึ้น 

ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน

น้ำเชอร์รี่อุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์มากมายซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารต้านอนุมูลอิสระของเชอร์รี่ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้นอกจากระดับของสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงแล้วเชอร์รี่ยังมีปริมาณวิตามินซีที่สูงซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่ช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานแบบไม่ติดขัดได้ดังนั้นหากเราบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเชอร์รี่ก็สามารถบอกลาอาการหวัดเรื้อรังในฤดูฝนไปได้เลย 

ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตา

ไม่เพียงแต่สารต้านอนุมูลอิสระที่มีความโดดเด่นเท่านั้นแอนโธไซยานินในเชอร์รี่สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในดวงตาซึ่งชะลอการลุกลามของโรคต้อหินผู้ที่เป็นโรคต้อหินจะมีความดันภายในดวงตาเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้สูญเสียการมองเห็นทีละน้อยนอกเหนือจากแอนโธไซยานินแล้วเมลาโทนินในเชอร์รี่ยังช่วยปกป้องดวงตาจากโรคต้อหินอีกด้วยรวมถึงการเสื่อมสภาพของดวงตาตามอายุวิตามินซีในเชอร์รี่ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะไปช่วยอาการจอประสาทตาเสื่อมซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ 

จริงๆแล้วประโยชน์ของเชอร์รี่ไม่ได้มีเท่านี้ปัจจุบันนักวิจัยได้ทำการศึกษาประโยชน์ด้านอื่นๆของเชอร์รี่อีกด้วยและมีแนวโน้มว่าเชอร์รี่สามารถป้องกันมะเร็งเนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดที่พบในเชอร์รี่ทาร์ตอาจช่วยยับยั้งยีนที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของมะเร็งอาจช่วยลดความเจ็บปวดโดยเฉพาะการไปช่วยลดอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทส่วนปลายอาจลดความดันโลหิตและสุดท้ายคืออาจสามารถช่วยให้เราลดน้ำหนักได้แต่การศึกษาเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพื่อยืนยันอีกทีx

ปริมาณของสารสกัดเชอร์รี่ที่เราควรบริโภคต่อวัน 

ปริมาณที่แนะนำของสารสกัดจากเชอร์รี่คือ 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ปริมาณนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ น้ำหนัก เป็นต้น ทางที่ดีเราควรมีการปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณที่เหมาะสม และควรหลีกเลี่ยงหากเรามีการใช้ยารักษาโรคประจำตัวอยู่ 

ผลข้างเคียงของสารสกัดจากเชอร์รี่นั้นพบได้ค่อนข้างยากแต่หากพบก็จะมีอาการที่ไม่รุนแรงได้แก่ปวดท้องและท้องร่วงหากเรากำลังตั้งครรภ์หรือให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของเชอร์รี่หากต้องการที่จะบริโภคจริงๆก็ควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนเช่นกันเพื่อความปลอดภัย 

สรุป

เราสามารถสรุปได้เลยว่าเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีความน่าสนใจอย่างมากโดยมีการสกัดเชอร์รี่ออกมาในรูปอาหารเสริมมากมายสารสกัดเข้มจากเชอร์รี่เป็นแหล่งวิตามินที่ร่างกายต้องการไม่ว่าจะเป็นวิตามินซีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินเอที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพของเราทำงานดีขึ้นอีกทั้งผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นหากเราบริโภคสารสกัดจากเชอร์รี่มีน้อยมากฉะนั้นหากใครกำลังมองหาอาหารเสริมดีๆซักตัวสารสกัดจากเชอร์รี่คือทางเลือกที่ดีเลยทีเดียว

อ้างอิง 

Shorelinre. 2021. What is the difference between tart cherries and sweet cherries?. Available at: https://www.shorelinefruit.com/blog/what-is-the-difference-between-tart-cherries-and- sweet-cherries

Aliina Petre. 2017. 10 Health Benefits of Tart Cherry Juice. Available at: https://www.healthline.com/nutrition/10-tart-cherry-juice-benefits

Ginna Ferretti, Tiziana Bacchetti, Alberto Belleggia and Davide Neri. 2010. Cherry Antioxidant. Available at: https://www.researchgate.net/publication/47415406_Cherry_Antioxidants_From_Farm_to _Table