ยาแก้ปวด

ยาแก้ปวด

Aspirin หรือ Pain relief หรือ ยาแก้ปวด เป็นยาที่คนส่วนใหญ่รู้จักกัน เนื่องจากเวลาไปเราไปหาหมอ หมอส่วนใหญ่จะทำการสั่งยาชนิดนี้มาให้ แทบจะทุกโรค ซึ่งยาแอสไพรินคือยาครอบวักรวาล ที่ไม่ว่าเรามีปัญหาอะไร แอสไพรินเอาอยู่ทุกที ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับยาชนิดนี้กัน มาดูกันว่าเพราะอะไรทำไมความปวดที่เรามี ถึงหายวับไปกับตา เมื่อใช้ยาตัวนี้ 

Aspirin คืออะไร 

แอสไพรินหรือที่เรียกว่ากรดอะซิติลซาลิไซลิก (ASA) เป็นยาที่ใช้ลดอาการปวด ไข้ หรือการอักเสบที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งโรคเฉพาะทางที่ใช้ในการรักษาด้วยแอสไพริน ได้แก่ โรคคาวาซากิ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคที่เกี่ยวกับลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง มีการค้นพบใหม่ว่าแอสไพรินสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจวาย ซึ่งนำไปสู่โอกาสในการลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้   อีกทั้งการใช้ยาแอสไพรินชในระยะยาวเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจวาย ยังมีความปลอดภัยอีกด้วย 

สำหรับอาการปวดทั่วไปหรือมีไข้แอสไพรินจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที ทำหน้าที่เสมือนยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และทำงานคล้ายกับ NSAIDs อื่น ๆ ยังยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดที่ผิดปดติ ทำให้เมื่อเราเป็นแผลฉกรรจ์ เสียเลือดเยอะ แพทย์จะเลือกจ่ายยาแก้อักเสบตัวยนี้มาให้เราเสมอ ไปกระตุ้นเกล็ดเลือดให้มาปิดบาดแผลอย่างเร็วขึ้น

สารตั้งต้นของแอสไพรินพบในใบจากต้นวิลโลว์ ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในทางสุขภาพมาแล้ว อย่างน้อย 2,400 ปี  ในปี ค.. 1853 นักเคมีชาวฝรั่งเศสนามว่า Charles Frédéric Gerhardt ได้ทำการสกัดยาโซเดียมซาลิไซเลตด้วยอะเซทิลคลอไรด์ เพื่อผลิตกรดอะซิติลซาลิไซลิกหรือแอสไพรินเป็นครั้งแรก จากนั้นอีก 50 ปีถัดมา นักเคมีคนอื่น ๆ ได้สังเคราะห์โครงสร้างทางเคมี และคิดค้นวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นับได้ว่าแอสไพรินอยู่คู่กับเรามาร่วมศตวรรษแล้ว นับว่าเป็นยาเก่าแก่ที่นักเภสัชศาสตร์ นักเคมี ก็ยังให้ความสำคัญอยู่ ความน่าใจของยาแก้อักเสบแอสไพรินยังไม่หมด เนื่องจากยาแก้อักเสบชนิดนี้เป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก โดยในแต่ละปีมีการบริโภคประมาณ 40,000 ถึง 44,000 ตัน หรือประมาณ 50 ถึง 120 พันล้านเม็ด อยู่ในรายชื่อยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก ขึ้นทะเบียนให้มีจำหน่ายเป็นยาสามัญในปี 2019 และเป็นยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุดเป็นอันดับที่ 38 ในสหรัฐอเมริกา โดยมีใบสั่งยามากกว่า 18 ล้านใบ

การทำงานร่วมของแอสไพรินกับยาชนิดอื่น  

การทำงานของแอสไพรินนั้นค่อนข้างซับซ้อนซึ่งนักวิทยาสาศาสตร์ต้องใช้เวลาในการทดลองนานพอสมควรเพราะแอสไพรินอาจจะเกิดปฏิกิริยาเกี่ยวข้องกับยาตัวหนึ่งตัวใดที่เรากำลังใช้อยู่ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของยานั้นๆน้อยลงหรือร้ายแรงจนถึงส่งผลอันตรายโดยแอสไพรินสามารถทำปฏิกิริยากับยาหลายชนิดเช่น

ยาแก้ปวดแก้อักเสบ ตัวอย่าง เช่น ไดโคลฟีแนค ไอบูโพรเฟน และนาโพรเซน ยาประเภทนี้เมื่อรวมตัวกับแอสไพริน สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้

ยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors และยาแก้ซึมเศร้าอื่นๆ เช่น citalopram, fluoxetine, paroxetine, venlafaxine และ sertraline เมื่อใช้ร่วมกับแอสไพริน สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกทั่วร่างกายได้

วาร์ฟาริน เมื่อเราใช้วาร์ฟารินร่วมแอสไพริน มันจะไปลดฤทธิ์การต้านการแข็งตัวของเลือด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ 

เมโธเทรกเซต เมื่อเราใช้เมโธเทรกเซตร่วมกับแอสไพริน มันจะไปทำให้การรักษาโรคมะเร็งและโรคภูมิต้านตนเองบางชนิดลดลง แอสไพรินส่งผลทำให้ยาถูกกำจัดในร่างกายได้ยากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับเมโธเทรกเซตเป็นพิษได้

ประโยชน์ของแอสไพริน

อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าแอสไพรินมีประโยชน์หลายอย่างเช่นบรรเทาอาการปวดและบวมจัดการกับสภาวะต่างๆและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในทางการแพทย์ยังมีการใช้แอสไพรินรักษาโรคเฉพาะทางอีกด้วยฉะนั้นเราจะพาทุกคนมาทำความรู้กับประโยชน์ของยาชนิดนี้กันแบบแจ่มแจ้งเลยดีกว่า

ช่วยรักษาอาการปวดและบวม

แอสไพรินสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดเล็กน้อยถึงปานกลางและอาการบวมหรือทั้งสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพหลายอย่างได้เช่นปวดหัวไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่เคล็ดขัดยอกและความเครียดปวดประจำเดือนหรือจะเป็นโรคเฉพาะทางเช่นโรคข้ออักเสบและไมเกรนสำหรับอาการปวดอย่างรุนแรงแพทย์อาจแนะนำให้ใช้แอสไพรินร่วมกับยาอื่นเช่นยาแก้ปวดฝิ่นเป็นต้น

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

การใช้แอสไพรินในปริมาณต่ำทุกวันสามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยได้ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้แนะนำให้ใช้แอสไพรินในรักษาแต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้นแอสไพรินจะไปลดความเสี่ยงโดยการป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำการใช้แอสไพรินในปริมาณต่ำต่อวันสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือหลอดเลือดผู้ที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ดีผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงผู้ที่เป็นเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีโรคข้างต้นเหล่านี้ ก็สามรถใช้แอสไพรินได้เหมือนกัน โดยความเสี่ยงของการใช้แอสไพรินในระยะยาวอาจมีค่ามากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ฉะนั้นทางที่ดีคือใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น 

จากคำแนะนำปี 2016 โดยคณะทำงานเฉพาะกิจด้านบริการป้องกันของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าผู้ใหญ่อายุ 50-59 ปีที่ใช้แอสไพรินทุกวัน เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และหลอดเลือด พบว่ามีความเสี่ยงของโรคลดลงแต่คำแนะนำมีเงื่อนไข โดยใช้กับผู้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างน้อย 10% เป็นเวลา 10 ปี

ต้องไม่มีภาวะเสี่ยงเลือดออกมาก เต็มใจที่จะรับประทานยาในปริมาณต่ำทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี และผ่านการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

แพทย์อาจให้แอสไพรินทันทีหลังจากหัวใจวายหรือตรวจเจอโรคหลอดเลือดสมองหรือเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดและเกิดการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ

นอกจากนี้แอสไพรินยังสามารถเป็นยาหลักของแผนการรักษาสำหรับ ผู้ที่เพิ่งทำการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือด เช่น angioplasty หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ มินิสโตรกหรือภาวะการขาดเลือดชั่วคราว และโรคหลอดเลือดสมองตีบซึ่งเกิดจากลิ่มเลือด

ในด้านอื่นๆ  เรายังพบด้วยว่าแอสไพรินยังสามารถช่วยรักษาอาการปวดและบวมที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพเรื้อรังได้ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคข้ออักเสบอื่น ๆ โรคลูปัส erythematosus ระบบการอักเสบรอบหัวใจหรือที่เรียกว่าเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำการใช้แอสไพรินในปริมาณที่ต่ำแก่ผู้ที่ได้รับยความเสียหายของจอประสาทตาหรือที่เรียกว่าจอประสาทตาเสื่อม ผู้ที่เบาหวานมากว่า 10 ปี ผู้ที่กำลังใช้ยาลดความดันโลหิต และผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้

ปริมาณของแอสไพรินที่เราควรใช้ 

การผลิตแอสไพรินมีความต่างกันในแต่ละประเทศซึ่งจะแตกต่างกันไปแค่เล็กน้อยในแต่ละประเทศเช่น 300 มิลลิกรัม ในสหราชอาณาจักรและ 325 มิลลิกรัม หรือ 5 เม็ด ในสหรัฐอเมริกา ปริมาณที่น้อยกว่าจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้ เช่น แอสไพรินเม็ดขนาด 75 ถึง 81 มิลลิกรัม มักถูกจ่ายให้สำหรับเด็ก จริง ๆ แล้วในทางการแพทย์นั้นปริมาณของแอสไพรินที่เราต้องการ เพื่อใช้รักษาอาการต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของบุคคลนั้น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 70 กิโลกรัม การรับประทานแอสไพรินแบบเม็ดปริมาณ 300 มิลลิกรัม 1 ครั้ง เพื่อบรรเทาอาการก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมากกว่านี้ จำเป็นต้องมีปริมาณที่สูงขึ้น นอกจากนี้การปริมาณการใช้แอสไพรินยังขึ้นอยู่กับโรคที่เราต้องการรักษา ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสบ พบว่ามีการให้แอสไพรินสูงสุดถึง 4 ครั้งต่อวัน เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่นเดียวกับการรักษาไข้รูมาติกและผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (MI) 

ในเดือนมีนาคมปี 2019 USPSTF หรือ คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อการบริการป้องกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาให้พูดเกี่ยวกับการใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยระบุไว้ว่าในผู้ชายอายุ 45-79 ปี และผู้หญิงอายุ 55-79 ปี ที่กำลังใช้ยาแอสไพรินในการรักษาอยู่ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้ ซึ่งเป็นโรคข้างเคียงจากโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ต้องระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น เลือดออกเพิ่มมากขึ้นในทางเดินอาหาร ทั้งนี้ยังมีการศึกษาของ WHI หรือ Women’s Health Initiative กล่าวว่าผู้หญิงที่แอสไพรินในปริมาณต่ำเป็นประจำ คือปริมาณ 75 ถึง 81 มิลลิกรัม มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง 25% และมีการให้ข้อสรุปว่าการใช้ยาแอสไพรินสัมพันธ์กับแนวโน้ม ที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย 

อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถบอกได้ว่าปริมาณของแอสไพรินที่เหมาะสมและแม่นยำต่อคนควรมีปริมาณเท่าไหร่แต่มีการกำหนดปริมาณการใช้คร่าวๆหากเรามีอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นดังนี้ 

ปวดทั่วไปและมีไข้: 325-650 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมงตามต้องการ

บรรเทาอาการปวดลำไส้): 650-1300 มก. รับประทานทุก ๆ 8 ชั่วโมงตามต้องการ

เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก (กิโลกรัม) รับประทานทุก ๆ 4 ชั่วโมง สูงสุด 60-80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก (กิโลกรัม) ต่อวัน

เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป 325-650 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมงตามต้องการ

อาการไข้เฉียบพลัน 60-325 มิลลิกรัม หากไม่สามารถรับประทานได้ อาจให้เหน็บทางทวารหนัก 300-600มิลลิกรัม

ป้องกันการอักเสบ 75-81 มิลลิกรัม รับประทานวันละครั้งโดยไม่มีกำหนด ตามความถี่ที่ต้องการ) อาจสามารใช้ได้ถึง81-325 มิลลิกรัมต่อวัน

ซึ่งจริง แล้วการใช้คร่าว เป็นเพียงตัวอย่างที่เราสามารถนับไปประยุกต์ได้ หากเราต้องการความเข้มงวดและความแน่ชัดในการบริโภค เราควรทำการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพื่อความปลอดภัยในการใช้

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น 

ถึงแม้ว่าแอสไพรินจะสามารถให้ประโยชน์มากมายแก่เราได้แต่ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรระมัดระวังในการรับประทานแอสไพรินเช่นผู้ที่มีอาการเลือดออกผิดปกติเช่นฮีโมฟีเลียความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้โรคหอบหืดแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะอาหารโรคตับหรือไตบุคคลที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เช่นผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอาจจะต้องใช้แอสไพรินในปริมาณที่ต่ำแพทย์มักไม่แนะนำให้ใช้แอสไพรินปริมาณสูงในระหว่างตั้งครรภ์ 

นอกจากนี้แพทย์จะไม่สั่งยาแอสไพรินแก่ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเพราะการใช้แอสไพรินรักษาโรคหลอดเลือดสมองจะต้องเกิดจากกรณีที่ลิ่มเลือดผิดปกติฉะนั้นต้องมีการวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วนก่อนเพราะในบางกรณีแอสไพรินอาจทำให้อาการโรคหลอดเลือดสมองแย่ลงได้ส่วนใครก็ตามที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหรืออยู่ระหว่างการรักษาทางทันตกรรมหรือศัลยกรรมไม่ว่าจะเล็กน้อยก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแอสไพรินและอย่าลืมสำรวจด้วยว่าตัวเองมีอาการแพ้ยาต้านการอักเสบชนิดนี้หรือเปล่า

สรุป

เราสามารถสรุปได้เลยว่าแอสไพริน เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เราต้องมีติดไว้ เพราะมันคือยาพื้นฐานที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ เช่น อาการหวัด อาการไข้ เป็นต้น แต่ในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ การใช้แอสไพรินนั้นมีเงื่อนไข ทางที่ดีเราต้องทำการปรึกษาแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง 

อ้างอิง 

John P. Cunha, DO and FACOEP. 2021. ASPIRIN. Available at: https://www.rxlist.com/consumer_aspirin/drugs-condition.htm

Yvette Brazier. 2020. Uses and benefits f Aspirin. Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/161255