Category Archives: สมุนไพร

ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

Curcumin หรือ ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

Curcumin เป็นสารในกลุ่มของเคอร์คูมินอยด์ ที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก เพราะมันสกัดมาจากขมิ้น ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนมองข้าม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Curcumin กัน เพราะอะไรทำไมต้องมีการสกัดอย่างเข้มข้นออกมา  Curcumin คืออะไร  ก่อนอื่นเราต้องมาย้อนดูประวัติของสารชนิดนี้กันก่อน เนื่องจากความน่าสนใจอย่างมาก Curcumin หรือเคอร์คูมิน ได้รับการตั้งชื่อในปี 1815 เมื่อ Vogel และ Pierre Joseph Pelletier ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส รายงานการแยก “สารสีเหลือง” ออกจากเหง้าขมิ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาพบว่าเป็นส่วนผสมของเรซินและน้ำมันขมิ้นชันในปี 1910 Milobedzka และ Lampe นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ก็ได้รายงานโครงสร้างทางเคมีของ curcumin ว่าเป็น diferuloylmethane ต่อมาในปี 1913 การสังเคราะห์สารประกอบของ Curcumin ก็ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากินเวลามาเกือบ 100 ปีเลยทีเดียว  Curcumin เป็นสารเคมีสีเหลืองที่ผลิตโดยพืชในสายพันธุ์ Curcuma longa เป็นเคอร์คูมินอยด์หลักของขมิ้น หรือ Curcuma longa […]

Ayurvedic หรือ อายุรเวท

อายุรเวท

Ayurvedic หรือ Ayurveda หรือ อายุรเวท เป็นการแพทย์ตามธรรมชาติ มีต้นกำเนิดในอินเดียเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว คำว่าอายุรเวทมาจากคำภาษาสันสกฤต ayur ที่แปลว่าชีวิตและ veda ที่แปลว่าวิทยาศาสตร์หรือความรู้ ดังนั้นอายุรเวทจึงแปลตรงตามตัวว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับชีวิต เมื่อได้ยินแบบนี้แล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา อายุรเวทคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมมันถึงมีประโยชน์ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอายุรเวทกัน  Ayurvedic คืออะไร  Ayurvedic เป็นระบบการแพทย์ทางเลือกที่มีรากฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบประเทศอินเดีย การรักษาและบำบัดแบบอายุรเวทมีความหลากหลาย และมีวิวัฒนาการมามากกว่าสองพันปี การบำบัดรวมถึงยาสมุนไพร อาหารการกิน การทำสมาธิ โยคะ การนวด ยาระบาย ยาสวนทวาร และน้ำมันนวด การเตรียมยาอายุรเวทมักจะขึ้นอยู่กับสารประกอบสมุนไพร แร่ธาตุ และสารที่เป็นโลหะที่ซับซ้อน ตำราอายุรเวทโบราณยังสอนไปถึงเทคนิคการผ่าตัด การผ่าตัดเสริมจมูก การสกัดนิ่วในไต การเย็บแผล และการสกัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย แต่ที่น่าตกใจคือการรักษาแบบอายุรเวทถูกต่อต้านในสังคมอินเดีย สมาคมการแพทย์แห่งอินเดียกล่าวว่านักอายุรเวทนั้นเป็นพวกนอกรีต นักการแพทย์อายุรเวทได้รับการฝึกฝนอย่างหนักในอินเดียและเนปาล อีกทั้งอายุรเวทยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิต โดยประชากรประมาณ 80% รายงานว่าใช้อายุรเวทในการดำเนินชีวิต  ตำราอายุรเวทเก่าแก่เริ่มต้นด้วยการพูดถึงเรื่องราวของการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์จากเหล่าทวยเทพสู่นักปราชญ์นักปราชญ์สู่แพทย์และแพทย์สู่มนุษย์ใน Sushruta Samhita หรือคัมภีร์ทางวรรณกรรมของอินเดียโบราณ ได้เขียนว่า Dhanvantari […]

Arnica

อาร์นิก้า

Arnica คือ พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างมาก เราคงอาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ในทางประเทศแถบยุโรป Arnica ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนใหญ่ก็จะถูกนำมาใส่ในยาและเวชสำอางค์ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Arnica กัน มาดูกันว่าทำไมในวงการความงามและแพทย์จึงให้ความสนใจกัน Arnica คืออะไร Arnica มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Arnica montana เป็นดอกไม้ที่มีสีเหลือง และเจริญเติบโตตามเทือกเขาในยุโรปและไซบีเรีย บางครั้งมันมักจะถูกเรียกว่า “ดอกเดซี่แห่งหุบเขา” เนื่องจากลักษณะภายนอกมีความคล้ายคลึงกับดอกเดซี่ แต่ต่างกันแค่ตรงสี โดยปกติแล้ว Arnica จะใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการตึงที่เกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อย รวมไปถึงการออกแรงมากเกินไป เช่น การแบกกระเป๋าหนัก ๆ การทำงานนอกสถานที่ หรืออาการหกล้ม Arnica ได้รับความนิยมมากในผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจาก Arnica สามารถบรรเทาอาการตึงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้ออักเสบ ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตที่เป็นกันมากในผู้สูงอายุ อาการตึงของกล้ามเนื้อไม่ได้เกิดแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น หนุ่มสาวทั่วไปก็สามารถมีอาการดังกล่าวได้เช่นกันจากการนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ และการนั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน สาเหตุที่Arnica montana สามารถช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ เนื่องจากองค์ประกอบหลักทางเคมีที่ประกอบไปด้วย น้ำมันหอมระเหย กรดไขมัน ไทมอล pseudoguaianolide sesquiterpene […]

ขมิ้น

ขมิ้น คืออะไร

Turmeric หรือ ขมิ้น เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีมาอย่างช้านานในประเทศไทย ลักษณะเด่นคือมีสีเหลืองสด รสชาติจัดจ้าน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ทั่วไปเราก็จะนำมาทำอาหารหรือรับประทานสด ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับขมิ้นให้ดีมากขึ้น  ทำไมต้องเป็นขมิ้น  ขมิ้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนทั่วไปนิยมปลูกชนิดของขมิ้น 2 ชนิดด้วยกัน คือ ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ซึ่งลักษณะจะคล้ายคลึงกัน แต่คุณสมบัติหรือสารอาหารแทบไม่ต่างกันเลย มีการบันทึกประวัติศาสตร์การใช้ขมิ้นตั้งแต่โบราณกาลไว้ว่าเกี่ยวข้องกับยาจีนโบราณ อายุรเวทศาสตร์ และพิธีกรรมเกี่ยวกับผี ครั้นเมื่อยุโรปตอนกลางขมิ้นถูกเรียกว่าหญ้าฝรั่นอินเดีย ซึ่งขมิ้นจะเจริญเติบโตได้ในสภาวะร้อนชื้น ต้องมีปริมาณน้ำฝนต่อปีจำนวนมากเพื่อการขยายพันธุ์  โดยทั่วไปขมิ้นที่เราเห็นจะมาในรูปแบบของผงบดละเอียดด้วยกระบวนการทำแห้ง  ใช้ในการแต่งสีในอาหารเอเชียหลายชนชาติ เช่น อาหารอินเดียที่นิยมใช้เพื่อดับกลิ่นสาปเนื้อสัตว์ อาหารมาเลย์ที่นิยมคลุกกับข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความรู้สึกเผ็ดร้อนในปาก คล้ายกับพริกไทยดำ ส่วนกลิ่นจะคล้ายกับมัสตาร์ด ในทางโภชนาการนั้นพบว่าขมิ้นมีคาร์โบไฮเดรต 60-70% น้ำ 6-13% ไขมัน 5-10% แร่ธาตุอาหาร 3-7% น้ำมันหอมระเหย 3-7% ไยอาหาร 2-7% และเคอร์คูมินอยด์ 1-6% นอกจากนี้เรายังพบสารที่มีความน่าสนใจในขมิ้นอีกมากมาย คือ Tumerone, Zingerene bissboline, Alpha-phellandrene ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ไปยับยั้งการเกิดกระบวนการ […]

ชาเขียว

ไร่ชาเขียว

Green tea หรือ ชาเขียว คือชาชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันทั่วไปอยู่แล้ว โดยปกติการดื่มก็จะชงกับน้ำร้อนจัด กลายเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่ใครหลาย ๆ คนชื่นชอบ หรือบางครั้งก็นิยมใส่ไซรัปไรหรือนมสดลงไปด้วย เพื่อความหลากหลายในการดื่ม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับชาเขียวให้ดีขึ้นกว่าเดิม ว่าจริง ๆ แล้วมันคือชาอะไรกันแน่ ชาเขียวทำมาจากอะไร การแปรรูปชาเชียวนั้นมีมาอย่างช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มต้นจากประเทศญี่ปุ่นและจีนที่นิยมดื่มชาเขียวพร้อมขนมรสหวานจัด วิธีการผลิตนั้นมาจากใบชาสดมาผ่านไอน้ำหรืออบด้วยความร้อน เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในใบชาเขียว เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยา browning reaction ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ใบชามีสีน้ำตาล จากนั้นก็พาไปทำแห้ง ซึ่งใบชาที่ได้ก็จะมีสีเขียวตามต้องการ ซึ่งระดับของสีชาเขียวก็ใช้เป็นตัวจำแนกแบ่งชาเขียวเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น ชาเขียว Konacha ที่มีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นที่หอมหวาน นิยมชงในงานพิธีกรรม ชาเขียว Oujicha ที่เป็นชาเขียวคั่วที่มีสีน้ำตาลอมเขียวเข้ม มีรสชาติเข้มข้นที่สุดในบรรดาชาเขียว ชาเขียว Matcha หรือที่รู้จักกันดีในมัทฉะ มีสีเขียวอ่อน มีกลิ่นที่สดชื่น นิยมใช้เป็นส่วนผสมของขนมหวาน และเป็นชาที่ใช้ในการพิธีชงชาของญี่ปุ่น เป็นต้น  ความเข้าใจผิดของหลายคนคิดว่าชาเขียวต้องเก็บมาจากต้นชาเขียวแน่นอนทว่าจะพูดแบบนั้นก็ไม่ผิดซะทีเดียวเพราะชาเขียวชาขาวชาดำหรือชาอู่หลงล้วนเก็บมาจากต้นชาชนิดเดียวกันซึ่งเป็นพืชชนิด Camellia sinensis แต่สาเหตุที่ทำให้รสชาติ กลิ่น ต่างกันออกไปคือการหมักและการแปรรูป ในปัจจุบันมี 2 ประเทศใหญ่ […]

แปะก๊วย

กิงโกะ แปะก๊วย

กิงโกะ (Ginkgo Biloba) คือพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันว่าใบแปะก๊วย ซึ่งในวงการแพทย์แผนโบราณรู้กันดีว่าถูกนำใช้นับหมื่นปี นอกจากนี้ยังสามารถเอามารับประทานได้อีกด้วย เสมือนผักผลไม้ทั่วไป ฉะนั้นวันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าทำไมกิงโก๊ะหรือใบแปะก๊วยจึงเป็นที่แพร่หลายกัน  กิงโกะหรือแปะก๊วยมีดีที่อะไร  ถ้าหากเราจะพูดถึงกิงโกะหรือแปะก๊วยจริงๆก็ควรพูดถึงที่มาก่อนว่ามาจากไหนถิ่นกำเนิดของพืชสมุนไพรชนิดนี้มาจากภูเขาด้านตะวันออกของนครเซี่ยงไฮ้ประเทศจีนจากนั้นก็ได้มีการนำไปเพาะพันธุ์ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยมีความสัมพันธ์ของศาสนา 2 ประเทศมาเกี่ยวข้อง ลักษณะเด่น ๆ ที่กิงโก๊ะคือมีใบมี 2 แฉก คล้ายใบพัดโบราณ อีกทั้งยังมีการแยกต้นผู้ ต้นเมียออกจากกันด้วย แต่ถ้าเราย้อนกลับไปอีกพบว่ากิงโก๊ะอยู่มานานก่อนที่มนุษย์จะค้บเจอซะอีก สันนิษฐานกันว่ามีอายุถึง 270 ล้านปีเลยทีเดียว ซึ่งเป็นยุคเดียวที่ไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้  องค์ประกอบทางเคมีของกิงโกะมีความน่าสนใจอย่างมากสามารถแบ่งย่อยได้สารที่ค้นพบเป็น 2 กลุ่ม คือ Terpenoids ที่สามารถแยกย่อยลงไปอีก คือ Ginkgolide และ Bilobalide และ Flovonoids ที่เป็นสารจำพวก Steroide ซึ่งสารจำพวก Steroide สามารถพบได้ในฮอร์โมนของมนุษย์ โดยปกติแล้วร่างกายจะสามารถสังเคราะห์ได้เอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของร่างกาย ฉะนั้นเราจะสังเกตได้ง่าย ๆ เลยว่าเมื่อผู้สูงอายุที่แก่ขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รับประทานกิงโก๊ะ ก็เพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อกระดูก จำเป็นต้องกินอาหารสเตียรอยด์ธรรมชาติภายนอก เนื่องจากพอแก่ตัวไป ระบบการสังเคราะห์จะค่อย ๆ เสื่อมลง กิงโกะหรือแปะก๊วยช่วยอะไร […]

แครนเบอร์รี่

แคนเบอร์รี่

Cranberry (แครนเบอร์รี่) คือ ผลไม้สีแดงสดในตระกูลเบอร์รี่ เป็นผลไม้ในกลุ่มของไม้พุ่มแคระ ในประเทศอังกฤษแครนเบอร์รี่คือพืชพื้นเมือง ลักษณะสำคัญเลยคือมีลำต้นที่เรียว แข็งแรง ไม่เป็นไม้หนา เขียวชอุ่มตลอดปี ดอกไม้ของแครนเบอร์รี่มีสีชมพูเข้ม ผลของแครนเบอร์รี่ตอนแรกจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกก็จะเป็นสีแดง รสเปรี้ยวแซมหวาน แต่รสหวานจะโดดเด่นกว่า ส่วนใบของแครนเบอร์รี่ก็สามารถนำไปรักษาแผลพุพอง แผลไฟไหม้ได้อีกด้วย ประโยชน์แครนเบอร์รี่ หากเราสังเกตตามร้านเภสัชกร เราจะพบอาหารเสริมที่เกี่ยวข้องกับแครนเบอร์รี่จำนวนมาก มีการสกัดเอาแครนเบอร์รี่เข้มข้นมาเป็นเม็ดแคปซูล ที่รวบรวมวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด ซึ่งแครนเบอร์รี่  1 ผล อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเค แมงกานีส ทองแดง และวิตามินอี นอกจากนี้เรายังพบสารชีวภาพอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น Quercetin, Peonidin, Myricetin, Ursolic Acid และ Salicylic Acid คุณค่าทางสารอาหารที่เราพบทั้งหมดในแครนเบอร์รี่ส่งผลต่อร่างกายเราดังนี้  การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่ทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เพราะไปช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลดี และลดระดับคอเลสรอลเสีย LDL ลง  การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่สดคั้นประมาณ 450-500 มิลลิลิตรทุกวัน ทำให้ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ […]