Arginine คือ กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นกรดอะมิโนที่มนุษย์ต้องการและขาดไม่ได้ และเมื่ออายุมากขึ้น เราจะพบว่าปริมาณ Arginine ในร่างกายจะน้อยลงไป ซึ่งเท่ากับว่าการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเปลี่ยนไป ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Arginine กัน มาดูกันว่ามันคืออะไร และทำไมร่างกายของเราต้องการกรดอะมิโนชนิดนี้กัน
Arginine คืออะไร
Arginine หรือ อาร์จินีน หรือที่เรียกว่า l-arginine เป็นกรดอะมิโนชนิดแอลฟ่า ที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน ประกอบด้วยหมู่แอลฟ่าอะมิโนและกลุ่มกรดแอลฟ่าคาร์บอกซิลิก อาร์จินีนจัดเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างได้ ทำให้ต้องได้รับจากการบริโภคอาหาร ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาร์จินีนมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายของทารกต้องการกรดอะมิโนชนิดนี้เพื่อทำให้ร่างกายมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด เป็นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น
อาร์จินีนถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1886 จากต้นกล้าลูปินสีเหลือง โดยนักเคมีชาวเยอรมันที่มีชื่อว่า Ernst Schulze และผู้ช่วยของเขาที่มีชื่อว่า Ernst Steiger คำว่าอาร์จินีนมาจากภาษากรีก แปลว่าสีเงิน เนื่องจากมีลักษณะที่ปรากฎครั้งแรกเป็นสีเงิน–ขาว เป็นผลึกอาร์จินีนไนเตรต และในปี 1897 ก็ได้มีการกำหนดโครงสร้างของอาร์จินีนขึ้น การค้นคว้าของกรดอะมิโนชนิดนี้ยังมีมาเรื่อย ๆ โดยนักเคมีหลายคนพยายามที่จะสังเคราะห์กรดอะมิโนออกมาจากสารเคมี จนกระทั่งในปี 1899 นักเคมีที่มีชื่อว่า Ernst Winterstein และ Ernst Schulze สามารถสังเคราะห์อาร์จินีนได้จากสารออร์นิทีนและไซยาไมด์ นำไปสู่ต้นแบบการผลิตอาร์จินีนในเชิงพาณิชย์ ที่ได้มาจากการไฮโดรไลซิสของแหล่งโปรตีนราคาต่ำ เช่น เจลาติน หรือบางครั้งก็ใช้การหมัก ด้วยวิธีนี้สามารถผลิตอาร์จินีนได้ประมาณ 25-35 กรัม ต่อแหล่งโปรตีน 1 ลิตร ซึ่งจะใช้กลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอนในการสร้าง
แหล่งของอาร์จินีน
อาร์จินีนนั้นจัดเป็นกรดอะมิโน นับว่าได้มาจากอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งเราสามารถได้รับอาร์จินีนจากการบริโภคอาหาร เช่น
-
เนื้อไก่งวง
ในเนื้อไก่งวงอุดมไปด้วยอาร์จินีนที่ปริมาณสูงมาก เนื้ออกไก่งวงสุก 1 ชิ้น สามารถมีอาร์จินีนได้ถึง 16 กรัม ซึ่งไม่ใช่แค่อาร์จินีนที่เราจะได้รับเมื่อบริโภคไก่งวง ทว่าเรายังสามารถได้รับสารอาหารประเภทอื่นอีกด้วย เช่น วิตามินบีรวม และกรดไขมันดีอย่างโอเมก้า 3
-
เนื้อซี่โครงหมู
เนื้อซี่โครงหมูเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงอีกชนิดหนึ่ง โดยมีปริมาณอาร์จินีนอยู่ที่ 14 กรัมต่อซี่โครง 100 กรัม นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในชิ้นเนื้อหมูที่บางที่สุด ดังนั้นจึงมีไขมันต่ำ เราสามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนในมื้ออาหารของเราได้ เพียงแค่บริโภคต้มซุปกระดูกหมูเพิ่มรสชาติของมื้ออาหารนั้น ๆ
-
เนื้อไก่
เนื้อไก่เป็นแหล่งของโปรตีนยอดนิยมสำหรับนักกีฬาและนักเพาะกาย เนื่องจากมีปริมาณไขมันที่น้อย กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของเนื้ออกไก่คือโปรตีน เท่ากับว่าเราจะได้รับอาร์จินีนมากถึง 9 กรัมจากเนื้ออกไก่ 100 กรัม
-
เมล็ดฟักทอง
แหล่งโปรตีนไม่ใช่จะได้รับจากเนื้อสัตว์เพียงวิธีเดียว เมล็ดฟักทองหนึ่งถ้วยหรือประมาณ 100 กรัม มีอาร์จินีนเกือบ 7 กรัม เมล็ดฟักทองยังเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีของแร่ธาตุเหล็กและสังกะสี อีกทั้งเมล็ดฟักทองยังเป็นธัญพืชที่บริโภคได้ง่าย จะรับประทานเป็นขนมหรือว่าใส่เป็นท็อปปิ้งในสลัดก็ทำได้
-
ถั่วแระญี่ปุ่น
เชื่อว่าอาหารว่างสุดโปรดของใครหลาย ๆ คนน่าจะเป็นถั่วแระญี่ปุ่น เนื่องจากด้วยรสชาติที่มัน ๆ ยิ่งรับประทานยิ่งเพลิน โดยถั่วแระตามห้างปริมาณ 1 ถุงเล็ก อุดมไปด้วยอาร์จินีนประมาณ 4.6 กรัม อีกทั้งยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีก เช่น โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ไขมันต่ำ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
-
ถั่วลิสง
ถั่วลิสงหนึ่งถ้วยหรือประมาณ 100 กรัม มีอาร์จินีน 4.6 กรัม แต่ถั่วมีปริมาณแคลอรีค่อนข้างสูง ฉะนั้นทางที่ดีเราค่อย ๆ แบ่งรับประทาน ไม่ควรรับประทานถั่วลิสงปริมาณมากในคราวเดียว นอกจากปริมาณโปรตีนที่ค่อนข้างสูงแล้ว ถั่วลิสงยังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี 3 วิตามินอี กรดโฟเลต และไนอาซิน
-
สาหร่ายสไปรูลิน่าหรือสาหร่ายเกลียวทอง
สาหร่ายสไปรูลิน่าหรือสาหร่ายเกลียวทอง เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เติบโตในทะเลน้ำลึก ส่วนใหญ่จะทำออกมาในรูปแบบผง เพื่อผสมลงในเครื่องดื่มต่าง ๆ สาหร่ายสไปรูลิน่าปริมาณ 100 กรัม มีอาร์จินีน 4.6 กรัม และมาพร้อมด้วยแคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม และไนอาซินในปริมาณสูง อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปจะนิยมใส่ผงสาหร่ายสไปรูลิน่าในสมูทตี้ประมาณหนึ่งช้อนโต๊ะ ซึ่งจะให้ปริมาณอาร์จินีนอยู่ที่ 0.28 กรัม
-
ผลิตภัณฑ์จากนม
ผลิตภัณฑ์จากนมในที่นี้ไม่ได้จำกัดแค่ที่นมวัวเท่านั้น แต่มันรวมไปถึงชีส โยเกิร์ต และอาหารที่มีนมเป็นส่วนผสม นมปริมาณ 1 แก้ว อุดมไปด้วยอาร์จินีนอยู่ที่ 0.2 กรัม และเชดดาร์ชีสประมาณ 100 กรัม ให้อาร์จินีนอยู่ที่ 0.25 กรัม
-
ถั่วลูกไก่
ถั่วลูกไก่ หรือถั่วชิกพี หรือถั่วการ์บันโซเป็นแหล่งที่ทำให้เราสามารถรับโปรตีนและไฟเบอร์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นมังสวิรัติ ถั่วลุกไก่สุก 1 ถ้วยหรือ 100 กรัม มีอาร์จินีน 1.3 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม และใยอาหาร 12.5 กรัม ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าตามร้านอาหารอินเดีย ที่เป็นอาหารวีแกน มักจะเลือกใช้ถั่วลูกไก่ ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์
-
ถั่วเลนทิล
ถั่วเลนทิลเป็นแหล่งไฟเบอร์และโปรตีนจากพืชที่ดีต่อสุขภาพมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะพบว่ามีอาร์จินีนอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งมีประมาณ 1.3 กรัมต่อถั่วเลนทิล 100 กรัม ถั่วเลนทิลหนึ่งถ้วยมีใยอาหารอุดมถึง 63 เปอร์เซ็นต์ นอกจากเราจะได้อาร์จินีนแล้ว ระบบขับถ่ายของเราก็จะดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย
ประโยชน์ของอาร์จินีน
อาร์จินีนถูกนำมาผลิตเป็นอาหารเสริมอย่างแพร่หลาย ซึ่งนิยมอย่างมากในหมู่ของนักกีฬาและผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งประโยชน์ของอาร์จินีนมีดังนี้
– เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแอลอาร์จินีนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายโดยการเพิ่มการหลั่งของไนตริกออกไซด์ในร่างกายซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อทำให้เมื่อออกกำลังไปนานๆเราจะรู้สึกไม่เหนื่อยและมีแรงเพิ่มขึ้นมีการศึกษาในปี 2017 ในนักฟุตบอลชาย 56 คน พบว่าการใช้ด้วยแอลอาร์จินีนปริมาณ 2 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 45 วัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬาอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีการศึกษาอีกหนึ่งชิ้น แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลอาร์จินีนปริมาณ 6 กรัม 1 ชั่วโมงก่อนการออกกำลังกายที่เข้มข้น จะมีระดับไนตริกออกไซด์ในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น
– ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือด
อาหารเสริมที่มีแอลอาร์จินีนเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงจากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารเสริมแอลอาร์จินีนช่วยลดค่าความดันโลหิตในเส้นเลือดให้กลับมาเป็นปกติได้โดยแอลอาร์จินีนมีความจำเป็นสำหรับการผลิตไนตริกออกไซด์ซึ่งเป็นสารที่หลั่งออกมาเพื่อช่วยให้เซลล์มีความยืนหยุ่นและผ่อนคลายมากขึ้นเช่นเดียวกับการควบคุมความดันโลหิตผลการศึกษาในปี 2015 พบว่าการใช้แอลอาร์จินีนทั้งการบริโภคหรือการฉีดเข้าเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิตในผู้ใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงได้ 5.4 มม./ปรอท ถึง 3.1 มม./ปรอท
– เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
อาร์จินีนกลายเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อร่างกายของเราถูกบุกรุกจากศัตรูภายนอกเช่นการติดเชื้อและการบาดเจ็บปริมาณของอาร์จินีนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากหากเจอสิ่งแปลกปลอมในร่างกายการขาดอาร์จินีนระหว่างเจ็บป่วยร้ายแรงหรือหลังการผ่าตัดทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงรวมถึงการทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่องและประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือดลดลงเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอาหารเสริมอาร์จินีนมักถูกใช้ในผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดใหญ่มา
มีการใช้อาร์จินีนทางการแพทย์มากมายเช่นอาร์จีนินสำหรับรับประทานมักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อรุนแรงได้แก่ภาวะลำไส้อักเสบในทารกภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแผลไฟไหม้โรคเรื้อรังและบาดแผลตลอดจนในผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดและการบาดเจ็บหนัก
– ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าแอลอาร์จินีนมีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยจะไปปรับปรุงการเผาผลาญกลูโคสและความไวของอินซูลินให้ดีขึ้นแอลอาร์จินีนจำเป็นสำหรับการผลิตไนตริกออกไซด์ไนตริกออกไซด์มีบทบาทสำคัญในการทำงานของเซลล์และช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ส่งน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์โดยที่ร่างกายจะนำน้ำตาลที่ส่งไปใช้เป็นพลังงานดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพของไนตริกออกไซด์ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ที่หลั่งอินซูลินและช่วยให้ร่างกายของเราใช้น้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกเหนือจากประโยชน์ที่เราได้กล่าวมาแล้วงานวิจัยบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอลอาร์จินีนอาจมีประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกด้วยเช่นช่วยรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศช่วยรักษาและป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษลดความเสี่ยงของโรคไข้หวัดและช่วยในการลดน้ำหนัก
ปริมาณของอาร์จินีนที่เราต้องการ
อาร์จีนินนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก โดยปริมาณพื้นฐานของอาร์จีนินที่เราต้องการนั้นไม่มี เนื่องจากการได้รับปริมาณอาร์จีนินมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ และประวัติการได้รับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งจากการศึกษาในงานวิจัย ที่มีศึกษาเกี่ยวกับการใช้อาร์จีนินเพื่อรักษาโรค มีปริมาณการใช้ เช่น สำหรับอาการเจ็บหน้าอก ใช้อาร์จีนินปริมาณ 2-6 กรัม สามครั้งต่อวัน นานถึงหนึ่งเดือน สำหรับภาวะบกพร่องสมรรถภาพทางเพศใช้อาร์จีนินปริมาณ 5 กรัมต่อวัน และความดันโลหิตสูงใช้อาร์จีนินปริมาณ 4-24 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 2-24 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอาร์จีนินจะมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ทว่ามีการแนะนำว่าเราควรได้รับกรดอะมิโนชนิดนี้น้อยกว่า 9 กรัมต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
โรคที่เกิดจากการขาดอาร์จินีน
การขาดอาร์จีนินเป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยทั่วไปจะพบว่าเกิดจากการขาดอาร์จีเนสที่เป็นโมเลกุลย่อยของอาร์จีนินซึ่งทำให้อาร์จินีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโนและแอมโมเนียค่อยๆสะสมในเลือดแอมโมเนียซึ่งเกิดขึ้นเมื่อโปรตีนถูกทำลายในร่างกายและจะเป็นพิษหากระดับสูงเกินไปส่งผลให้ระบบประสาทมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของแอมโมเนีย
การขาดอาร์จิเนสมักจะปรากฏชัดเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ โดยส่วนใหญ่มักปรากฏเป็นอาการตึงที่บริเวณกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่ขา ซึ่งเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างผิดปกติ และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ พัฒนาการล่าช้า การสูญเสียพัฒนาการที่สำคัญ ความพิการทางสติปัญญา อาการชัก อาการสั่น การเชื่อมต่อของระบบประสาททำงานไม่ดี และการทรงตัวลำบาก ในบางครั้งอาจทำให้แอมโมเนียสะสมในเลือดเร็วขึ้น แอมโมเนียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้อาจนำไปสู่อาการหงุดหงิด ไม่อยากอาหาร และอาเจียน ในผู้ป่วยบางราย อาการที่แสดงของภาวะขาดอาร์จิเนสอาจรุนแรงน้อยกว่า และอาจไม่ปรากฏจนกว่าจะถึงวัยชรา ซึ่งมันก็อาจจะสายเกินแก้แล้ว
สรุป
เราสามารถสรุปได้เลยว่าอาร์จีนินมีประโยชน์และมีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กและการทำงานของกล้ามเนื้อ หากเราต้องการบริโภคอาร์จินีนเป็นอาหารเสริมก็ย่อมทำได้ อย่างไรก็ตามทางที่ดีหากมีความต้องการใช้จริง ๆ เราควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ
อ้างอิง
Rena Goldman. 2019. 10 Healthy High Arginine Foods
. Available at: https://www.healthline.com/health/healthy-high-arginine-foods#what-it-does
R. Morgan Griffin. 2021. Arnica. Available at: https://www.webmd.com/vitamins-and- supplements/arnica