Author Archives: admin

zinc หรือ สังกะสี คืออะไร

สังกะสี

Zinc นั้นมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าสังกะสี ซึ่งแน่นอนว่ามันมีความสำคัญอย่างมากแก่ร่างกายของเรา จนทำให้ Zinc ถูกจัดมาเป็นอาหารเสริม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับแร่ธาตุชนิดนี้ มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการและเพราะอะไรมนุษย์ถึงขาดไม่ได้  Zinc คืออะไร  Zinc หรือมีชื่อเรียกว่าสังกะสี คือ แร่ธาตุที่จำเป็น ซึ่งสังกะสีที่เรากำลังหมายถึงไม่ได้เป็นธาตุทางเคมี สองตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก ดังนั้นจึงหมายความว่าร่างกายของเราไม่สามารถผลิตหรือเก็บรักษาไว้ได้ ด้วยเหตุผลนี้เราจึงต้องได้รับสารอาหารสังกะสีอย่างสม่ำเสมอ สังกะสีจำเป็นสำหรับกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การแสดงออกของยีน ปฏิกิริยาของเอนไซม์ ฟังก์ชั่นภูมิคุ้มกัน การสังเคราะห์โปรตีน การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ การรักษาบาดแผล การเติบโตและการพัฒนา สังกะสีพบได้ตามธรรมชาติ ในอาหารจากพืชและเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด เช่น หอยนางรม ที่อุดมไปด้วยสังกะสีถึง 75 มิลลิกรัมของน้ำหนักหอยนางรม 100 กรัม ตับที่มีสังกะสี 12 มิลลิกรัมของน้ำหนัก 100 กรัม และอาหารทานเล่นอย่างเมล็ดแตงโม ที่มีสังกะสีมากถึง 10 มิลลิกรัมจาก 100 กรัม เป็นต้น ส่วนอาหารที่ไม่มีแร่ธาตุสังกะสีตามธรรมชาติ เช่น ซีเรียลอาหารเช้า สแน็คบาร์ […]

วิตามิน บี12

วิตามินบี12

text Vitamin B12 เป็นวิตามินที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่แล้ว สามารถพบเจอได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตามสื่อออนไลน์ หรือโฆษณาทางโทรศัพท์ ก็จะมีการพูดถึงวิตามินบี 12 อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นวิตามินจำเป็น ที่ร่างกายของเราต้องการเป็นอย่างมาก ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับวิตามินบี 12 กัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราต้องการวิตามินตัวนี้  ทำไมต้องเป็นวิตามินบี 12 วิตามินบี 12 มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าโคาลามิน ในด้านเคมีนั้นวิตามินบี 12 มีโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อนอย่างมาก การสังเคราะห์วิตามินบี 12 ครั้งแรกเกิดขึ้นในห้องในปี 1972 โดยนักเคมีชาวเยอรมัน ซึ่งการสังเคราะห์ครั้งแรกทำได้โดยไม่ค่อนสมบูรณ์นัก เนื่องจากสามารถสังเคราะห์ออกมาได้น้อย แต่ทว่าหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาการสังเคราะห์มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นการสังเคราะห์ออกมาในระดับอุตสาหกรรม เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารเสริม โดยเราสามารถพบวิตามินบี 12 ได้ตามธรรมชาติจากเนื้อสัตว์ เป็นวิตามินที่สามารถละลายน้ำได้ จำเป็นอย่างมากในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและ DNA นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นหลักในการทำงานและการพัฒนาของเซลล์สมองและประสาท การทำงานของวิตามินบี 12 จะเริ่มขึ้น เมื่อเราบริโภคเข้าแล้ววิตามินบี 12 จะจับกับโปรตีนที่อยู่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในกระเพาะอาหาร กรดไฮโดรคลอริกและเอ็นไซม์จะแยกวิตามินบี 12 ให้อยู่ในรูปแบบอิสระ จากนั้นวิตามินบี 12 จะรวมกับโปรตีน แล้วย่อยโมเลกุลตัวเองให้เล็กลงเพื่อให้สามารถดูดซึมต่อไปในลำไส้เล็กได้ […]

Multivitamin

มัลติวิตามิน

การรับประทานวิตามินในปัจจุบัน กลายเป็นสิ่งที่ใครหลาย ๆ คนทำกัน เนื่องจากการดูแลสุขภาพ กลายมาเป็นเทรนของโลกปัจจุบัน ฉะนั้นการบริโภค Multivitamin คือทางลัด ที่ทำให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินเพิ่มขึ้นไปอีก ไม่ใช่แค่วิตามินอย่างใดอย่างนึง ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Multivitamin กันว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร แล้วทำไมใครหลาย ๆ คนจึงเลือกรับประทาน Multivitamin  Multivitamin คืออะไร  Multivitamin มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าวิตามินรวม ที่เป็นอาหารเสริมประจำวัน ใคร ๆ ก็สามารถบริโภคได้ ส่วนมากก็จะถูกบรรจุในรูปของแคปซูล ผง น้ำ หรือว่าสารที่ใช้ฉีดเข้าร่างกาย ซึ่งองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ Codex Alimentarius Commission ได้จัด multivitamin ไว้เป็นจำพวกของอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งส่วนผสมของ Multivitamin นั้นมีเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี, B1, B2, B3, B5, B6, B7, B9, B12, A, […]

Lutein

ลูทีน

Lutein หรือ ลูทีน คือสารอาหารจำพวกหนึ่ง ที่สามารถให้สีได้ หลายคนอาจจะมองข้ามว่าไม่ได้มีความสำคัญอะไรมากมายกับร่างกายของเรา ทว่าลูทีนนั้นมีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารให้สี ที่มีชื่อว่าลูทีนกัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายมนุษย์ต้องพึ่งพาสารชนิดนี้  Lutein คืออะไร  Lutein หรือ ลูทีน คือสารจำพวก antioxidants ที่อยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์และแซนโทฟิลล์ ซึ่งจะเจอเยอะมากในพืชจำพวกใบเขียวหรือผัก เช่น ผักโขม คะน้า และแครอทสีเหลือง ในพืชสีเขียว ลูทีนจะถูกสังเคราะห์และพบได้ที่พืชเท่านั้น ในสัตว์ทุกชนิดบนโลก ไม่สามารถสังเคราห์ลูทีนได้ เช่นเดียวกับแซนโทฟิลล์อื่น ๆ เช่น แอนโทไซยานิน สารที่ให้สีม่วง โดยปกติแล้วแซนโทฟิลล์จะทำหน้าที่ปรับพลังงานแสงแดดและทำหน้าที่เป็นสารช่วยลดแสงแบบไม่ใช้โฟโตเคมี เพื่อจัดการกับคลอโรฟิลล์ กระบวนนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการได้รับแสงแดดที่มากเกินปกติ ในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สัตว์ทั่วไป รวมถึงมนุษย์ ได้รับลูทีนจากการกินพืช ความน่าสนใจก็คือลูทีนมีอยู่มากในเรตินา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตา ในเรตินาของมนุษย์นั้นลูทีนจะถูกดูดซึมจากเลือดไปยังมาจอประสาทตา  ลูทีนที่มีอยู่ในพืชจะอยู่ในรูปของเอสเทอร์ของกรดไขมันโดยมีกรดไขมันหนึ่งหรือสองตัวจับกับกลุ่มไฮดรอกซิลสองกลุ่มทำให้นอกเหนือจากการบริโภคแล้วหากเราเอาลูทีนมาทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยการผสมกับด่างแล้วเกิดเป็นปฏิกิริยา Saponification ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือกลีเซอรอลและกรดไขมัน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการทำสบู่อีกด้วย ในอุตสาหกรรมอาหาร มีการนำสกัดลูทีนให้เป็นสารให้สี ซึ่งจะให้เฉดสีของเหลือไปจนถึงแดง ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ที่กำลังบริโภค มีการเขียนข้างกล่องว่ามีส่วนผสมของลูทีน และสีของผลิตภัณฑ์เป็นสีเหลือง แสดงว่าปริมาณความเข้มข้นของลูทีนต่ำ แต่ถ้าหากเป็นสีส้มแดง แสดงว่าปริมาณความเข้มข้นของลูทีนสูง […]

Glucosamine

กลูโคซามีน

Glucosamine หรือ กลูโคซามีน เป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปของน้ำตาล ซึ่งมนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากกลูโคซามีนมากมาย หลายคนอาจจะงงว่าตกลงแล้ว การบริโภคน้ำตาลนั้นดีหรือไม่ดี แล้วทำไมน้ำตาลอย่างกลูโคซามีน ถึงสามารถให้ประโยชน์เราได้ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับน้ำตาลชนิดนี้กัน  Glucosamine คืออะไร  กลูโคซามีน คือน้ำตาลอะมิโนและเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการสังเคราะห์ทางชีวเคมีของโปรตีนและไขมันไกลโคซิเลต กลูโคซามีนเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพอลิแซ็กคาไรด์สองชนิดหรือน้ำตาลที่มีหลายโมเลกุล ได้แก่ ไคโตซานและไคติน ซึ่งกลูโคซามีนเป็นหนึ่งส่วนประกอบสายพอลิแซ็กคาไรด์ ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ที่มีจำนวนมากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วการได้มาซึ่งกลูโคซามีน ที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตเชิงพาณิชย์หรือจัดจำหน่าย จะผลิตด้วยวิธีการทางเคมีที่เรียกว่าไฮโดรไลซิส หรือ การหมักเมล็ดพืช เช่น การหมักข้าวโพดหรือข้าวสาลี หรือได้มาจากการแปรรูปไคตินจากเปลือกหอย กุ้ง และปู แต่ในปัจจุบันการผลิตกลูโคซามีนจากเปลือกสัตว์ทะเลนั้นไม่เป็นที่ยอมรับเท่าที่ควร เนื่องจากผู้ที่เป็นมังสวิรัติไม่สามารถบริโภคได้ ผู้ผลิตจึงได้นำผลิตภัณฑ์กลูโคซามีนที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergillus จำหน่ายบนท้องตลาดแทน  กลูโคซามีนมีหลายชื่อซึ่งล้วนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศว่าจะตั้งชื่อของน้ำตาลชนิดนี้ว่าอะไรมนุษย์อย่างเรานั้นไม่สามารถสังเคราะห์กลูโคซามีนได้ฉะนั้นกลูโคซามีนจึงเป็นอาหารเสริมและไม่ใช่ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์กลูโคซามีนมีหน้าที่ในการสนับสนุนโครงสร้างและหน้าที่ของข้อต่อในทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะมีการสั่งให้บริโภคกลูโคซามีนมากกว่าคนปกติ  รูปแบบของกลูโคซามีนที่อยู่ในอาหารเสริมได้แก่กลูโคซามีนซัลเฟต, กลูโคซามีน คอนโดอิติน, กลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์, และ N-อะเซทิลกลูโคซามีน ซึ่งพบว่ามีเพียงกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้นที่ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม กลูโคซามีนในอาหารเสริม มักจะไม่ใช่กลูโคซามีนเดี่ยว ๆ แต่จะถูกใส่มาร่วมกับสารอาหารประเภทอื่นด้วย เช่น คอนดรอยตินซัลเฟตและเมทิลซัลโฟนิลมีเทน ประโยชน์ของ Glucosamine  เป็นที่รู้กันว่ากลูโคซามีนมีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย และมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้อีกด้วย ฉะนั้นเรามาดูถึงประโยชน์ของกลูโคซามีนกันดีกว่า […]

DHEA

ดีเอขอีเอ

DHEA หรือ Dehydroepiandrosterone Sulfate หรือฮอร์โมนดีเอชอีเอ ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ชาย เรียกได้ว่าเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศชายเลยก็ว่าได้ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ DHEA กันว่าเพราะอะไรร่างกายของเราต้องการ และจริง ๆ แล้วฮอร์โมนชนิดนี้มาจากไหนกันแน่  DHEA คืออะไร Dehydroepiandrosterone หรือ DHEA หรือที่เรียกว่า androstenolone เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนสเตียรอยด์ภายในร่างกาย เป็นหนึ่งในสเตียรอยด์ที่หมุนเวียนมากที่สุดในมนุษย์ หมายความว่าฮอร์โมนชนิดนี้อยู่ในทุกที่ของร่างกาย DHEA ผลิตขึ้นที่ต่อมหมวกไต อวัยวะสืบพันธุ์ และสมอง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กระบวนการเผาผลาญเมแทบอลิซึม ในการสังเคราะห์ทางชีวสังเคราะห์ของฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนและเอสโตรเจน ทั้งในอวัยวะสืบพันธุ์และในเนื้อเยื่ออื่น ๆ อย่างไรก็ตาม DHEA ยังมีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย โดยพบว่า DHEA มีความเชื่อมโยงกับการรับอิเล็กตรอนกับพื้นผิวเซลล์ และทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทและตัวควบสัญญาณของระบบประสาท ในสหรัฐอเมริกานั้น DHEA ถูกผลิตเป็นอาหารเสริมและจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ร้านยาอย่างแพร่หลาย และโดยส่วนใหญ่คนจะรู้จักกันในชื่อของพราสเตอโรน  DHEA เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอะไรบ้าง  – ฮอร์โมน Androgen  DHEA และ Androgen มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก โดยถูกผลิตที่ต่อมหมวกไต […]

Curcumin หรือ ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

Curcumin เป็นสารในกลุ่มของเคอร์คูมินอยด์ ที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก เพราะมันสกัดมาจากขมิ้น ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนมองข้าม ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Curcumin กัน เพราะอะไรทำไมต้องมีการสกัดอย่างเข้มข้นออกมา  Curcumin คืออะไร  ก่อนอื่นเราต้องมาย้อนดูประวัติของสารชนิดนี้กันก่อน เนื่องจากความน่าสนใจอย่างมาก Curcumin หรือเคอร์คูมิน ได้รับการตั้งชื่อในปี 1815 เมื่อ Vogel และ Pierre Joseph Pelletier ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส รายงานการแยก “สารสีเหลือง” ออกจากเหง้าขมิ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาพบว่าเป็นส่วนผสมของเรซินและน้ำมันขมิ้นชันในปี 1910 Milobedzka และ Lampe นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ก็ได้รายงานโครงสร้างทางเคมีของ curcumin ว่าเป็น diferuloylmethane ต่อมาในปี 1913 การสังเคราะห์สารประกอบของ Curcumin ก็ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากินเวลามาเกือบ 100 ปีเลยทีเดียว  Curcumin เป็นสารเคมีสีเหลืองที่ผลิตโดยพืชในสายพันธุ์ Curcuma longa เป็นเคอร์คูมินอยด์หลักของขมิ้น หรือ Curcuma longa […]

คอลลาเจน

คอลลาเจน

Collagen หรือ คอลลาเจน เป็นสารชนิดหนึ่ง ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันมานานมาก เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งสิ่งแรกที่คนทั่วไปนึกถึงคอลลาเจน ก็คือการบำรุงผิว ทว่าคอลลามีประโยชน์มากกว่านั้น และมีความสำคัญอย่างมากกับร่างกายของเรา ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้กัน  คอลลาเจนคืออะไร  หลายคนคงจะมีคำถามในหัวว่า คอลลาเจนมันคืออะไรกันแน่ เนื่องจากในปัจจุบันมีอาหารเสริมคอลลาเจนขายมากมาย จนทำให้หลาย ๆ คนคิดว่าคอลลาเจนบำรุงผิว หากต้องการให้ผิวสวยต้องรับประทานคอลลาเจน ซึ่งข้อเท็จจริงข้อนี้ ไม่ได้ผิดแต่อย่างใด ทว่ามันยังไม่ใช่ทั้งหมดของคอลลาเจน จริง ๆ แล้วคอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักในเซลล์ ที่พบได้ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คอลลาเจนจึงถือว่าเป็นโปรตีน ที่มีมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นั่นรวมไปถึงมนุษย์อย่างเราอีกด้วย ซึ่งคิดเป็น 25% ถึง 35% ของปริมาณโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย คอลลาเจนประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ยึดต่อด้วยกัน เพื่อสร้างเกลียวสามชั้นของไฟบริลที่เป็นสายยาว และเราก็รู้จักกันในชื่อ Collagen Helix มักพบในกระดูกอ่อน กระดูก เส้นเอ็น ข้อเอ็น และผิวหนัง เนื้อเยื่อคอลลาเจนอาจจะไม่ใช่แค่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีลักษณะบางเฉียบและแทรกซึมอยู่ตามเซลล์ต่างๆของร่างกายเท่านั้นแต่อาจจะเป็นของแข็งที่เป็นกระดูกหรือข้อเอ็นในร่างกายมนุษย์ซึ่งในทางการแพทย์นั้นคอลาเจนยังมีระดับของความแข็งอีกด้วยโดยไล่ตั้งแต่เนื่อเยื่อเกี่ยวพันเส้นเอ็นไปจนถึงกระดูกแข็งๆที่เป็นรากฐานของร่างกายคอลลาเจนยังมีอยู่มากในกระจกตาหลอดเลือดลำไส้หมอนรองกระดูกสันหลังและเนื้อฟันในฟันในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อคอลลาเจนทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหลักของ Endomysium ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ที่ใช้ห่อหุ้มกระดูกเอาไว้ ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ พบว่ามีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่ 1 […]

น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าว

Coconut oil หรือน้ำมันมะพร้าว คือหนึ่งในน้ำมันที่เราคุ้นเคยกัน น้ำมันมะพร้าวสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า เนื่องจากประเทศไทยของเราสามารถปลูกมะพร้าวได้ แต่ถ้าต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบประเทศยุโรป การหาซื้อน้ำมันมะพร้าว เรียกได้ว่ายากมาก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับน้ำมันมะพร้าวกัน มาดูกันว่าทำไม มันจึงกลายเป็นสิ่งที่สายรักสุขภาพชอบรับประทาน  น้ำมันมะพร้าวคืออะไร  ความคุ้นหน้าคุ้นตาของน้ำมันมะพร้าว คือการเอามาประกอบอาหาร รวมไปถึงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันมะพร้าว สามารถเรียกอีกอย่างนึงได้ว่าเนยมะพร้าว เป็นน้ำมันที่สามารถบริโภคได้ ซึ่งได้มาจากไส้มะพร้าว เนื้อมะพร้าว และนมมะพร้าว จะมีลักษณะเป็นเป็นไขมันของแข็งสีขาว ละลายได้ที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิที่สูงกว่า 25 °C หรือ 78 °F ในสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในช่วงฤดูร้อน น้ำมันมะพร้าวจะแปรเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำมันเหลวชนิดที่บางและใส ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวนั้น จะแบ่งตามระดับของความบริสุทธิ์ น้ำมันมะพร้าวที่ไม่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์จะมีกลิ่นมะพร้าวที่ชัดเจนมาก มักจะถูกใช้เป็นน้ำมันสำหรับอาหารและในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและการผลิตผงซักฟอก เนื่องจากมีระดับไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งการบริโภคน้ำมันมะพร้าวนั้นค่อนข้างมีความเสี่ยงในระดับนึง หากเราบริโภคมาเกินไป เนื่องจากอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวที่สูง แต่ทว่าการใช้น้ำมันมะพร้าว ก็ยังให้ประโยชน์ที่มากกว่าการใช้น้ำมันพืชธรรมดาทั่วไป  ในการผลิตน้ำมันมะพร้าวเพื่อการบริโภคในอุตสาหกรรมสามารถทำได้หลายวิธีมากซึ่งเราสามารถแยกย่อยได้ดังนี้ – Wet process Wet process เป็นกระบวนการเปียกตามชื่อ ซึ่งหมายถึงตลอดทั้งกระบวนการมีแต่ของเหลวเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยจะเป็นการสกัดน้ำมันมะพร้าวจากกะทิ ซึ่งกะทิที่ได้นั้นก็มาจากการสกัดในเนื้อมะพร้าวอีกที โปรตีนในกะทิจะสร้างอิมัลชันของน้ำมันและน้ำ ขั้นตอนที่มีความยากมาก […]

คลอโรฟิลล์

คลอโรฟิลล์

ChlorophyII หรือว่า คลอโรฟิลล์ เป็นสารอาหารที่เราได้ยินมานานแสนนาน เนื่องจากมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกาย คอลโรฟิลล์สามารถพบได้ในพืชที่มีสีเขียว ซึ่งช่วยในการสังเคราะห์แสง แต่ทำไมคลอโรฟิลล์ถึงมีประโยชน์กับเรา ในเมื่อมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารเคมีตัวนี้กัน ว่ามีความสำคัญอย่างไรกันแน่  คลอโรฟิลล์คืออะไร  คลอโรฟิลล์ เป็นสารที่ให้สีเขียว พบในชั้นเมโซโซมหรือพลาสมาเมมเบรนของไซยาโนแบคทีเรีย และในคลอโรพลาสของสาหร่ายและพืชที่มีสีเขียว คำว่า “คลอโรฟิลล์” ได้มาจากคำภาษากรีก คำว่า “โคลรอส” ที่แปลว่าสีเขียวซีด และ “phyllon” ที่แปลว่า ใบไม้ และทำการรวมคำกัน คลอโรฟิลล์มีความจำเป็นในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชสามารถดูดซับพลังงานจากแสงได้ คลอโรฟิลล์ดูดซับแสงได้มากที่สุดในช่วงสีน้ำเงินและสีแดงของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในทางกลับกันคลอโรฟิลล์ดูดซับแสงได้แย่ที่สุดในช่วงสีเขียวและสีที่มีลักษณะค่อนไปข้างที่สีเขียวของสเปกตรัมดังนั้นเนื้อเยื่อพืชที่ประกอบด้วยคลอโรฟิลล์จำนวนมากจึงปรากฏเป็นสีเขียวเนื่องจากแสงสีเขียวจะเกิดการสะท้อนอย่างกระจายทำให้สีดังกล่าวสะท้อนเข้าตาของเราอีกทีทำให้เราเห็นใบพืชเป็นสีเขียวนั่นเองคลอโรฟิลล์มีอยู่ 2 ประเภท คือ คลอโรฟิลล์ชนิด A และคลอโรฟิลล์ชนิด B โดยโมเลกุลของคลอโรฟิลล์จะประกอบด้วย อะตอมของแมกนีเซียมตรงกลาง ที่ล้อมรอบด้วยโครงสร้างที่มีไนโตรเจน เรียกว่าวงแหวนพอร์ไฟริน ติดอยู่กับวงแหวนเป็นสายโซ่ยาว ด้านข้างที่มีธาตุคาร์บอนเชื่อมกับไฮโดรเจน ด้วยพันธะไฮโดรเจนบอนด์ และเรียกว่าสายโซ่ไฟทอล ความน่าสนใจคือคลอโรฟิลล์มีโครงสร้างคล้ายคลึงอย่างมากกับเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นเม็ดสีที่นำพาออกซิเจนในเซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นี่จึงกลายเป็นเป็นหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมคลอโรฟิลล์ถึงมีความสำคัญต่อเรา  ประเภทของคลอโรฟิลล์ คลอโรฟิลล์นั้นมี 2 […]