Ayurvedic หรือ Ayurveda หรือ อายุรเวท เป็นการแพทย์ตามธรรมชาติ มีต้นกำเนิดในอินเดียเมื่อ 3,000 ปีที่แล้ว คำว่าอายุรเวทมาจากคำภาษาสันสกฤต ayur ที่แปลว่าชีวิตและ veda ที่แปลว่าวิทยาศาสตร์หรือความรู้ ดังนั้นอายุรเวทจึงแปลตรงตามตัวว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับชีวิต เมื่อได้ยินแบบนี้แล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา อายุรเวทคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมมันถึงมีประโยชน์ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอายุรเวทกัน
Ayurvedic คืออะไร
Ayurvedic เป็นระบบการแพทย์ทางเลือกที่มีรากฐานทางประวัติศาสตร์ในแถบประเทศอินเดีย การรักษาและบำบัดแบบอายุรเวทมีความหลากหลาย และมีวิวัฒนาการมามากกว่าสองพันปี การบำบัดรวมถึงยาสมุนไพร อาหารการกิน การทำสมาธิ โยคะ การนวด ยาระบาย ยาสวนทวาร และน้ำมันนวด การเตรียมยาอายุรเวทมักจะขึ้นอยู่กับสารประกอบสมุนไพร แร่ธาตุ และสารที่เป็นโลหะที่ซับซ้อน ตำราอายุรเวทโบราณยังสอนไปถึงเทคนิคการผ่าตัด การผ่าตัดเสริมจมูก การสกัดนิ่วในไต การเย็บแผล และการสกัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย แต่ที่น่าตกใจคือการรักษาแบบอายุรเวทถูกต่อต้านในสังคมอินเดีย สมาคมการแพทย์แห่งอินเดียกล่าวว่านักอายุรเวทนั้นเป็นพวกนอกรีต นักการแพทย์อายุรเวทได้รับการฝึกฝนอย่างหนักในอินเดียและเนปาล อีกทั้งอายุรเวทยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิต โดยประชากรประมาณ 80% รายงานว่าใช้อายุรเวทในการดำเนินชีวิต
ตำราอายุรเวทเก่าแก่เริ่มต้นด้วยการพูดถึงเรื่องราวของการถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์จากเหล่าทวยเทพสู่นักปราชญ์นักปราชญ์สู่แพทย์และแพทย์สู่มนุษย์ใน Sushruta Samhita หรือคัมภีร์ทางวรรณกรรมของอินเดียโบราณ ได้เขียนว่า Dhanvantari เทพเจ้าในศาสนาฮินดูของ Ayurveda กลับชาติมาเกิดเป็นกษัตริย์แห่งพาราณสี และสอนวิธีการทำยาให้กับกลุ่มแพทย์ อายุรเวทได้รับแพร่ขยายไปถึงชาติตะวัน มีอิทธิพลอย่างมาก เนื่องจากมีความแปลกใหม่และน่าสนใจ
วงการของอายุรเวทเฟื่องฟูเพิ่มมากขึ้นในปี 1970 เมื่อ Baba Hari Dass ผู้ที่เป็นปรมาจารย์ทางด้านโยคะ ซึ่งเป็นหนึ่งในศาสตร์ของอายุรเวท และ Maharishi Ayurveda บริษัทผลิตยาอายุรเวท โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ร่วมด้วย โด่งดังในชาติตะวันตก นักวิชาการบางคนยังยืนยันว่าอายุรเวท มีต้นกำเนิดในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญในช่วงสมัยเวท บ้างก็ว่าอายุรเวทเกิดมาพร้อมกับศาสนาต่าง ๆ เช่น พุทธศาสนา และเชน
ประเภทมนุษย์ตาม Ayurvedic
Ayurvedic เป็นการผสมผสานสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ Ayurvedic ยังถูกเรียกอีกชื่อด้วยว่า Dosha ประกอบไปด้วย 3 แบบคือ Vata, Kapha และ Pitta การจัดกลุ่มมนุษย์ตามหลักของ Ayurvedic ก็เพื่อเป็นการจัดหมวดหมู่ในการรักษาตามหลักอายุรเวท ซึ่งความต่างกัน วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับประเภทของ Ayurvedic มากขึ้น
-
Vata
Vata หรือ วาตะ ประกอบด้วยธาตุอากาศ เรียกอีกอย่างว่าอีเธอร์ และวาตะมีคำนิยามโดยทั่วไปว่า เย็น เบา แห้ง หยาบ น้ำไหล และกว้างขวาง ฤดูใบไม้ร่วงเป็นตัวแทนของวาตะ ซึ่งจัดเป็นวันที่อากาศเย็นและสดชื่น ตรงตามกับคำนิยามข้างต้น ผู้ที่มี vata dosha มักจะถูกอธิบายว่าผอมเพรียว แต่เปี่ยมไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ พวกเขารู้จักคิดนอกกรอบ แต่สามารถฟุ้งซ่านได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้น อารมณ์ของพวกเขายังขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ผู้คนรอบตัว และอาหารที่บริโภคในชีวิตประจำวัน
ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มวาตะมีจุดแข็งคือเรียนรู้เร็วความคิดสร้างสรรค์สูงทำงานได้หลายอย่างใจดียืดหยุ่นได้ทุกที่ทุกเวลาและร่างกายผอมอย่างเป็นธรรมชาติจุดอ่อนคือขี้ลืมวิตกกังวลอารมณ์ไม่คงที่มีความไวต่ออากาศหนาวมากนอนไม่หลับความอยากอาหารผิดปกติมีปัญหาทางเดินอาหารบ่อยการไหลเวียนไม่ดี
ตามหลักอายุรเวทเพื่อสุขภาพที่ดีผู้ที่เป็นควรจัดการกับความเครียดด้วยการทำสมาธิและทำกิจกรรมที่ช่วยสงบสติอารมณ์ได้รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นด้วยการหลีกเลี่ยงอากาศเย็นและรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอุ่นๆอยู่เสมอ
-
Apha
Apha หรือ กะผะ หรือ กุฟฟา จัดเป็นธาตุดินและน้ำ สามารถให้คำนิยามได้ว่ามั่นคง หนักแน่น เชื่องช้า หนาวเย็น และนุ่มนวล ฤดูใบไม้ผลิถูกเรียกว่าฤดูคาภา เนื่องจากมันให้ความรู้สึกอบอุ่น โรแมนติก ทำให้ทุกอย่างดูช้าไปหมด ผู้ที่มีกะผะโดชานี้ จะมีลักษณะแข็งแรง กระดูกหนา และนิสัยเอาใจใส่ พวกเขาเป็นที่รู้จักในด้านการรักษาสิ่งต่าง ๆ และเป็นคนที่สนับสนุนผู้อื่นเสมอ มักจะไม่ค่อยอารมณ์เสีย คิดก่อนทำ และใช้ชีวิตอย่างช้า ๆ รอบคอบ
จุดแข็งคือชอบเอาใจใส่คนรอบข้างเชื่อใจผู้อื่นอดทนอดกลั้นใจเย็นฉลาดมีคนที่มีความสุขตลอดโรแมนติกด้านสุขภาพคือกระดูกและข้อแข็งแรงระบบภูมิคุ้มกันที่ดีเยี่ยมจุดอ่อนคือมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้นง่ายการเผาผลาญอาหารช้ามีความเกียจคร้านบางครั้งนอนหลับมากเกินไปมีปัญหาการหายใจเช่นหอบหืด, ภูมิแพ้ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ อ่อนแอต่อภาวะซึมเศร้า ต้องการแรงจูงใจและกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มกะผะควรเน้นการออกกำลังกายเป็นประจำรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมีการควบคุมพฤติกรรมการกินรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นเสมอด้วยการหากิจกรรมทำเช่นนั่งในห้องซาวน่าหรือรับประทานอาหารอุ่นๆและสร้างกิจวัตรการนอนหลับให้เป็นปกติ
-
Pitta
Pitta หรือ ปิตตะ ขึ้นชื่อเรื่องความผูกพันรักใคร่ มีบุคลิกที่โดดเด่น มีพื้นฐานมาจากธาตุไฟและน้ำ คพนิยามโดยทั่วไปจะอธิบายว่า ร้อน เบา คม เป็นของเหลว และเคลื่อนที่ไปมา ฤดูร้อนเรียกว่าฤดูปิตตะ เมื่อนึกถึงฤดูร้อน เราจะนึกถึงวันนี้ร้อนอบอ้าว เหงื่อไหลท่วม ซึ่งก็ตรงกับคำนิยาม
คนที่เป็น Pitta มักจะมีกล้ามเนื้อ แข็งแรงมาก และทำหน้าที่เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง พวกเขามีแรงจูงใจสูง มีความกระตือรือร้น มุ่งเน้นเป้าหมายชัดเจน และชื่นชอบการแข่งขัน ถึงกระนั้นก็มีลักษณะนิสัย ที่ก้าวร้าวและหวงแหนของ อาจจะชอบดูถูกคน ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง จุดแข็งคือ ฉลาด เด็ดเดี่ยว เรียนรู้เร็ว ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ เชี่ยวชาญทักษะได้อย่างง่ายดาย มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อความสำเร็จ แข็งแกร่ง เป็นผู้นำโดยธรรมชาติ ในด้านสุขภาพคือการเผาผลาญอย่างรวดเร็ว การไหลเวียนที่ดี ผิวและผมแข็งแรง จุดอ่อนคือ ใจร้อน มักมีความขัดแย้งตลอด หิวตลอดเวลา อารมณ์แปรปรวนเวลาหิว มักเป็นสิวอักเสบ ไวต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัด
ผู้ที่เป็น Pitta ควรให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และหลีกเลี่ยงความร้อนจัด เช่น สภาพอากาศ และอาหารรสเผ็ด
ประโยชน์พืชสมุนไพรตามแบบ Ayurvedic
ในการรักษาแบบ Ayurvedic นั้น นิยมใช้สมุนไพรที่หาได้ในประเทศอินเดีย ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาดูถึงประโยชน์พืชสมุนไพรในทางอายุรเวทกันว่า มีอะไรบ้าง
-
Ashwagandha
เป็นไม้ยืนต้นในตระกูลเบอร์รี่ขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและแอฟริกาเหนือรากและผลเบอร์รี่ Ashwagandha ใช้ในการผลิตยาอายุรเวทอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่ามันสามารถช่วยให้ร่างกายของเราจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อรับประทานเข้าไป มีงานการวิจัยพบว่า สารสกัดจาก Ashwagandha ช่วยลดระดับคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไตผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียด นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่เชื่อมโยงว่า Ashwagandha สามารถช่วยลดระดับความวิตกกังวลได้ และส่งผลให้การนอนหลับดีขึ้นในผู้ที่มีโรคเครียดและวิตกกังวล
นอกจากนี้ยังมีการวิจัยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่า Ashwagandha ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ และภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ส่งเสริมความจำ ตลอดจนลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
แนะนำสินค้า Puritan’s Pride Ashwagandha Standardized Extract 300 mg
-
Boswellia
Boswellia หรือที่เรียกว่ากำยานอินเดีย หรือ olibanum ทำจากเรซินของต้น Boswellia serrata ขึ้นชื่อในเรื่องกลิ่นไม้รสเผ็ด ที่รสชาติโดดเด่น ไม่ซ้ำใคร การวิจัยชี้ให้เห็นว่า Boswellia มีประสิทธิภาพอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลดการอักเสบ โดยการป้องกันการปล่อยสารเคมีที่ก่อให้เกิดการอักเสบ มีชื่อเรียกว่า leukotrienes ในการศึกษาที่ได้ศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า Boswellia เหมือนจะมีประสิทธิภาพเท่ากับยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ส่วนการศึกษาในมนุษย์นั้นพบว่า Boswellia สอดคล้องกับอาการปวดที่ลดลง ทำให้ความคล่องตัวและการเคลื่อนไหวดีขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมและโรคข้อรูมาตอยด์ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก และช่วยรักษาโรคเหงือกอักเสบ ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร ในผู้ที่มีอาการลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผลและโรคโครห์น รวมทั้งช่วยเรื่องการหายใจในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง
-
Triphala
Triphala หรือ ตรีผลา เป็นยาอายุรเวทที่ประกอบด้วยผลไม้สมุนไพร 3 ชนิดต่อไปนี้ แอมลา หรือ Emblica officinalis หรือ มะยมอินเดีย, bibhitaki หรือ เทอร์มินาเลีย หรือ bellirica และ ฮาริตากิ หรือTerminalia chebula การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า ตรีผลาลดการอักเสบที่เกิดจากข้ออักเสบ ตลอดจนป้องกันหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งบางชนิด
นอกจากนี้ยังอาจทำหน้าที่เป็นยาระบายตามธรรมชาติลดอาการท้องผูกปวดท้องและท้องอืดในขณะที่ปรับปรุงการทำงานของลำไส้ในผู้ที่มีความผิดปกติของลำไส้ผลการศึกษายังแนะนำอีกว่าน้ำยาบ้วนปากที่มีตรีผลาอาจลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ลดการอักเสบของเหงือกและป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียในปาก
-
Brahmi
Brahmi หรือ พรหมมี หรือ Bacopa monieri เป็นสมุนไพรหลักในการทำยาอายุรเวท จากการศึกษาในในสัตว์ทดลอง พบว่า Brahmi มีคุณสมบัติต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า NSAIDs หรือยาต้านการอักเสบทั่วไป การศึกษายังชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสมองที่เพิ่มขึ้น เมื่อบริโภค Brahmi ซึ่งช่วยในเรื่องของสมาธิ ความจำ และการประมวลผลข้อมูล รวมถึงการลดอาการของสมาธิสั้น (ADHD) เช่น การไม่ตั้งใจ หุนหันพลันแล่น ควบคุมตนเองได้ไม่ดี และกระสับกระส่าย
การศึกษาบางชิ้นยังแนะนำว่า Brahmi อาจมีคุณสมบัติในการปรับตัวของร่างกาย ซึ่งหมายความว่า Brahmi ช่วยปรับปรุงความสามารถของร่างกาย ในการรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวล
-
Cumin
Cumin หรือ ยี่หร่า เป็นเครื่องเทศที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งได้มากจากต้น cyminum ขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติที่เผ็ดร้อน การวิจัยแสดงให้เห็นว่ายี่หร่าอาจกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร และช่วยในการหลั่งน้ำดีออกจากตับ เร่งการย่อยอาหาร และทำให้การย่อยไขมันง่ายขึ้น
การศึกษายังบอกเพิ่มเติมว่ายี่หร่ายังสามารถช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) ได้ เช่น ปวดท้องและท้องอืด นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 โดยการลดระดับน้ำตาลในเลือดและปรับปรุงความไวของอินซูลินให้ดีขึ้น ป้องกันโรคหัวใจโดยการเพิ่ม HDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลดี ในขณะที่ลดไตรกลีเซอไรด์และ LDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลไม่ดี ในด้านของการถนอมอาหารนั้น ยี่หร่ามีคุณสมบัติต้านจุลชีพ ที่ไปช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในอาหารได้
-
Turmeric
Turmeric หรือ ขมิ้น เป็นเครื่องเทศที่ทำให้แกงมีสีเหลือง เป็นอีกหนึ่งยาอายุรเวทที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ในขมิ้นมีสารเคอร์คูมินซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์หลัก มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพสูง มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เคอร์คูมินอาจมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันหรือมากกว่ายาแก้อักเสบบางชนิด โดยไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นเมื่อบริโภค
นอกจากนี้ขมิ้นอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยการปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการออกกำลังกายการศึกษาหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่าขมิ้นอาจมีประสิทธิภาพเท่ากับ Prozac ยาที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาภาวะซึมเศร้า สารประกอบในขมิ้นยังช่วยรักษาและปรับปรุงการทำงานของสมอง โดยการเพิ่มระดับของ neurotrophic (BDNF) ในสมอง หากมนุษย์มี BDNF ในระดับต่ำ จะทำให้เกิดความผิดปกติที่สมองขึ้น เช่น อัลไซเมอร์และภาวะซึมเศร้า
แนะนำสินค้า Puritan’s Pride Turmeric 800 mg มีอยู่จำนวน 100 เม็ด ราคาไม่แพง สินค้านำเข้าจากอเมริกา
-
Licorice root
Licorice root หรือ รากชะเอม มีถิ่นกำเนิดในยุโรปและเอเชีย มาจากพืช Glycyrrhiza glabra และเป็นสมุนไพรหลักที่ใช้ในการทำยาทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์แผนโบราณหรือสมัยใหม่ มีการศึกษาในมนุษย์แสดงให้เห็นว่า รากชะเอมช่วยลดการอักเสบ และต่อสู้กับไวรัสและแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ด้วยการป้องกันฟันผุและ ช่วยป้องกันและรักษาอาการเสียดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ เรอ และแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อเราทารากชะเอมลงบนผิวหนัง มันสามารถลดอาการผื่นที่ผิวหนัง รวมทั้งรอยแดง คัน และบวมได้
-
Bitter Melon
Bitter melon หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของมะระขี้นก เป็นเถาองุ่นเขตร้อนที่อยู่ในตระกูลเดียวกับบวบ แตงกวา และฟักทอง ถือเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารเอเชีย และเต็มไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยชี้ให้เห็นว่ามะระขี้นก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และส่งเสริมการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ยังมีการศึกษาในสัตว์ทดลองเพิ่มเติมว่า มะระขี้นกอาจลดระดับไตรกลีเซอไรด์และ LDL ที่เป็นคอเลสเตอรอลไม่ดีได้ แต่ข้อสรุปนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อสรุป
-
Cardamom
Cardamom หรือ กระวาน บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นราชินีแห่งเครื่องเทศ ถูกนำมาใช้ทำยาอายุรเวทตั้งแต่โบราณ การวิจัยชี้ให้เห็นว่าผงกระวานช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ ยังมีหลักฐานว่า การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากกระวาน ช่วยเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนเข้าสู่ปอดระหว่างการออกกำลังกายได้อีกด้วย ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น นอกจากนี้การวิจัยในสัตว์ทดลองยังชี้ให้เห็นว่า กระวานอาจช่วยป้องกันแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และช่วยลดขนาดของแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างน้อย 50% หรือสามารถรักษาให้หายขาดได้อีกด้วย
-
Gotu kola
Gotu kola หรือ ใบบัวบก หรือ สมุนไพรแห่งการมีอายุยืนยาว เป็นพืชที่ไม่มีรสและไม่มีกลิ่น มีสีเขียว รูปพัด ที่เจริญเติบโตในสภาวะที่มีความชื้นสูง เช่น ริมน้ำ การศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีใบบัวบก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ ในการศึกษาหนึ่ง พบว่าคนที่เป็นโรควิตกกังวล มีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าน้อยลง หลังจากเปลี่ยนจากการใช้ยาแก้ซึมเศร้า มาเป็นการบริโภคสารสกัดจากใบบัวบก เป็นระยะเวลา 60 วัน
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าใบบัวบกอาจช่วยป้องกันรอยแตกลายลดเส้นเลือดขอดช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและลดอาการของกลากและโรคสะเก็ดเงิน
ความน่าเชื่อถือของ Ayurvedic
หากเราพูดในเรื่องอายุรเวทศาสตร์หลานคนอาจจะมีความแคลงใจว่ามันสามารถเชื่อถือได้หรือเปล่าทว่าอายุรเวทไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบการแพทย์แผนอินเดียเท่านั้นแต่ยังเป็นระบบการดูแลสุขภาพตามธรรมชาติอีกด้วยเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมมาเป็นเวลาหลายศตวรรษในปัจจุบันนั้นอายุรเวทถูกนำมาประยุกต์บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันโดยมีจุดมุ่งหมายตามหลักของวิทยาศาสตร์อายุรเวทคือการบรรลุการมีสุขภาพดีแบบสมบูรณ์โดยการสร้างสมดุลระหว่างร่างกายมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
อายุรเวทยังเป็นที่รู้จักกันในนามศาสตร์แห่งการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มันถูกสร้างขึ้นบนสมมติฐานในสมัยก่อนที่ว่า มนุษย์เคยอาศัยอยู่ใกล้กับธรรมชาติ และเมื่อใดก็ตามที่มนุษย์สัมผัสกับโรค มนุษย์ก็เคยรักษาตัวเองโดยใช้ทรัพยากรที่ธรรมชาติจัดสรรให้ ดังนั้นจึงไม่ผิดที่จะบอกว่า อายุรเวทคือการรักษาสุขภาพคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปรัชญาเวทเชื่อว่ามนุษย์ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์และพืช ที่ต่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความเท่าเทียมและความสมดุลภายใน การเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นพร้อมกันของธรรมชาติและมนุษย์จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากโลกปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น พวกเราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา รวมไปถึงการเปลี่ยนในด้านวิถีชีวิต อาหาร การงาน อารมณ์ และความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ ฉะนั้นเราสามารถพูดได้อีกแง่ว่าอายุรเวท นั้นมีอุดมการณ์ทางด้านปรัชญา แต่มีวิธีการทางด้านวิทยาศาตร์ เนื่องจากข้อสรุปทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงนี้สามารถเชื่อถือ และพิสูจน์ได้
สรุป
เราสามารถสรุปได้เลยว่า Ayurvedic หรืออายุรเวทศาสตร์ เป็นศาสตร์การแพทย์แผนโบราณที่น่าสนใจอย่างมาก มีประวัติร่วมนับพันปี และในปัจจุบันก็ถูกนำมาประยุกต์ให้เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ โดยการรักษาตามหลัก Ayurvedic ที่สำคัญก็คือ การใช้สมุนไพรเข้ามาช่วย ซึ่งสมุนไพรทุกตัวนั้นได้รับการวิจัยอย่างถี่ถ้วนว่า ช่วยในเรื่องการรักษาสุขภาพจริง ฉะนั้นหากใครสนใจก็สามารถเลือก Ayurvedic ในการบำรุงสุขภาพได้
อ้างอิง
Alina Petre. 2019. 12 Powerful Ayurvedic Herbs and Spices with Health Benefits. Available at: https://www.healthline.com/nutrition/ayurvedic-herbs#35.-Triphala
Dabur. 2019. Ayurveda Available at: https://www.dabur.com/amp/in/en-us/about/science-of- ayurveda
Katey Davidson. 2020. What Are the Ayurveda Doshas? Vata, Kapha, and Pitta Explained
Available at: https://www.healthline.com/nutrition/vata-dosha-pitta-dosha-kapha-dosha