Category Archives: Uncategorized

zinc หรือ สังกะสี คืออะไร

สังกะสี

Zinc นั้นมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าสังกะสี ซึ่งแน่นอนว่ามันมีความสำคัญอย่างมากแก่ร่างกายของเรา จนทำให้ Zinc ถูกจัดมาเป็นอาหารเสริม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับแร่ธาตุชนิดนี้ มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการและเพราะอะไรมนุษย์ถึงขาดไม่ได้  Zinc คืออะไร  Zinc หรือมีชื่อเรียกว่าสังกะสี คือ แร่ธาตุที่จำเป็น ซึ่งสังกะสีที่เรากำลังหมายถึงไม่ได้เป็นธาตุทางเคมี สองตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก ดังนั้นจึงหมายความว่าร่างกายของเราไม่สามารถผลิตหรือเก็บรักษาไว้ได้ ด้วยเหตุผลนี้เราจึงต้องได้รับสารอาหารสังกะสีอย่างสม่ำเสมอ สังกะสีจำเป็นสำหรับกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การแสดงออกของยีน ปฏิกิริยาของเอนไซม์ ฟังก์ชั่นภูมิคุ้มกัน การสังเคราะห์โปรตีน การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ การรักษาบาดแผล การเติบโตและการพัฒนา สังกะสีพบได้ตามธรรมชาติ ในอาหารจากพืชและเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด เช่น หอยนางรม ที่อุดมไปด้วยสังกะสีถึง 75 มิลลิกรัมของน้ำหนักหอยนางรม 100 กรัม ตับที่มีสังกะสี 12 มิลลิกรัมของน้ำหนัก 100 กรัม และอาหารทานเล่นอย่างเมล็ดแตงโม ที่มีสังกะสีมากถึง 10 มิลลิกรัมจาก 100 กรัม เป็นต้น ส่วนอาหารที่ไม่มีแร่ธาตุสังกะสีตามธรรมชาติ เช่น ซีเรียลอาหารเช้า สแน็คบาร์ […]

วิตามิน บี12

วิตามินบี12

text Vitamin B12 เป็นวิตามินที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่แล้ว สามารถพบเจอได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตามสื่อออนไลน์ หรือโฆษณาทางโทรศัพท์ ก็จะมีการพูดถึงวิตามินบี 12 อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นวิตามินจำเป็น ที่ร่างกายของเราต้องการเป็นอย่างมาก ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับวิตามินบี 12 กัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราต้องการวิตามินตัวนี้  ทำไมต้องเป็นวิตามินบี 12 วิตามินบี 12 มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าโคาลามิน ในด้านเคมีนั้นวิตามินบี 12 มีโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อนอย่างมาก การสังเคราะห์วิตามินบี 12 ครั้งแรกเกิดขึ้นในห้องในปี 1972 โดยนักเคมีชาวเยอรมัน ซึ่งการสังเคราะห์ครั้งแรกทำได้โดยไม่ค่อนสมบูรณ์นัก เนื่องจากสามารถสังเคราะห์ออกมาได้น้อย แต่ทว่าหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาการสังเคราะห์มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นการสังเคราะห์ออกมาในระดับอุตสาหกรรม เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารเสริม โดยเราสามารถพบวิตามินบี 12 ได้ตามธรรมชาติจากเนื้อสัตว์ เป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ จำเป็นอย่างมากในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและ DNA นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นหลักในการทำงานและการพัฒนาของเซลล์สมองและประสาท การทำงานของวิตามินบี 12 จะเริ่มขึ้น เมื่อเราบริโภคเข้าแล้ววิตามินบี 12 จะจับกับโปรตีนที่อยู่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในกระเพาะอาหาร กรดไฮโดรคลอริกและเอ็นไซม์จะแยกวิตามินบี 12 ให้อยู่ในรูปแบบอิสระ จากนั้นวิตามินบี 12 จะรวมกับโปรตีน แล้วย่อยโมเลกุลตัวเองให้เล็กลงเพื่อให้สามารถดูดซึมต่อไปในลำไส้เล็กได้ […]

Cherry

เชอร์รี่

Cherry หรือ เชอร์รี่ เป็นผลไม้ในตระกูล Prunus ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากัน เพราะนอกจากจะรับประทานสด ๆ ในทวีปยุโรปแล้ว ยังเป็นส่วนผสมในขนมหวานหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม เค้ก หรือว่าเครื่องดื่ม ซึ่งเชอร์รี่มีประโยชน์มากกว่าความอร่อย เนื่องจากมันคือยอดราชินีผลไม้ ที่ได้มีการสกัดสารที่สำคัญมาให้พวกเราได้บริโภค ในรูปของอาหารเสริมกัน ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเชอร์รี่ให้มากกว่านี้กัน  เชอร์รี่คืออะไร  อย่างทีเรากล่าวกันไปแล้วว่าเชอร์รี่คือผลไม้ชนิดหนึ่ง เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไม่หวาน ฉะนั้นการประยุกต์ในอาหาร จะนิยมทำร่วมกับขนมที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก พาย หรือแยม เพื่อให้รสชาติเข้ากันได้ ในการเอามาใช้ประโยชน์เกือบทุกแขนง นิยมใช้เชอร์รี่สายพันธุ์ Montmorency ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ผลของเชอร์รี่เปรี้ยวมีสารเคมีที่อาจช่วยลดอาการบวม และทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ  อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะงงว่าแล้วเชอร์รี่หวานไม่ดีตรงไหนจริงๆแล้วขึ้นชื่อว่าเป็นเชอร์รี่ก็มักจะให้ประโยชน์แก่เราอยู่แล้วไม่ว่าจะทางใดก็ทางหนึ่งดังนั้นมันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์กับการใช้มากกว่าว่าเราต้องการสารสกัดอะไรจากเชอร์รี่แน่นอนหากเป็นเชอร์รี่หวานความกังวลที่จะตามคือปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบในผลไม้มีระดับที่สูงเชอร์รี่หวานมีรสหวานจัดทำให้เป็นที่ชื่นชอบของคนหลายคนและสามารถรับประทานเป็นของว่างได้ง่ายในขณะเดียวกันความชื่นชอบที่มีต่อเชอร์รี่เปรี้ยวก็กำลังเริ่มได้รับความนิยมเนื่องจากรสชาติที่กรอบและฝาดของเชอร์รี่เปรี้ยวนั้นเป็นรสชาติแปลกใหม่เฉพาะตัวอีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบและส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อนฉะนั้นหากพูดถึงการรับประทานสดๆแล้วการรับประทานเชอร์รี่หวานก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมกว่าอยู่ดีกลับกันหากถกเถียงในเชิงวิทยาศาสตร์เชอร์รี่เปรี้ยวให้ประโยชน์ที่มากกว่า  คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่ คุณค่าทางสารอาหารของเชอร์รี่ เรียกได้ว่าเยอะมาก ๆ เชอร์รีแบบไม่มีเมล็ด 1 ถ้วย หรือประมาณ 138 กรัม ที่ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีน้ำตาล 17.7 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 22 กรัม […]

Astragalus

Astragalus หรือชื่อไทยเรียกว่า อึ้งคี้ หรือ หวงฉี เป็นพืชสมุนไพรจีน ที่เราไม่คุ้นชื่อเท่าไหร่ แต่หากเราไปอ่านส่วนผสมของยาหลายประเภท พบว่าจะมี Astragalus ผสมอยู่ด้วย ซึ่งสรรคุณของพืชสมุนไพรชนิดนี้มีความโดดเด่นเลยทีเดียว สามารถรักษาและบรรเทาโรคได้หลายอย่าง ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Astragalus ให้มากขึ้น มาดูกันว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่  Astragalus คืออะไร  Astragalus เป็นพืชขนาดใหญ่ ที่มีมากกว่า 3,000 สปีชีส์ เป็นสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลถั่ว Fabaceae และเป็นพืชสกุลที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของพืชพรรณนา Astragalus มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นของซีกโลก เช่น อเมริกาเหนือ Astragalus มักถูกใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นที่นิยมใช้ในประเทศจีนเพื่อรักษาโรคตับอักเสบและอาหารเสริมสำหรับโรคมะเร็ง ในสหรัฐอเมริกา คนส่วนใหญ่ใช้สมุนไพรเสริมนี้จาก Astragalus เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันโรคหวัดและการติดเชื้อทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่นิยมว่า Astragalus มีประโยชน์ในการรักษาโรคหัวใจ โดยปกติแล้วรากของ Astragalus จะใช้ในการเตรียมสารสกัดหรือชงชา และจะเพิ่มสมุนไพรชนิดอื่นเข้าไปด้วย เช่น ชะเอมเทศ โสม และแองเจลิกา  […]

ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวด

Aspirin หรือ Pain relief หรือ ยาแก้ปวด เป็นยาที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน เนื่องจากเวลาไปเราไปหาหมอ หมอส่วนใหญ่จะทำการสั่งยาชนิดนี้มาให้ แทบจะทุกโรค ซึ่งยาแอสไพรินคือยาครอบวักรวาล ที่ไม่ว่าเรามีปัญหาอะไร แอสไพรินเอาอยู่ทุกที ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับยาชนิดนี้กัน มาดูกันว่าเพราะอะไรทำไมความปวดที่เรามี ถึงหายวับไปกับตา เมื่อใช้ยาตัวนี้  Aspirin คืออะไร  แอสไพรินหรือที่เรียกว่ากรดอะซิติลซาลิไซลิก (ASA) เป็นยาที่ใช้ลดอาการปวด ไข้ หรือการอักเสบที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งโรคเฉพาะทางที่ใช้ในการรักษาด้วยแอสไพริน ได้แก่ โรคคาวาซากิ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคที่เกี่ยวกับลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง มีการค้นพบใหม่ว่าแอสไพรินสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจวาย ซึ่งนำไปสู่โอกาสในการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้   อีกทั้งการใช้ยาแอสไพรินชในระยะยาวเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจวาย ยังมีความปลอดภัยอีกด้วย  สำหรับอาการปวดทั่วไปหรือมีไข้แอสไพรินจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที ทำหน้าที่เสมือนยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และทำงานคล้ายกับ NSAIDs อื่น ๆ ยังยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดที่ผิดปดติ ทำให้เมื่อเราเป็นแผลฉกรรจ์ เสียเลือดเยอะ แพทย์จะเลือกจ่ายยาแก้อักเสบตัวยนี้มาให้เราเสมอ ไปกระตุ้นเกล็ดเลือดให้มาปิดบาดแผลอย่างเร็วขึ้น สารตั้งต้นของแอสไพรินพบในใบจากต้นวิลโลว์ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในทางสุขภาพมาแล้ว อย่างน้อย 2,400 ปี  […]