วิตามินดีคือวิตามินที่ใครหลายคนยังคงสงสัยว่ารับประทานไปทำไมแล้ววิตามินดีเกี่ยวข้องอะไรกับร่างกายเราจริงๆแล้ววิตามินดีมีความสำคัญไม่ต่างอะไรไปจากวิตามินชนิดอื่นๆเลยฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับวิตามินที่ถูกลืมตัวนี้กัน วิตามินดีคืออะไร วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีความสำคัญกับร่างกายของเรามาก โดยเฉพาะกระดูกทุกส่วน เพราะเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ที่จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหน้าที่อีกอย่างก็คือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ที่เป็นสาเหตุทำให้กระดูกสลาย เปราะบางลง ซึ่งภาวะกระดูกสลายหรือเปราะบางพบมากในหมู่วัยทำงาน โดนเฉพาะอาชีพพนักงานออฟฟิศ การวิจัยตีพิมพ์ในปี 2015 จาก Bangkok Medical Journal ได้เปิดเผยข้อมูลให้ทราบว่ากว่า 36.5 เปอร์เซ็นของพนักงานออฟฟิศมีความเสี่ยงขาดวิตามินดี ซึ่งการขาดวิตามินก็ส่งผลไปในเรื่องของการเดินเหิน การปวดร้าวกระดูกในอนาคต หลายคนคงคิดว่าถ้าอย่างนั้น…ก็ค่อยไปรับประทานตอนแก่ก็ได้ ความคิดเหล่านี้เป็นความคิดที่ผิด เนื่องจากการทำงานของกระดูกเกิดขึ้นตั้งแต่เราเกิดจนถึงแก่ ทำให้ความต้องการวิตามินดีเกิดขึ้นตลอดเวลา นอกจากวิตามินดีจะเกี่ยวข้องกับกระดูกแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับระบบอื่น ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจาก T cell and B cell ในระบบภูมิคุ้มกันมนุษย์มีตัวรับวิตามินดีอยู่ หรือ Vitamin D Receptor ที่เป็นเหมือนเชื้อเพลิงทำให้ T cell และ B cell ทำงานอย่างคล่องแคล่ว ช่วยดักจับไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมที่เล็ดลอดเข้ามาในร่างกายของเรา ถ้าพูดง่าย ๆ เลย เรียกได้ว่าวิตามินดีนี้แหละคือน้ำมันดีเซลพรีเมี่ยม […]
Author Archives: admin
วิตามินซีคือหนึ่งวิตามินที่เรามักจะเห็นได้บ่อยตามท้องตลาด โดยมากจะเรียกย่อ ๆ ว่า Vit-C ใครที่เป็นหวัดบ่อย นี่สัญญาณเตือนเลยก็คือคุณกำลังขาดวิตามินซี รีบรับประทานอย่างเร่งด่วน ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักเจ้าวิตามินชนิดนี้กันอย่างลึกซึ้งเลย ทำไมต้องเป็นวิตามินซี วิตามินซีเป็นวิตามินที่ใครๆก็คุ้นหน้าคุ้นตามีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “กรดแอสคอร์บิก” จัดเป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ นั่นหมายความว่าหากเรารับประทานเข้าไป ก็จะสามารถละลายและถูกดูดซึมไปใช้ได้เลย ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ ฉะนั้นเราต้องหารับประทานเองภายนอก จากผัก เช่น พริกหวาน ที่มีวิตามินซี 80.4 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และบล็อกโคลีที่มีวิตามินซีสูงมากถึง 89.2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และจากผลไม้ เช่น ผลไม้ตระกูลส้มที่มีวิตามินซี 53.2 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ยิ่งไปกว่านั้นมะขามป้อมบ้าน ๆ ที่เรารู้จักกันมีวิตามินเป็นองค์ประกอบสูงกว่าผักและผลไม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งสูงมากถึง 276 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม แต่เนื่องจากวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป การพึ่งวิตามินซีจากธรรมชาติไม่ค่อยจะเพียงพอนัก จึงได้ถือกำเนิดอาหารเสริมวิตามินขึ้นมา วิธีการง่าย ๆ เลยก็คือสกัดวิตามินชนิดนั้น ๆ อย่างเข้มข้นแล้วเอามารวมไว้ในแคปซูลเดียว วิธีการรับประทานก็มีหลากหลาย […]
UC-II คือ คอลลาเจนชนิดที่ 2 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Undenatured Collagen Type II ถ้าแปลตามตัวจะหมายถึงคอลลาเจนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างชนิดที่ 2 นั่นเอง ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยว่าจริง ๆ คืออะไรกันแน่ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ UC-II กัน UC-II คืออะไร ในปัจจุบันเราสามารถจำแนกคอลลาเจนได้ 2 แบบ คือ UC-II หรือ Undenatured Collagen Type II และ Denatured Collagen Type II เกณฑ์ในการจำแนกนั้นมากจากการผลิต โดยที่ UC-II จะใช้การผลิตที่อุณหภูมิต่ำ ไม่มีการใช้เอนไซม์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้โครงสร้างดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไป แต่กลับกัน Denatured Collagen Type II มีการใช้อุณหภูมิสูง ๆ มาเกี่ยวข้องและใช้เอนไซม์ในการผลิต ทำให้โครงสร้างที่มีอยู่ดั้งเดิมถูกเปลี่ยนแปลงไป UC-II มีลักษณะโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับคอลลาเจนที่ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตได้ โดยมีโครงสร้างแบบ […]
Turmeric หรือ ขมิ้น เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีมาอย่างช้านานในประเทศไทย ลักษณะเด่นคือมีสีเหลืองสด รสชาติจัดจ้าน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ทั่วไปเราก็จะนำมาทำอาหารหรือรับประทานสด ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับขมิ้นให้ดีมากขึ้น ทำไมต้องเป็นขมิ้น ขมิ้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนทั่วไปนิยมปลูกชนิดของขมิ้น 2 ชนิดด้วยกัน คือ ขมิ้นชันและขมิ้นอ้อย ซึ่งลักษณะจะคล้ายคลึงกัน แต่คุณสมบัติหรือสารอาหารแทบไม่ต่างกันเลย มีการบันทึกประวัติศาสตร์การใช้ขมิ้นตั้งแต่โบราณกาลไว้ว่าเกี่ยวข้องกับยาจีนโบราณ อายุรเวทศาสตร์ และพิธีกรรมเกี่ยวกับผี ครั้นเมื่อยุโรปตอนกลางขมิ้นถูกเรียกว่าหญ้าฝรั่นอินเดีย ซึ่งขมิ้นจะเจริญเติบโตได้ในสภาวะร้อนชื้น ต้องมีปริมาณน้ำฝนต่อปีจำนวนมากเพื่อการขยายพันธุ์ โดยทั่วไปขมิ้นที่เราเห็นจะมาในรูปแบบของผงบดละเอียดด้วยกระบวนการทำแห้ง ใช้ในการแต่งสีในอาหารเอเชียหลายชนชาติ เช่น อาหารอินเดียที่นิยมใช้เพื่อดับกลิ่นสาปเนื้อสัตว์ อาหารมาเลย์ที่นิยมคลุกกับข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความรู้สึกเผ็ดร้อนในปาก คล้ายกับพริกไทยดำ ส่วนกลิ่นจะคล้ายกับมัสตาร์ด ในทางโภชนาการนั้นพบว่าขมิ้นมีคาร์โบไฮเดรต 60-70% น้ำ 6-13% ไขมัน 5-10% แร่ธาตุอาหาร 3-7% น้ำมันหอมระเหย 3-7% ไยอาหาร 2-7% และเคอร์คูมินอยด์ 1-6% นอกจากนี้เรายังพบสารที่มีความน่าสนใจในขมิ้นอีกมากมาย คือ Tumerone, Zingerene bissboline, Alpha-phellandrene ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ไปยับยั้งการเกิดกระบวนการ […]
Probiotic คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีที่มนุษย์อย่างเราต้องการ โดยทั่วไปเชื่อว่าเราคงจะได้ยินเกี่ยวกับ Probiotic อยู่แล้ว เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าร่างกายของมนุษย์ต้องการ Probiotic ในการย่อยอาหารและสารชนิดต่าง ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Probiotic กันว่าสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องการแบคทีเรียชนิดนี้กัน Probiotic คืออะไร Probiotic หรือโพรไบโอติก เป็นจุลินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีต่อสุขภาพของเรา เป็นมิตรกับลำไส้ของเรามาก การบริโภค Probiotic ในวงกว้างนั้นมีความปลอดภัยสูง น้อยมากที่ Probiotic จะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา ความน่าสนใจก็คือโพรไบโอติดค้นพบครั้งแรกในโยเกิร์ต ณ ประเทศบัลแกเรีย ซึ่งเป็นสายพันธุ์บาซิลลัสที่มีชื่อว่า Lactobacillus bulgaricus ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1905 โดยแพทย์และนักจุลขีววิทยาชาวบัลแกเรีย ที่ได้สังเกตว่าทำไมเมื่อเราตั้งนมวัวไว้ที่อุณหภูมิสูง ๆ รสชาติและลักษณะจะเปลี่ยนไปอย่างเป็นธรรมชาติ โดยลักษณะของนมวัวที่ตั้งไว้นานจะอยู่ในรูปของ Curd หรือว่าก้อนนม รสชาติที่เปลี่ยนไปคือมีความเปรี้ยวและกลมกล่อม จนทั้งหมดนี้กลายเป็นทฤษฎี Stamen Grigorov ซึ่งเป็นทฤษฎีสมัยใหม่ Élie Metchnikoff คือผู้ที่คิดค้นทฤษฎีที่ยอดเยี่ยมของโยเกิร์ตบัลแกเรียและเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวรัสเซีย ซึ่งเขาได้ตั้งสมมติฐานเมื่อราวปี 1907 ว่าชาวนาบัลแกเรียที่บริโภคโยเกิร์ตมีอายุยืนยาวขึ้น เราจะเห็นได้แล้วว่าโพรไบโอติกเริ่มเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์นานแล้วจนในปัจจุบันมีอาหารหลากหลายประเภทที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกอยู่เมื่อเราได้ยินเกี่ยวโพรไบโอติกคงจะได้ยินกับคำว่าพรีไบโอติกหรือ Prebiotic จริง […]
Melatonin (เมลาโทนิน) คือตัวช่วยที่ทำให้คนนอนไม่หลับได้พบกับทางออก เป็นนาฬิกาชีวิต เชื่อว่าใครหลายคนคงเคยได้ยินสารขนิดนี้ โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวที่มีความเครียดสะสมจนขาดเมทาโลนินในร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อเมลาโทนินได้ง่ายมาก ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยา ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาดูความสำคัญของเมลาโทนินกัน เมลาโทนินคืออะไร Melatonin สร้างจากต่อมไพเนียลที่อยู่ในสมอง เป็นฮอร์โมนชนิดนึงที่ปล่อยออกมาตอนกลางคืน จะเกี่ยวข้องกับการนอนหลับและการตื่นนอน โดยเมลาโทนินจะหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดของเราเป็นเวลา 12 ชั่วโมงแล้วจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและเวลา 9 โมงเช้า พบว่าระดับเมลาโทนินในเลือดต่ำมากจนไม่สามารถวัดค่าได้เลย ส่วนเวลาเที่ยงคืนถึง 8 โมงเช้า ระดับเมลาโทนินในเลือดจะสูงมาก ซึ่งจุดประสงค์การใช้เมลาโทนินก็เพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับในระยะสั้น เช่น อาการ Jet lag จากการเดินทางต่างประเทศหรือการทำงานเป็นกะที่ทำให้เวลาการนอนไม่แน่นอน ในสหภาพยุโรปมีการระบุการใช้เมลาโทนินไว้รักษาอาการนอนไม่หลับในเด็กอายุ 2-18 ปีที่มีอาการออทิสติกและกลุ่มอาการสมิธมาเจนิสซินโดรม ซึ่งเป็นความพิการทางสติปัญญาอย่างนึง ในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เดิมทีจะใช้ยาที่มีชื่อว่า Clonazepam แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นเมลาโทนินเนื่องจากปลอดภัยกว่า ให้ผลกระทบที่น้อยกว่า เมลาโทนินยังถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพและเป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดีบางครั้งก็จะทำงานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระประเภทอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นโดยให้ผลที่ดีกว่าวิตามินอีถึง 2 เท่า เพราะช่วยส่งเสริมเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระได้ เช่น กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส คาตาเลส และดิสมิวเตส เมลาโทนินจะเกิดขึ้นเมื่อของเหลวภายในไมโทคอนเดรียสูง ส่งผลให้ความเข้มข้นของพลาสมาในเมลาโทนินสูงตามไปด้วย จากนั้นจะเกิดปฏิกิริยาเมลาโทนินกับสปีชีส์ออกซิเจนหรือสปีชีส์ไนโตรเจน ทำให้ลดอนุมูลอิสระ ลดปฏิกิริยารีด็อกซ์ ทำให้เราหลับสบายขึ้นนั่นเอง […]
Immune หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Immune system คือระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยทำให้ร่างกายของเราไม่เจ็บป่วย ซึ่งมีความสำคัญต่อร่างกายเรามาก ๆ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Immune system กัน ว่าทำไมร่างกายของมนุษย์ถึงต้องมี Immune system คืออะไร ในทางชีววิทยาให้คำนิยามไว้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกตัวบนโลกต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อดำรงอยู่และสืบเผ่าพันธุ์ โดยธรรมชาติระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถรับรู้ได้เลยว่าสิ่งแปลกปลอมแบบไหนเข้ามาในร่างกาย แล้วจะทำการตอบสนองโดยการทำลายสิ่งแปลกปลอมนั้นทันที สิ่งแปลกปลอมที่ว่าก็จำพวกเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ ที่เล็ดลอดเข้ามาผ่านทางช่องปาก รูจมูก ตา หรือว่าทางผิวหนัง ซึ่งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นโดยการส่งเม็ดเลือดขาวไปต่อสู้กับเชื้อโรค เม็ดเลือดขาวก็จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ B-cell และ T-cell หลังจากทำลายเสร็จแล้ว หน่วยความจำจะทำงานแล้วจดจำเชื้อโรคตัวนั้นไว้ เราจะสังเกตได้ว่าหากเราเป็นอีสุกอีใสแล้ว เราจะไม่เป็นอีก เนื่องจากสมองและระบบภูมิคุ้มกันของเราจดจำเชื้อโรคอีสุกอีใสไว้แล้ว เมื่อเราได้รับเชื้ออีกในอนาคต เราจะไม่ป่วยซ้ำ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่ปรับตัวและออกมาทำลายเชื้ออีสุกอีใสเอง เซลล์เม็ดเลือดขาวคือคีย์หลักของระบบภูมิคุ้มกันจำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายของเราสามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้เลยว่าร่างกายของเราแข็งแรงเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นมีความต่างจากเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยสิ้นเชิงถึงแม้ว่าลักษณะจะคล้ายกันนอกเหนือจากเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้ว Antibody คือสิ่งที่ช่วยต่อต้านศัตรูของร่างกายอมนุษย์เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะต่อต้านจำพวกสารพิษและแบคทีเรีย การทำงานก็คือเมื่อเจอพวกสิ่งแปลกปลอมแล้ว Antigen จะกระตุ้นให้ Antibody เข้ามาทำลายสิ่งแปลกปลอม เมื่อ Antigen […]
Green tea หรือ ชาเขียว คือชาชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันทั่วไปอยู่แล้ว โดยปกติการดื่มก็จะชงกับน้ำร้อนจัด กลายเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่ใครหลาย ๆ คนชื่นชอบ หรือบางครั้งก็นิยมใส่ไซรัปไรหรือนมสดลงไปด้วย เพื่อความหลากหลายในการดื่ม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับชาเขียวให้ดีขึ้นกว่าเดิม ว่าจริง ๆ แล้วมันคือชาอะไรกันแน่ ชาเขียวทำมาจากอะไร การแปรรูปชาเชียวนั้นมีมาอย่างช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มต้นจากประเทศญี่ปุ่นและจีนที่นิยมดื่มชาเขียวพร้อมขนมรสหวานจัด วิธีการผลิตนั้นมาจากใบชาสดมาผ่านไอน้ำหรืออบด้วยความร้อน เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในใบชาเขียว เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยา browning reaction ซึ่งปฏิกิริยานี้จะทำให้ใบชามีสีน้ำตาล จากนั้นก็พาไปทำแห้ง ซึ่งใบชาที่ได้ก็จะมีสีเขียวตามต้องการ ซึ่งระดับของสีชาเขียวก็ใช้เป็นตัวจำแนกแบ่งชาเขียวเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น ชาเขียว Konacha ที่มีสีเขียวเข้ม มีกลิ่นที่หอมหวาน นิยมชงในงานพิธีกรรม ชาเขียว Oujicha ที่เป็นชาเขียวคั่วที่มีสีน้ำตาลอมเขียวเข้ม มีรสชาติเข้มข้นที่สุดในบรรดาชาเขียว ชาเขียว Matcha หรือที่รู้จักกันดีในมัทฉะ มีสีเขียวอ่อน มีกลิ่นที่สดชื่น นิยมใช้เป็นส่วนผสมของขนมหวาน และเป็นชาที่ใช้ในการพิธีชงชาของญี่ปุ่น เป็นต้น ความเข้าใจผิดของหลายคนคิดว่าชาเขียวต้องเก็บมาจากต้นชาเขียวแน่นอนทว่าจะพูดแบบนั้นก็ไม่ผิดซะทีเดียวเพราะชาเขียวชาขาวชาดำหรือชาอู่หลงล้วนเก็บมาจากต้นชาชนิดเดียวกันซึ่งเป็นพืชชนิด Camellia sinensis แต่สาเหตุที่ทำให้รสชาติ กลิ่น ต่างกันออกไปคือการหมักและการแปรรูป ในปัจจุบันมี 2 ประเทศใหญ่ […]
กิงโกะ (Ginkgo Biloba) คือพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันว่าใบแปะก๊วย ซึ่งในวงการแพทย์แผนโบราณรู้กันดีว่าถูกนำใช้นับหมื่นปี นอกจากนี้ยังสามารถเอามารับประทานได้อีกด้วย เสมือนผักผลไม้ทั่วไป ฉะนั้นวันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าทำไมกิงโก๊ะหรือใบแปะก๊วยจึงเป็นที่แพร่หลายกัน กิงโกะหรือแปะก๊วยมีดีที่อะไร ถ้าหากเราจะพูดถึงกิงโกะหรือแปะก๊วยจริงๆก็ควรพูดถึงที่มาก่อนว่ามาจากไหนถิ่นกำเนิดของพืชสมุนไพรชนิดนี้มาจากภูเขาด้านตะวันออกของนครเซี่ยงไฮ้ประเทศจีนจากนั้นก็ได้มีการนำไปเพาะพันธุ์ที่ประเทศญี่ปุ่นโดยมีความสัมพันธ์ของศาสนา 2 ประเทศมาเกี่ยวข้อง ลักษณะเด่น ๆ ที่กิงโก๊ะคือมีใบมี 2 แฉก คล้ายใบพัดโบราณ อีกทั้งยังมีการแยกต้นผู้ ต้นเมียออกจากกันด้วย แต่ถ้าเราย้อนกลับไปอีกพบว่ากิงโก๊ะอยู่มานานก่อนที่มนุษย์จะค้บเจอซะอีก สันนิษฐานกันว่ามีอายุถึง 270 ล้านปีเลยทีเดียว ซึ่งเป็นยุคเดียวที่ไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้ องค์ประกอบทางเคมีของกิงโกะมีความน่าสนใจอย่างมากสามารถแบ่งย่อยได้สารที่ค้นพบเป็น 2 กลุ่ม คือ Terpenoids ที่สามารถแยกย่อยลงไปอีก คือ Ginkgolide และ Bilobalide และ Flovonoids ที่เป็นสารจำพวก Steroide ซึ่งสารจำพวก Steroide สามารถพบได้ในฮอร์โมนของมนุษย์ โดยปกติแล้วร่างกายจะสามารถสังเคราะห์ได้เอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดของร่างกาย ฉะนั้นเราจะสังเกตได้ง่าย ๆ เลยว่าเมื่อผู้สูงอายุที่แก่ขึ้น แพทย์จะแนะนำให้รับประทานกิงโก๊ะ ก็เพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อกระดูก จำเป็นต้องกินอาหารสเตียรอยด์ธรรมชาติภายนอก เนื่องจากพอแก่ตัวไป ระบบการสังเคราะห์จะค่อย ๆ เสื่อมลง กิงโกะหรือแปะก๊วยช่วยอะไร […]
Enzyme (เอนไซม์) คือ ชื่อที่เราได้ยินกันมาช้านาน ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือกลุ่มของโปรตีน ที่หน้าที่ทั่วไปคือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพเคมีของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อให้การทำงานในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกถึงเอนไซม์ว่าร่างกายของเราได้อะไรจากการมีน้ำย่อยตัวนี้กันบ้าง เอนไซม์ทำหน้าที่อย่างไร ถ้าเราพูดให้ลึกกว่านี้ต้องพูดว่าเอนไซม์คือตัว peptide มาต่อกันเป็นสายยาว ๆ จนกลายเป็น polypeptide ม้วนขดกันเป็นเกลียว ซึ่งจะอยู่ในรูปของกรดอะมิโนที่อนุพันธุ์ย่อยของโปรตีน เรียกได้ว่าเอนไซม์มีความซับซ้อนทางโครงสร้างเคมีเลยทีเดียว กลุ่มของเอนไซม์สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีสารประกอบอื่นผสมอยู่ เช่น ไอออนโลหะ เรียกว่า Holoenzyme และเอนไซม์ที่มีสารประกอบอินทรีย์อยู่ จะเรียกว่า Coenzyme เอนไซม์จะทำงานได้โดยต้องมีตัวช่วยเท่านั้น ซึ่งตัวช่วยจะถูกเรียกว่า Cofactor เป็นจำพวกเกลือแร่จำเป็นที่ร่างกายของเราต้องการ เอนไซม์แต่ละชนิดจะมีหน้าที่เฉพาะตัว เช่น เอนไซม์ที่ใช้ย่อยแป้ง เอนไซม์ที่ใช้ย่อยไขมัน และเอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีน แบ่งตามชนิดอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เมื่ออาหารถูกส่งเข้ามาในร่างกายของเราเอนไซม์จะออกมาจากสถานที่กักเก็บไม่ว่าจะเป็นที่ตับกระเพาะหรือลำไส้เล็กพร้อมกับเหล่าเกลือแร่ในร่างกายร่างกายของเราประกอบไปด้วยเซลล์ขนาดเล็กหลายล้านเซลล์เอนไซม์จะไปย่อยอาหารให้อยู่ในอนุภาคของไอออนซึ่งเล็กมากๆทำให้สารอาหารเหล่านี้สามารถซึมผ่านเซลล์ในร่างกายได้ถ้าหากเอนไซม์ไม่สามารถทำให้อาหารเล็กเป็นอนุภาคไอออนได้การดูดซึมและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจะไม่เกิดขึ้นผลที่ตามมาคือร่างกายเกิดภาวะเสื่อมภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่เชื้อโรคไวรัสหรือจุลินทรีย์ที่ไม่ดีต่อร่างกายจะเข้ามาได้ง่ายไม่มีการดักจับเหล่าพวกนี้ร่างกายของเราก็จะป่วยทันทีฉะนั้นหากเราต้องการให้ร่างกายผลิตเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพก็ต้องรับประทานจำพวกเกลือแร่นั่นเอง Cofactor ก็มีส่วนที่ทำให้เอนไซม์ได้ทำงานดีขึ้น เปรียบเสมือนเชื้อเพลิง cofactor จะอยู่ในรูปของไอออน เช่น เหล็กไอออน แมงกานีสไอออน แมกนีเซียมไอออน เป็นต้น หรือบางครั้งที่ไม่มีสารเคมีไอออนจำพวกนี้ ร่างกายดึงวิตามิน […]