Lutein หรือ ลูทีน คือสารอาหารจำพวกหนึ่ง ที่สามารถให้สีได้ หลายคนอาจจะมองข้ามว่าไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากมายกับร่างกายของเรา ทว่าลูทีนนั้นมีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารให้สี ที่มีชื่อว่าลูทีนกัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายมนุษย์ต้องพึ่งพาสารชนิดนี้ Lutein คืออะไร Lutein หรือ ลูทีน คือสารจำพวก antioxidants ที่อยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์และแซนโทฟิลล์ ซึ่งจะเจอเยอะมากในพืชจำพวกใบเขียวหรือผัก เช่น ผักโขม คะน้า และแครอทสีเหลือง ในพืชสีเขียว ลูทีนจะถูกสังเคราะห์และพบได้ที่พืชเท่านั้น ในสัตว์ทุกชนิดบนโลก ไม่สามารถสังเคราห์ลูทีนได้ เช่นเดียวกับแซนโทฟิลล์อื่น ๆ เช่น แอนโทไซยานิน สารที่ให้สีม่วง โดยปกติแล้วแซนโทฟิลล์จะทำหน้าที่ปรับพลังงานแสงแดดและทำหน้าที่เป็นสารช่วยลดแสงแบบไม่ใช้โฟโตเคมี เพื่อจัดการกับคลอโรฟิลล์ กระบวนนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการได้รับแสงแดดที่มากเกินปกติ ในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สัตว์ทั่วไป รวมถึงมนุษย์ ได้รับลูทีนจากการกินพืช ความน่าสนใจก็คือลูทีนมีอยู่มากในเรตินา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตา ในเรตินาของมนุษย์นั้นลูทีนจะถูกดูดซึมจากเลือดไปยังมาจอประสาทตา ลูทีนที่มีอยู่ในพืชจะอยู่ในรูปของเอสเทอร์ของกรดไขมันโดยมีกรดไขมันหนึ่งหรือสองตัวจับกับกลุ่มไฮดรอกซิลสองกลุ่มทำให้นอกเหนือจากการบริโภคแล้วหากเราเอาลูทีนมาทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยการผสมกับด่างแล้วเกิดเป็นปฏิกิริยา Saponification ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือกลีเซอรอลและกรดไขมัน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการทำสบู่อีกด้วย ในอุตสาหกรรมอาหาร มีการนำสกัดลูทีนให้เป็นสารให้สี ซึ่งจะให้เฉดสีของเหลือไปจนถึงแดง ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ที่กำลังบริโภค มีการเขียนข้างกล่องว่ามีส่วนผสมของลูทีน และสีของผลิตภัณฑ์เป็นสีเหลือง แสดงว่าปริมาณความเข้มข้นของลูทีนต่ำ แต่ถ้าหากเป็นสีส้มแดง แสดงว่าปริมาณความเข้มข้นของลูทีนสูง […]
Category Archives: อาหารเสริม
ความรู้เกี่ยวกับอาหารเสริมต่างๆ
Collagen หรือ คอลลาเจน เป็นสารชนิดหนึ่ง ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันมานานมาก เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งสิ่งแรกที่คนทั่วไปนึกถึงคอลลาเจน ก็คือการบำรุงผิว ทว่าคอลลามีประโยชน์มากกว่านั้น และมีความสำคัญอย่างมากกับร่างกายของเรา ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้กัน คอลลาเจนคืออะไร หลายคนคงจะมีคำถามในหัวว่า คอลลาเจนมันคืออะไรกันแน่ เนื่องจากในปัจจุบันมีอาหารเสริมคอลลาเจนขายมากมาย จนทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าคอลลาเจนบำรุงผิว หากต้องการให้ผิวสวยต้องรับประทานคอลลาเจน ซึ่งข้อเท็จจริงข้อนี้ ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด ทว่ามันยังไม่ใช่ทั้งหมดของคอลลาเจน จริง ๆ แล้วคอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักในเซลล์ ที่พบได้ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คอลลาเจนจึงถือว่าเป็นโปรตีน ที่มีมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นั่นรวมไปถึงมนุษย์อย่างเราอีกด้วย ซึ่งคิดเป็น 25% ถึง 35% ของปริมาณโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย คอลลาเจนประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ยึดต่อด้วยกัน เพื่อสร้างเกลียวสามชั้นของไฟบริลที่เป็นสายยาว และเราก็รู้จักกันในชื่อ Collagen Helix มักพบในกระดูกอ่อน กระดูก เส้นเอ็น ข้อเอ็น และผิวหนัง เนื้อเยื่อคอลลาเจนอาจจะไม่ใช่แค่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีลักษณะบางเฉียบและแทรกซึมอยู่ตามเซลล์ต่างๆของร่างกายเท่านั้นแต่อาจจะเป็นของแข็งที่เป็นกระดูกหรือข้อเอ็นในร่างกายมนุษย์ซึ่งในทางการแพทย์นั้นคอลาเจนยังมีระดับของความแข็งอีกด้วยโดยไล่ตั้งแต่เนื่อเยื่อเกี่ยวพันเส้นเอ็นไปจนถึงกระดูกแข็งๆที่เป็นรากฐานของร่างกายคอลลาเจนยังมีอยู่มากในกระจกตาหลอดเลือดลำไส้หมอนรองกระดูกสันหลังและเนื้อฟันในฟันในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อคอลลาเจนทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลักของ Endomysium ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ใช้ห่อหุ้มกระดูกเอาไว้ ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ พบว่ามีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่ 1 […]
Coconut oil หรือน้ำมันมะพร้าว คือหนึ่งในน้ำมันที่เราคุ้นเคยกัน น้ำมันมะพร้าวสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า เนื่องจากประเทศไทยของเราสามารถปลูกมะพร้าวได้ แต่ถ้าต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบประเทศยุโรป การหาซื้อน้ำมันมะพร้าว เรียกได้ว่ายากมาก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับน้ำมันมะพร้าวกัน มาดูกันว่าทำไม มันจึงกลายเป็นสิ่งที่สายรักสุขภาพชอบรับประทาน น้ำมันมะพร้าวคืออะไร ความคุ้นหน้าคุ้นตาของน้ำมันมะพร้าว คือการเอามาประกอบอาหาร รวมไปถึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันมะพร้าว สามารถเรียกอีกอย่างนึงได้ว่าเนยมะพร้าว เป็นน้ำมันที่สามารถบริโภคได้ ซึ่งได้มาจากไส้มะพร้าว เนื้อมะพร้าว และนมมะพร้าว จะมีลักษณะเป็นเป็นไขมันของแข็งสีขาว ละลายได้ที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิที่สูงกว่า 25 °C หรือ 78 °F ในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในช่วงฤดูร้อน น้ำมันมะพร้าวจะแปรเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำมันเหลวชนิดที่บางและใส ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวนั้น จะแบ่งตามระดับของความบริสุทธิ์ น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์จะมีกลิ่นมะพร้าวที่ชัดเจนมาก มักจะถูกใช้เป็นน้ำมันสำหรับอาหารและในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและการผลิตผงซักฟอก เนื่องจากมีระดับไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งการบริโภคน้ำมันมะพร้าวนั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงในระดับนึง หากเราบริโภคมาเกินไป เนื่องจากอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวที่สูง แต่ทว่าการใช้น้ำมันมะพร้าว ก็ยังให้ประโยชน์ที่มากกว่าการใช้น้ำมันพืชธรรมดาทั่วไป ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวเพื่อการบริโภคในอุตสาหกรรมสามารถทำได้หลายวิธีมากซึ่งเราสามารถแยกย่อยได้ดังนี้ – Wet process Wet process เป็นกระบวนการเปียกตามชื่อ ซึ่งหมายถึงตลอดทั้งกระบวนการมีแต่ของเหลวเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะเป็นการสกัดน้ำมันมะพร้าวจากกะทิ ซึ่งกะทิที่ได้นั้นก็มาจากการสกัดในเนื้อมะพร้าวอีกที โปรตีนในกะทิจะสร้างอิมัลชันของน้ำมันและน้ำ ขั้นตอนที่มีความยากมาก […]
Bee product หรือผลิตภัณฑ์ผึ้ง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Royal Jelly ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในบ้านเรา เนื่องจากมันประกอบไปด้วยสารอาหารมากมาย ที่ได้มาจากผึ้ง ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Royal Jelly กันว่า ทำไมใครหลาย ๆ คนถึงเลือกบริโภคอาหารเสริมชนิดนี้ Royal Jelly คืออะไร Royal Jelly หรือนมผึ้ง เป็นสารคัดหลั่งจากผึ้ง โดยปกตินี้ผึ้งพยาบาลที่เป็นเพศเมียจะผลิตออกมา เพื่อใช้เลี้ยงตัวอ่อนของผึ้ง ถูกหลั่งจากต่อม hypopharynx และเลี้ยงตัวอ่อนทั้งหมดในรังผึ้ง โดยไม่คำนึงถึงเพศหรือวรรณะของผึ้ง เพราะปกติในสังคมของผึ้งจะมีการแบ่งเพศ แบ่งชั้นกัน ในระหว่างกระบวนการสร้างค้นหาราชินีผึ้งตัวใหม่ ผึ้งงานจะสร้างเซลล์ตัวอ่อนราชินีผึ้งแบบพิเศษออกมา ตัวอ่อนในเซลล์เหล่านี้จะได้รับ Royal Jelly ในปริมาณมาก การให้เซลล์ตัวอ่อนของว่าที่ราชินิผึ้งกิน Royal Jelly ก็เพื่อทำให้ ราชินีตอนโตมีความแข็ง สามารถวางไข่ได้จำนวนมาก เพื่อเป็นสืบเผาพันธุ์ Royal Jelly จัดว่าเป็นยอดอาหารเลยทีเดียว โดยประกอบไปด้วย น้ำ 67% โปรตีน 12.5% น้ำตาลเชโมเลกุลเดี่ยว หรือโมโนแซ็กคาไรด์ 11% […]
สารต้านอนุมูลอิสระหรือสาร Antioxidants เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยให้ร่างกายของเรายังคงความเยาว์วัยได้ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยส่งเสริมและปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของเรา ให้ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งร่างกายของเรามีความต้องสาร Antioxidants อย่างมาก ขาดไม่ได้เลย ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้กัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราต้องการ สาร Antioxidants คืออะไร สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสารจากธรรมชาติที่ป้องกันหรือชะลอความเสียหายของเซลล์บางชนิด สารต้านอนุมูลอิสระพบได้ในอาหารหลายชนิด รวมทั้งผักและผลไม้ และยังมีจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตัวอย่างของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แอนโทไซยานิน วิตามินอี และวิตามินซีเป็นต้น หน้าที่หลัก ๆ ของสาร Antioxidants คือจะไปยับยั้งกระบวนการสร้างปฏิกิริยา oxidation ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิด Free radical หรือสารอนุมูลอิสระ กลไกการยับยั้งของสารต้านอนุมูลอิสระสามารถทำได้ทั้งหมด 3 กลไก ดังต่อไปนี้ คือ เริ่มจาก Preventive antioxidant ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ถัดมา Scavenging antioxidant ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น และสุดท้ายคือ Chain breaking antioxidant ทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง การมีอยู่ของสารต้านอนุมูลอิสระไม่ใช่มีแค่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น ทว่าเรายังสามารถสังเคราะห์ออกมาได้ด้วย ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์ที่สามารถพบได้ทั่วไปและพบได้บ่อยที่สุด […]
UC-II คือ คอลลาเจนชนิดที่ 2 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Undenatured Collagen Type II ถ้าแปลตามตัวจะหมายถึงคอลลาเจนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชนิดที่ 2 นั่นเอง ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยว่าจริง ๆ คืออะไรกันแน่ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ UC-II กัน UC-II คืออะไร ในปัจจุบันเราสามารถจำแนกคอลลาเจนได้ 2 แบบ คือ UC-II หรือ Undenatured Collagen Type II และ Denatured Collagen Type II เกณฑ์ในการจำแนกนั้นมากจากการผลิต โดยที่ UC-II จะใช้การผลิตที่อุณหภูมิต่ำ ไม่มีการใช้เอนไซม์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้โครงสร้างดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไป แต่กลับกัน Denatured Collagen Type II มีการใช้อุณหภูมิสูง ๆ มาเกี่ยวข้องและใช้เอนไซม์ในการผลิต ทำให้โครงสร้างที่มีอยู่ดั้งเดิมถูกเปลี่ยนแปลงไป UC-II มีลักษณะโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับคอลลาเจนที่ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตได้ โดยมีโครงสร้างแบบ […]
Probiotic คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีที่มนุษย์อย่างเราต้องการ โดยทั่วไปเชื่อว่าเราคงจะได้ยินเกี่ยวกับ Probiotic อยู่แล้ว เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าร่างกายของมนุษย์ต้องการ Probiotic ในการย่อยอาหารและสารชนิดต่าง ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Probiotic กันว่าสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องการแบคทีเรียชนิดนี้กัน Probiotic คืออะไร Probiotic หรือโพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีต่อสุขภาพของเรา เป็นมิตรกับลำไส้ของเรามาก การบริโภค Probiotic ในวงกว้างนั้นมีความปลอดภัยสูง น้อยมากที่ Probiotic จะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา ความน่าสนใจก็คือโพรไบโอติดค้นพบครั้งแรกในโยเกิร์ต ณ ประเทศบัลแกเรีย ซึ่งเป็นสายพันธุ์บาซิลลัสที่มีชื่อว่า Lactobacillus bulgaricus ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1905 โดยแพทย์และนักจุลขีววิทยาชาวบัลแกเรีย ที่ได้สังเกตว่าทำไมเมื่อเราตั้งนมวัวไว้ที่อุณหภูมิสูง ๆ รสชาติและลักษณะจะเปลี่ยนไปอย่างเป็นธรรมชาติ โดยลักษณะของนมวัวที่ตั้งไว้นานจะอยู่ในรูปของ Curd หรือว่าก้อนนม รสชาติที่เปลี่ยนไปคือมีความเปรี้ยวและกลมกล่อม จนทั้งหมดนี้กลายเป็นทฤษฎี Stamen Grigorov ซึ่งเป็นทฤษฎีสมัยใหม่ Élie Metchnikoff คือผู้ที่คิดค้นทฤษฎีที่ยอดเยี่ยมของโยเกิร์ตบัลแกเรียและเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเขาได้ตั้งสมมติฐานเมื่อราวปี 1907 ว่าชาวนาบัลแกเรียที่บริโภคโยเกิร์ตมีอายุยืนยาวขึ้น เราจะเห็นได้แล้วว่าโพรไบโอติกเริ่มเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์นานแล้วจนในปัจจุบันมีอาหารหลากหลายประเภทที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกอยู่เมื่อเราได้ยินเกี่ยวโพรไบโอติกคงจะได้ยินกับคำว่าพรีไบโอติกหรือ Prebiotic จริง […]
Melatonin (เมลาโทนิน) คือตัวช่วยที่ทำให้คนนอนไม่หลับได้พบกับทางออก เป็นนาฬิกาชีวิต เชื่อว่าใครหลายคนคงเคยได้ยินสารขนิดนี้ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่มีความเครียดสะสมจนขาดเมทาโลนินในร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อเมลาโทนินได้ง่ายมาก ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยา ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาดูความสำคัญของเมลาโทนินกัน เมลาโทนินคืออะไร Melatonin สร้างจากต่อมไพเนียลที่อยู่ในสมอง เป็นฮอร์โมนชนิดนึงที่ปล่อยออกมาตอนกลางคืน จะเกี่ยวข้องกับการนอนหลับและการตื่นนอน โดยเมลาโทนินจะหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดของเราเป็นเวลา 12 ชั่วโมงแล้วจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและเวลา 9 โมงเช้า พบว่าระดับเมลาโทนินในเลือดต่ำมากจนไม่สามารถวัดค่าได้เลย ส่วนเวลาเที่ยงคืนถึง 8 โมงเช้า ระดับเมลาโทนินในเลือดจะสูงมาก ซึ่งจุดประสงค์การใช้เมลาโทนินก็เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับในระยะสั้น เช่น อาการ Jet lag จากการเดินทางต่างประเทศหรือการทำงานเป็นกะที่ทำให้เวลาการนอนไม่แน่นอน ในสหภาพยุโรปมีการระบุการใช้เมลาโทนินไว้รักษาอาการนอนไม่หลับในเด็กอายุ 2-18 ปีที่มีอาการออทิสติกและกลุ่มอาการสมิธมาเจนิสซินโดรม ซึ่งเป็นความพิการทางสติปัญญาอย่างนึง ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เดิมทีจะใช้ยาที่มีชื่อว่า Clonazepam แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นเมลาโทนินเนื่องจากปลอดภัยกว่า ให้ผลกระทบที่น้อยกว่า เมลาโทนินยังถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพและเป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดีบางครั้งก็จะทำงานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระประเภทอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นโดยให้ผลที่ดีกว่าวิตามินอีถึง 2 เท่า เพราะช่วยส่งเสริมเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระได้ เช่น กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส คาตาเลส และดิสมิวเตส เมลาโทนินจะเกิดขึ้นเมื่อของเหลวภายในไมโทคอนเดรียสูง ส่งผลให้ความเข้มข้นของพลาสมาในเมลาโทนินสูงตามไปด้วย จากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาเมลาโทนินกับสปีชีส์ออกซิเจนหรือสปีชีส์ไนโตรเจน ทำให้ลดอนุมูลอิสระ ลดปฏิกิริยารีด็อกซ์ ทำให้เราหลับสบายขึ้นนั่นเอง […]
Immune หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Immune system คือระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยทำให้ร่างกายของเราไม่เจ็บป่วย ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายเรามาก ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Immune system กัน ว่าทำไมร่างกายของมนุษย์ถึงต้องมี Immune system คืออะไร ในทางชีววิทยาให้คำนิยามไว้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกตัวบนโลกต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อดำรงอยู่และสืบเผ่าพันธุ์ โดยธรรมชาติระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถรับรู้ได้เลยว่าสิ่งแปลกปลอมแบบไหนเข้ามาในร่างกาย แล้วจะทำการตอบสนองโดยการทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้นทันที สิ่งแปลกปลอมที่ว่าก็จำพวกเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ ที่เล็ดลอดเข้ามาผ่านทางช่องปาก รูจมูก ตา หรือว่าทางผิวหนัง ซึ่งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นโดยการส่งเม็ดเลือดขาวไปต่อสู้กับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวก็จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ B-cell และ T-cell หลังจากทำลายเสร็จแล้ว หน่วยความจำจะทำงานแล้วจดจำเชื้อโรคตัวนั้นไว้ เราจะสังเกตได้ว่าหากเราเป็นอีสุกอีใสแล้ว เราจะไม่เป็นอีก เนื่องจากสมองและระบบภูมิคุ้มกันของเราจดจำเชื้อโรคอีสุกอีใสไว้แล้ว เมื่อเราได้รับเชื้ออีกในอนาคต เราจะไม่ป่วยซ้ำ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ปรับตัวและออกมาทำลายเชื้ออีสุกอีใสเอง เซลล์เม็ดเลือดขาวคือคีย์หลักของระบบภูมิคุ้มกันจำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายของเราสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้เลยว่าร่างกายของเราแข็งแรงเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นมีความต่างจากเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยสิ้นเชิงถึงแม้ว่าลักษณะจะคล้ายกันนอกเหนือจากเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้ว Antibody คือสิ่งที่ช่วยต่อต้านศัตรูของร่างกายอมนุษย์เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะต่อต้านจำพวกสารพิษและแบคทีเรีย การทำงานก็คือเมื่อเจอพวกสิ่งแปลกปลอมแล้ว Antigen จะกระตุ้นให้ Antibody เข้ามาทำลายสิ่งแปลกปลอม เมื่อ Antigen […]
Enzyme (เอนไซม์) คือ ชื่อที่เราได้ยินกันมาช้านาน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือกลุ่มของโปรตีน ที่หน้าที่ทั่วไปคือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพเคมีของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อให้การทำงานในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกถึงเอนไซม์ว่าร่างกายของเราได้อะไรจากการมีน้ำย่อยตัวนี้กันบ้าง เอนไซม์ทำหน้าที่อย่างไร ถ้าเราพูดให้ลึกกว่านี้ต้องพูดว่าเอนไซม์คือตัว peptide มาต่อกันเป็นสายยาว ๆ จนกลายเป็น polypeptide ม้วนขดกันเป็นเกลียว ซึ่งจะอยู่ในรูปของกรดอะมิโนที่อนุพันธุ์ย่อยของโปรตีน เรียกได้ว่าเอนไซม์มีความซับซ้อนทางโครงสร้างเคมีเลยทีเดียว กลุ่มของเอนไซม์สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสารประกอบอื่นผสมอยู่ เช่น ไอออนโลหะ เรียกว่า Holoenzyme และเอนไซม์ที่มีสารประกอบอินทรีย์อยู่ จะเรียกว่า Coenzyme เอนไซม์จะทำงานได้โดยต้องมีตัวช่วยเท่านั้น ซึ่งตัวช่วยจะถูกเรียกว่า Cofactor เป็นจำพวกเกลือแร่จำเป็นที่ร่างกายของเราต้องการ เอนไซม์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะตัว เช่น เอนไซม์ที่ใช้ย่อยแป้ง เอนไซม์ที่ใช้ย่อยไขมัน และเอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีน แบ่งตามชนิดอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เมื่ออาหารถูกส่งเข้ามาในร่างกายของเราเอนไซม์จะออกมาจากสถานที่กักเก็บไม่ว่าจะเป็นที่ตับกระเพาะหรือลำไส้เล็กพร้อมกับเหล่าเกลือแร่ในร่างกายร่างกายของเราประกอบไปด้วยเซลล์ขนาดเล็กหลายล้านเซลล์เอนไซม์จะไปย่อยอาหารให้อยู่ในอนุภาคของไอออนซึ่งเล็กมากๆทำให้สารอาหารเหล่านี้สามารถซึมผ่านเซลล์ในร่างกายได้ถ้าหากเอนไซม์ไม่สามารถทำให้อาหารเล็กเป็นอนุภาคไอออนได้การดูดซึมและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจะไม่เกิดขึ้นผลที่ตามมาคือร่างกายเกิดภาวะเสื่อมภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่เชื้อโรคไวรัสหรือจุลินทรีย์ที่ไม่ดีต่อร่างกายจะเข้ามาได้ง่ายไม่มีการดักจับเหล่าพวกนี้ร่างกายของเราก็จะป่วยทันทีฉะนั้นหากเราต้องการให้ร่างกายผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพก็ต้องรับประทานจำพวกเกลือแร่นั่นเอง Cofactor ก็มีส่วนที่ทำให้เอนไซม์ได้ทำงานดีขึ้น เปรียบเสมือนเชื้อเพลิง cofactor จะอยู่ในรูปของไอออน เช่น เหล็กไอออน แมงกานีสไอออน แมกนีเซียมไอออน เป็นต้น หรือบางครั้งที่ไม่มีสารเคมีไอออนจำพวกนี้ ร่างกายดึงวิตามิน […]
- 1
- 2