Cherry หรือ เชอร์รี่ เป็นผลไม้ในตระกูล Prunus ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากัน เพราะนอกจากจะรับประทานสด ๆ ในทวีปยุโรปแล้ว ยังเป็นส่วนผสมในขนมหวานหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม เค้ก หรือว่าเครื่องดื่ม ซึ่งเชอร์รี่มีประโยชน์มากกว่าความอร่อย เนื่องจากมันคือยอดราชินีผลไม้ ที่ได้มีการสกัดสารที่สำคัญมาให้พวกเราได้บริโภค ในรูปของอาหารเสริมกัน ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเชอร์รี่ให้มากกว่านี้กัน เชอร์รี่คืออะไร อย่างทีเรากล่าวกันไปแล้วว่าเชอร์รี่คือผลไม้ชนิดหนึ่ง เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไม่หวาน ฉะนั้นการประยุกต์ในอาหาร จะนิยมทำร่วมกับขนมที่มีน้ำตาลสูง เช่น เค้ก พาย หรือแยม เพื่อให้รสชาติเข้ากันได้ ในการเอามาใช้ประโยชน์เกือบทุกแขนง นิยมใช้เชอร์รี่สายพันธุ์ Montmorency ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ผลของเชอร์รี่เปรี้ยวมีสารเคมีที่อาจช่วยลดอาการบวม และทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะงงว่าแล้วเชอร์รี่หวานไม่ดีตรงไหนจริงๆแล้วขึ้นชื่อว่าเป็นเชอร์รี่ก็มักจะให้ประโยชน์แก่เราอยู่แล้วไม่ว่าจะทางใดก็ทางหนึ่งดังนั้นมันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์กับการใช้มากกว่าว่าเราต้องการสารสกัดอะไรจากเชอร์รี่แน่นอนหากเป็นเชอร์รี่หวานความกังวลที่จะตามคือปริมาณน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบในผลไม้มีระดับที่สูงเชอร์รี่หวานมีรสหวานจัดทำให้เป็นที่ชื่นชอบของคนหลายคนและสามารถรับประทานเป็นของว่างได้ง่ายในขณะเดียวกันความชื่นชอบที่มีต่อเชอร์รี่เปรี้ยวก็กำลังเริ่มได้รับความนิยมเนื่องจากรสชาติที่กรอบและฝาดของเชอร์รี่เปรี้ยวนั้นเป็นรสชาติแปลกใหม่เฉพาะตัวอีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบและส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อนฉะนั้นหากพูดถึงการรับประทานสดๆแล้วการรับประทานเชอร์รี่หวานก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมกว่าอยู่ดีกลับกันหากถกเถียงในเชิงวิทยาศาสตร์เชอร์รี่เปรี้ยวให้ประโยชน์ที่มากกว่า คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่ คุณค่าทางสารอาหารของเชอร์รี่ เรียกได้ว่าเยอะมาก ๆ เชอร์รีแบบไม่มีเมล็ด 1 ถ้วย หรือประมาณ 138 กรัม ที่ให้พลังงาน 87 แคลอรี มีน้ำตาล 17.7 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 22 กรัม […]
Bee product หรือผลิตภัณฑ์ผึ้ง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Royal Jelly ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในบ้านเรา เนื่องจากมันประกอบไปด้วยสารอาหารมากมาย ที่ได้มาจากผึ้ง ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Royal Jelly กันว่า ทำไมใครหลาย ๆ คนถึงเลือกบริโภคอาหารเสริมชนิดนี้ Royal Jelly คืออะไร Royal Jelly หรือนมผึ้ง เป็นสารคัดหลั่งจากผึ้ง โดยปกตินี้ผึ้งพยาบาลที่เป็นเพศเมียจะผลิตออกมา เพื่อใช้เลี้ยงตัวอ่อนของผึ้ง ถูกหลั่งจากต่อม hypopharynx และเลี้ยงตัวอ่อนทั้งหมดในรังผึ้ง โดยไม่คำนึงถึงเพศหรือวรรณะของผึ้ง เพราะปกติในสังคมของผึ้งจะมีการแบ่งเพศ แบ่งชั้นกัน ในระหว่างกระบวนการสร้างค้นหาราชินีผึ้งตัวใหม่ ผึ้งงานจะสร้างเซลล์ตัวอ่อนราชินีผึ้งแบบพิเศษออกมา ตัวอ่อนในเซลล์เหล่านี้จะได้รับ Royal Jelly ในปริมาณมาก การให้เซลล์ตัวอ่อนของว่าที่ราชินิผึ้งกิน Royal Jelly ก็เพื่อทำให้ ราชินีตอนโตมีความแข็ง สามารถวางไข่ได้จำนวนมาก เพื่อเป็นสืบเผาพันธุ์ Royal Jelly จัดว่าเป็นยอดอาหารเลยทีเดียว โดยประกอบไปด้วย น้ำ 67% โปรตีน 12.5% น้ำตาลเชโมเลกุลเดี่ยว หรือโมโนแซ็กคาไรด์ 11% […]
Ayurvedic หรือ Ayurveda หรือ อายุรเวท เป็นการแพทย์ตามธรรมชาติ มีต้นกำเนิดในอินเดียเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว คำว่าอายุรเวทมาจากคำภาษาสันสกฤต ayur ที่แปลว่าชีวิตและ veda ที่แปลว่าวิทยาศาสตร์หรือความรู้ ดังนั้นอายุรเวทจึงแปลตรงตามตัวว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับชีวิต เมื่อได้ยินแบบนี้แล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา อายุรเวทคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมมันถึงมีประโยชน์ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอายุรเวทกัน Ayurvedic คืออะไร Ayurvedic เป็นระบบการแพทย์ทางเลือกที่มีรากฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบประเทศอินเดีย การรักษาและบำบัดแบบอายุรเวทมีความหลากหลาย และมีวิวัฒนาการมามากกว่าสองพันปี การบำบัดรวมถึงยาสมุนไพร อาหารการกิน การทำสมาธิ โยคะ การนวด ยาระบาย ยาสวนทวาร และน้ำมันนวด การเตรียมยาอายุรเวทมักจะขึ้นอยู่กับสารประกอบสมุนไพร แร่ธาตุ และสารที่เป็นโลหะที่ซับซ้อน ตำราอายุรเวทโบราณยังสอนไปถึงเทคนิคการผ่าตัด การผ่าตัดเสริมจมูก การสกัดนิ่วในไต การเย็บแผล และการสกัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย แต่ที่น่าตกใจคือการรักษาแบบอายุรเวทถูกต่อต้านในสังคมอินเดีย สมาคมการแพทย์แห่งอินเดียกล่าวว่านักอายุรเวทนั้นเป็นพวกนอกรีต นักการแพทย์อายุรเวทได้รับการฝึกฝนอย่างหนักในอินเดียและเนปาล อีกทั้งอายุรเวทยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิต โดยประชากรประมาณ 80% รายงานว่าใช้อายุรเวทในการดำเนินชีวิต ตำราอายุรเวทเก่าแก่เริ่มต้นด้วยการพูดถึงเรื่องราวของการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์จากเหล่าทวยเทพสู่นักปราชญ์นักปราชญ์สู่แพทย์และแพทย์สู่มนุษย์ใน Sushruta Samhita หรือคัมภีร์ทางวรรณกรรมของอินเดียโบราณ ได้เขียนว่า Dhanvantari […]
Astragalus หรือชื่อไทยเรียกว่า อึ้งคี้ หรือ หวงฉี เป็นพืชสมุนไพรจีน ที่เราไม่คุ้นชื่อเท่าไหร่ แต่หากเราไปอ่านส่วนผสมของยาหลายประเภท พบว่าจะมี Astragalus ผสมอยู่ด้วย ซึ่งสรรคุณของพืชสมุนไพรชนิดนี้มีความโดดเด่นเลยทีเดียว สามารถรักษาและบรรเทาโรคได้หลายอย่าง ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Astragalus ให้มากขึ้น มาดูกันว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ Astragalus คืออะไร Astragalus เป็นพืชขนาดใหญ่ ที่มีมากกว่า 3,000 สปีชีส์ เป็นสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลถั่ว Fabaceae และเป็นพืชสกุลที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของพืชพรรณนา Astragalus มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นของซีกโลก เช่น อเมริกาเหนือ Astragalus มักถูกใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เป็นที่นิยมใช้ในประเทศจีนเพื่อรักษาโรคตับอักเสบและอาหารเสริมสำหรับโรคมะเร็ง ในสหรัฐอเมริกา คนส่วนใหญ่ใช้สมุนไพรเสริมนี้จาก Astragalus เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันโรคหวัดและการติดเชื้อทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่นิยมว่า Astragalus มีประโยชน์ในการรักษาโรคหัวใจ โดยปกติแล้วรากของ Astragalus จะใช้ในการเตรียมสารสกัดหรือชงชา และจะเพิ่มสมุนไพรชนิดอื่นเข้าไปด้วย เช่น ชะเอมเทศ โสม และแองเจลิกา […]
Aspirin หรือ Pain relief หรือ ยาแก้ปวด เป็นยาที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน เนื่องจากเวลาไปเราไปหาหมอ หมอส่วนใหญ่จะทำการสั่งยาชนิดนี้มาให้ แทบจะทุกโรค ซึ่งยาแอสไพรินคือยาครอบวักรวาล ที่ไม่ว่าเรามีปัญหาอะไร แอสไพรินเอาอยู่ทุกที ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับยาชนิดนี้กัน มาดูกันว่าเพราะอะไรทำไมความปวดที่เรามี ถึงหายวับไปกับตา เมื่อใช้ยาตัวนี้ Aspirin คืออะไร แอสไพรินหรือที่เรียกว่ากรดอะซิติลซาลิไซลิก (ASA) เป็นยาที่ใช้ลดอาการปวด ไข้ หรือการอักเสบที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งโรคเฉพาะทางที่ใช้ในการรักษาด้วยแอสไพริน ได้แก่ โรคคาวาซากิ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคที่เกี่ยวกับลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง มีการค้นพบใหม่ว่าแอสไพรินสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจวาย ซึ่งนำไปสู่โอกาสในการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้ อีกทั้งการใช้ยาแอสไพรินชในระยะยาวเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจวาย ยังมีความปลอดภัยอีกด้วย สำหรับอาการปวดทั่วไปหรือมีไข้แอสไพรินจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที ทำหน้าที่เสมือนยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และทำงานคล้ายกับ NSAIDs อื่น ๆ ยังยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดที่ผิดปดติ ทำให้เมื่อเราเป็นแผลฉกรรจ์ เสียเลือดเยอะ แพทย์จะเลือกจ่ายยาแก้อักเสบตัวยนี้มาให้เราเสมอ ไปกระตุ้นเกล็ดเลือดให้มาปิดบาดแผลอย่างเร็วขึ้น สารตั้งต้นของแอสไพรินพบในใบจากต้นวิลโลว์ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในทางสุขภาพมาแล้ว อย่างน้อย 2,400 ปี […]
Arnica คือ พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างมาก เราคงอาจจะไม่คุ้นหูเท่าไหร่ แต่ในทางประเทศแถบยุโรป Arnica ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนใหญ่ก็จะถูกนำมาใส่ในยาและเวชสำอางค์ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Arnica กัน มาดูกันว่าทำไมในวงการความงามและแพทย์จึงให้ความสนใจกัน Arnica คืออะไร Arnica มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Arnica montana เป็นดอกไม้ที่มีสีเหลือง และเจริญเติบโตตามเทือกเขาในยุโรปและไซบีเรีย บางครั้งมันมักจะถูกเรียกว่า “ดอกเดซี่แห่งหุบเขา” เนื่องจากลักษณะภายนอกมีความคล้ายคลึงกับดอกเดซี่ แต่ต่างกันแค่ตรงสี โดยปกติแล้ว Arnica จะใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ และอาการตึงที่เกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อย รวมไปถึงการออกแรงมากเกินไป เช่น การแบกกระเป๋าหนัก ๆ การทำงานนอกสถานที่ หรืออาการหกล้ม Arnica ได้รับความนิยมมากในผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เนื่องจาก Arnica สามารถบรรเทาอาการตึงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้ออักเสบ ซึ่งเป็นอาการยอดฮิตที่เป็นกันมากในผู้สูงอายุ อาการตึงของกล้ามเนื้อไม่ได้เกิดแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น หนุ่มสาวทั่วไปก็สามารถมีอาการดังกล่าวได้เช่นกันจากการนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ และการนั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน สาเหตุที่Arnica montana สามารถช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ เนื่องจากองค์ประกอบหลักทางเคมีที่ประกอบไปด้วย น้ำมันหอมระเหย กรดไขมัน ไทมอล pseudoguaianolide sesquiterpene […]
Arginine คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนที่มนุษย์ต้องการและขาดไม่ได้ และเมื่ออายุมากขึ้น เราจะพบว่าปริมาณ Arginine ในร่างกายจะน้อยลงไป ซึ่งเท่ากับว่าการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนไป ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Arginine กัน มาดูกันว่ามันคืออะไร และทำไมร่างกายของเราต้องการกรดอะมิโนชนิดนี้กัน Arginine คืออะไร Arginine หรือ อาร์จินีน หรือที่เรียกว่า l-arginine เป็นกรดอะมิโนชนิดแอลฟ่า ที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน ประกอบด้วยหมู่แอลฟ่าอะมิโนและกลุ่มกรดแอลฟ่าคาร์บอกซิลิก อาร์จินีนจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้ ทำให้ต้องได้รับจากการบริโภคอาหาร ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาร์จินีนมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายของทารกต้องการกรดอะมิโนชนิดนี้เพื่อทำให้ร่างกายมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด เป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น อาร์จินีนถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1886 จากต้นกล้าลูปินสีเหลือง โดยนักเคมีชาวเยอรมันที่มีชื่อว่า Ernst Schulze และผู้ช่วยของเขาที่มีชื่อว่า Ernst Steiger คำว่าอาร์จินีนมาจากภาษากรีก แปลว่าสีเงิน เนื่องจากมีลักษณะที่ปรากฎครั้งแรกเป็นสีเงิน–ขาว เป็นผลึกอาร์จินีนไนเตรต และในปี 1897 ก็ได้มีการกำหนดโครงสร้างของอาร์จินีนขึ้น การค้นคว้าของกรดอะมิโนชนิดนี้ยังมีมาเรื่อย ๆ โดยนักเคมีหลายคนพยายามที่จะสังเคราะห์กรดอะมิโนออกมาจากสารเคมี จนกระทั่งในปี 1899 นักเคมีที่มีชื่อว่า Ernst Winterstein […]
Apple cider vinegar หรือแอปเปิ้ลไซเดอร์ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีความต่างจากน้ำส้มสายชูที่เราใช้กันทั่วไป เนื่องจากมันสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้มากมาย เช่น เอาไปทำน้ำหมักหรือน้ำสลัด เราจะเห็นตามสื่อต่าง ๆ มากมายที่เลือกใช้ Apple cider vinegar แทนน้ำส้มสายชูธรรมดา ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับน้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลกันหรือแอปเปิ้ลไซเดอร์ เพราะอะไรทำไมของเหลวชนิดนี้ถูกยกให้เป็นเครื่องปรุงสุดเฮลตี้ แอปเปิ้ลไซเดอร์ คืออะไร Apple cider vinegar ก็คือน้ำส้มสายชูที่ได้มากจากกระบวนการหมักจากแอปเปิ้ล ในการทำนั้นจะมีการใช้ยีสต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยจะหมักจนได้แอลกอฮอล์ และมีการเติมน้ำตาลลงไประหว่างกระบวนการ เพื่อให้ยีสต์ได้ย่อยน้ำตาลเป็นอาหาร จากนั้น Apple cider vinegar ที่ได้จะกลายเป็นกรด Acetic Acid ให้รสชาติที่เปรี้ยวและมีความเป็นกรดสูงมาก ในการผลิต Apple cider vinegar นั้นมีการระมัดระวังเป็นพิเศษ เริ่มตั้งแต่กระบวนการบดแอปเปิ้ลไปจนถึงการหมัก เนื่องจากอาจจะมีการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยีสต์ และราที่ไม่ต้องการได้ หากไม่มีการควบคุมปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิ ระยะเวลา และความชื้นสัมพัทธ์ ทำให้ส่งผลเสียต่อผู้บริโภค แต่แน่นอนว่าในการผลิตก็มีการใช้แบคทีเรียและยีสต์ดี ซึ่งคือพันธุ์ […]
สารต้านอนุมูลอิสระหรือสาร Antioxidants เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยให้ร่างกายของเรายังคงความเยาว์วัยได้ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยส่งเสริมและปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของเรา ให้ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งร่างกายของเรามีความต้องสาร Antioxidants อย่างมาก ขาดไม่ได้เลย ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้กัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราต้องการ สาร Antioxidants คืออะไร สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสารจากธรรมชาติที่ป้องกันหรือชะลอความเสียหายของเซลล์บางชนิด สารต้านอนุมูลอิสระพบได้ในอาหารหลายชนิด รวมทั้งผักและผลไม้ และยังมีจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตัวอย่างของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แอนโทไซยานิน วิตามินอี และวิตามินซีเป็นต้น หน้าที่หลัก ๆ ของสาร Antioxidants คือจะไปยับยั้งกระบวนการสร้างปฏิกิริยา oxidation ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิด Free radical หรือสารอนุมูลอิสระ กลไกการยับยั้งของสารต้านอนุมูลอิสระสามารถทำได้ทั้งหมด 3 กลไก ดังต่อไปนี้ คือ เริ่มจาก Preventive antioxidant ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ถัดมา Scavenging antioxidant ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น และสุดท้ายคือ Chain breaking antioxidant ทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง การมีอยู่ของสารต้านอนุมูลอิสระไม่ใช่มีแค่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น ทว่าเรายังสามารถสังเคราะห์ออกมาได้ด้วย ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์ที่สามารถพบได้ทั่วไปและพบได้บ่อยที่สุด […]
Amino acid หรือกรดอะมิโนเป็นชีวโมกุลของโปรตีน ที่รวมหมู่อะมิโนและคาร์บอกซิลไว้ด้วยกัน ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก เพื่อช่วยให้ร่างกายได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเต็มที่ ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับกรดอะมิโนกันว่า ทำไมร่างกายของเราต้องการและมีประโยชน์อย่างไร Amino acid คืออะไร กรดอะมิโนเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน โครงสร้างของกรดอะมิโนจะเกิดจากหมู่อะมิโนและคาร์บอกซิล กรดอะมิโนถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1806 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า Louis-Nicolas Vauquelin และ Pierre Jean Robiquet ทั้งสองได้แยกสารประกอบจากหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าแอสพาราจีน เป็นกรดอะมิโนตัวแรกที่ถูกค้นพบ การค้นคว้ากรดอะมิโนยังมีต่อมาเรื่อย ๆ จนในปัจจุบันมีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการถึง 20 ตัว และมีความสำคัญต่อเราอย่างมาก ความต่างกันระหว่างกรดอะมิโนแต่ละตัวคือ หมู่ R ซึ่งเป็นหมู่ที่อยู่ในกรดอะมิโน เป็นตัวบ่งบอกว่าชอบน้ำหรือไม่ชอบน้ำ อย่างที่เราเกริ่นไปแล้วว่าร่างกายของเราต้องการกรดอะมิโนทั้งหมด 20 ตัวด้วยกัน เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ทว่าจริง ๆ แล้วกรดอะมิโนที่จำเป็นโดยแท้จริง มีทั้งหมด 9 ตัว ได้แก่ ฮิสทิดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน […]