Antioxidants

ต่อต้านอนุมูลอิสสระ

สารต้านอนุมูลอิสระหรือสาร Antioxidants เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยให้ร่างกายของเรายังคงความเยาว์วัยได้ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยส่งเสริมและปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของเรา ให้ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งร่างกายของเรามีความต้องสาร Antioxidants อย่างมาก ขาดไม่ได้เลย ฉะนั้นวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารชนิดนี้กัน มาดูกันว่าทำไมร่างกายของเราต้องการ 

สาร Antioxidants คืออะไร 

สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือสารจากธรรมชาติที่ป้องกันหรือชะลอความเสียหายของเซลล์บางชนิด สารต้านอนุมูลอิสระพบได้ในอาหารหลายชนิด รวมทั้งผักและผลไม้ และยังมีจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตัวอย่างของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน แอนโทไซยานิน วิตามินอี และวิตามินซีเป็นต้น หน้าที่หลัก ๆ ของสาร Antioxidants คือจะไปยับยั้งกระบวนการสร้างปฏิกิริยา oxidation ซึ่งเป็นต้นตอของการเกิด Free radical หรือสารอนุมูลอิสระ กลไกการยับยั้งของสารต้านอนุมูลอิสระสามารถทำได้ทั้งหมด 3 กลไก ดังต่อไปนี้ คือ เริ่มจาก Preventive antioxidant ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ถัดมา Scavenging antioxidant ทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น และสุดท้ายคือ Chain breaking antioxidant ทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง การมีอยู่ของสารต้านอนุมูลอิสระไม่ใช่มีแค่อยู่ในธรรมชาติเท่านั้น ทว่าเรายังสามารถสังเคราะห์ออกมาได้ด้วย ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระสังเคราะห์ที่สามารถพบได้ทั่วไปและพบได้บ่อยที่สุด คือ BHA (butylated hydroxyanisole) BHT (butylated hydroxytoluene) TBHQ (tertiary butyl hydro quinone) และ EDTA

การเกิดปฏิกิริยาของสาร Antioxidants ในร่างกายนั้น เริ่มจากการที่สารต้านอนุมูลอิสระสร้างกรดที่ค่อนข้างแรงเพื่อใช้ reduce แร่ธาตุ และมีฤทธิ์ต้านสารอาหารบางชนิดที่ก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ซึ่งจะไปจับกับแร่ธาตุในอาหาร เช่น ธาตุเหล็กและสังกะสีในทางเดินอาหาร ป้องกันไม่ให้ถูกดูดซึม ตัวอย่างกรดที่สาร Antioxidants สร้างขึ้นมา ได้แก่ กรดออกซาลิก แทนนิน และกรดไฟติก ทั้งหมดนี้ได้มาจากพืชผักผลไม้ การขาดแคลเซียมและธาตุเหล็กส่งผลต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เนื่องจากหากไม่มีสารเหล่านี้ การทำงานของสาร Antioxidants จะไม่เกิดขึ้น มีการสำรวจพบว่าอัตราการขาดสาร Antioxidants พบได้มากในประเทศโลกที่ 3 เพราะประชากรส่วนใหญ่บริโภคอาหารจำนวนถั่วและแป้งเยอะ ซึ่งจะไปลดการเกิดขึ้นของกรดไฟติก เป็นกรดที่สำคัญที่สาร Antioxidants สร้างขึ้นมา ดังนั้นการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดคือการบริโภคจากพืช ผัก ผลไม้ โดยที่ไม่ผ่านความร้อนหรือผ่านความร้อนน้อยที่สุด เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระระเหยได้ง่ายมาก เมื่อโดนความร้อน 

สาร Antioxidants มีอะไรบ้าง

อย่างที่เรากล่าวกันไปข้างต้นแล้วว่า สาร Antioxidants สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือสารที่เกิดจากการสังเคราะห์และสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยสาร Antioxidants ที่พบได้ตามธรรมชาติมีอยู่มากมาย ดังนี้ 

สารจำพวก Phenolic compounds 

สารจำพวกนี้ได้แก่ Polyphenol พบได้มากในเครื่องเทศและสารสกัดจากเมล็ดองุ่น ชา ขมิ้น ดาร์กช็อกโกแลต และไวน์ ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหมายความว่าสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายที่อาจทำลายเซลล์ของเราได้ และลดความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ ซึ่งสาร Polyphenol สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก

  1. สารฟลาโวนอยด์ เหล่านี้คิดเป็นประมาณ 60% ของโพลีฟีนอลทั้งหมด ตัวอย่าง ได้แก่ เควอซิทิน แคมป์เฟอรอล คาเทชิน และแอนโธไซยานิน ซึ่งพบได้ในอาหาร เช่น แอปเปิล หัวหอม ดาร์กช็อกโกแลต และกะหล่ำปลีแดง
  2. กรดฟีนอลิก กลุ่มนี้มีสัดส่วนประมาณ 30% ของโพลีฟีนอลทั้งหมด ตัวอย่าง ได้แก่ สติลบีนและลิกแนน ซึ่งส่วนใหญ่พบในผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และเมล็ดพืช
  3. โพลีฟีนอลเอไมด์ เช่น แคปไซซินอยด์ในพริก และอะเวแนนทราไมด์ที่พบได้ในข้าวโอ๊ต
  4. โพลีฟีนอลอื่น ๆ กลุ่มนี้ประกอบด้วยสารเรสเวอราทรอลในไวน์แดง กรดเอลลาจิกในผลเบอร์รี่ เคอร์คูมินในขมิ้น และลิกแนนในเมล็ดเจีย งา และธัญพืช

สาร Astaxanthin

สารชนิดนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูใครหลายๆคนทว่าหากพูดว่าเป็นสารให้สีแดงเชื่อว่าใครหลายๆคนคงจะนึกออก Astaxanthin เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในทางการแพทย์นั้นมีการใช้ Astaxanthin เพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เพิ่มสมรรถภาพทางกาย ชะลอการเสื่อมของอายุผิว และอาการปวดกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย เป็นต้น

สาร Eugenol 

หนึ่งในสารที่ฟังดูแล้วไม่คุ้นหูเลยก็คือสาร Eugenol ป็นของเหลวที่ไม่มีสีถึงเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเพราะสามารถสกัดได้จากน้ำมันหอมระเหยบางชนิด โดยเฉพาะจากกานพลู ลูกจันทน์เทศ อบเชย ใบโหระพา และใบกระวาน โดยส่วนใหญ่การใช้สาร Eugenol จะใช้เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสความหอมในสารปรุงแต่งอาหาร อีกทั้งยังสามารถใช้เพื่อเป็นสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะสาร Eugenol มีฤทธิ์ทำลายเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย รวมไปถึงจุลินทรีย์ในช่องปาก ทำให้ในทางทันตกรรมจะมีการให้ใช้ประโยชน์จากสาร Eugenol เพื่อฆ่าเชื้อก่อนทำการรักษาฟัน 

วิตามินซี 

ถ้าพูดถึงวิตามินที่ต้องรับประทานทุกวันและขาดไม่ได้เลยก็คือวิตามินซี วิตามินซีจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเป็นสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำและมีความไวต่อความร้อนอย่างมาก สามารถระเหยได้เมื่อโดนความร้อน ฉะนั้นวิธีธรรมชาติที่ดีที่สุดก็คือได้รับวิตามินโดยไม่ผ่านการแปรรูป ซึ่งเราสามารถพบวิตามินซีได้ทั่วไปในผลไม้ตระกูลส้มและผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว หากเราได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดภาวะการขาดวิตามินซีได้ ซึ่งทำให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด บาดแผลหายช้า ปวดกระดูกและข้อ เส้นเลือดเปราะ เป็นรอยฟกซ้ำ เลือดออกตามไรฟัน เนื่องจากการดูดซึมเหล็กบกพร่อง และอาจมีภาวะโลหิตจางได้ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย

วิตามินอี 

วิตามินก็ถือว่าจัดเป็นสาร Antioxidants ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน บทบาทหลักคือทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ขับอิเล็กตรอนที่เป็นสารอนุมูลอิสระที่สามารถทำลายเซลล์ของเราได้ ช่วยเพิ่มการทำงานของภูมิคุ้มกันและป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงหัวใจ เราสามารถได้รับวิตามินอีจากอาหารจำพวกเมล็ดพืช จมูกข้าว ข้าวสาลี ข้าวกลเอง น้ำมันพืช ไข่แดง และไขมันดีจากนม การขาดวิตามินอีนั้นสามารถส่งผลเสียต่อเราได้ แต่พบได้น้อย เนื่องจากวิตามินอีมีในอาหารทั่วไปและร่างกายสะสมไว้ได้ อาการขาดอาจพบในเด็กคลอดก่อนกำหนด ทำให้เม็ดเลือดแดงเปราะ และเป็นโรคโลหิตจาง หญิงมีครรภ์ที่ขาดวิตามินอี อาจแท้งได้ง่าย

กรดซิตริก

กรดซิตริกเป็นสารอินทรีย์ มีอยู่ในผักและผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว ที่มีความเข้มข้นของกรดซิตริกสูงเป็นพิเศษ คิดเป็น 8% ของน้ำหนักแห้งของมะนาวหรือประมาณ 47 กรัมต่อลิตรของน้ำมะนาว ซึ่งกรดซิตริกเป็นสาร Antioxidants ที่ไม่มีกลิ่นและสี ถูกใช้เป็นสารกันบูด เนื่องจากสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา Aspergillus niger ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ 

สาร Anthocyanin 

สาร Anthocyanin รู้จักกันดีในสารที่ให้สีม่วง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาร Antioxidants ที่สำคัญอย่างมาก สามารถละลายน้ำได้ สามารถพบได้ทั่วไปในผักผลไม้ที่มีสีแดง ม่วง และน้ำเงิน จัดเป็นสารให้สีในตระกูลของฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในไวน์ ชา และดาร์กช็อกโกแลต ฟลาโวนอยด์เป็นหนึ่งของกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่าโพลีฟีนอล ที่ช่วยป้องกันหรือรักษาการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน นอกจากนี้สาร Anthocyanin ที่สกัดจากพืช มักใช้เป็นสีย้อม สีผสมอาหารจากธรรมชาติ และวัตถุเจือปนอาหาร เช่น สาร Anthocyanin ได้มาจากผิวองุ่น ใช้เพื่อให้สีม่วงในแยม ลูกอม และเครื่องดื่มทั่วไป

– Selenium 

Selenium จัดเป็นแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายต้องการ สามารถพบได้ทั่วไปตามธรรมชาติในอาหาร เช่น ทูน่า กุ้ง และปลาซาร์ดีน Selenium ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเอ็นไซม์และโปรตีนต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งช่วยสร้าง DNA และป้องกันความเสียหายของเซลล์และการติดเชื้อ อีกทั้ง Selenium ยังเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์และการเผาผลาญของฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่ร่างกายจะเก็บ Selenium ไว้ในเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์

ในส่วนของสาร Antioxidants ที่ได้มาจากการสังเคราะห์ที่สำคัญมี 4 ตัวด้วยกัน ดังนี้ 

– BHA (butylated hydroxyanisole)

BHA เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ถูกสกัดขึ้นมา นิยมใส่ลงในอาหารที่มีไขมันที่เพราะมีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเหม็นหืนของอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของการสร้างกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ ซึ่ง BHA ยังถูกจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร E320 ยังนิยมใส่ในเครื่องสำอาง ยาง และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

– BHT (butylated hydroxytoluene)

BHT เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มของ Lipophilic ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระในของเหลว เช่น เชื้อเพลิง น้ำมัน และวัสดุอื่น ๆ BHT ยังถูกจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ที่อนุญาตให้ใส่ได้ในอาหาร BHT ยังถูกใช้เป็นสารกันบูดในอาหารบางชนิด เพราะจะช่วยคงความสดและป้องกันการเน่าเสียของอาหาร รวมถึงเพื่อลดอัตราการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสัมผัส สี หรือรสของอาหาร

– TBHQ (tertiary butyl hydro quinone)

TBHQ จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้มาจากสารในกลุ่มของ Aromatic ในอาหาร TBHQ ใช้เป็นสารกันบูดสำหรับน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวและไขมันสัตว์ เพื่อทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนสีในไขมันและไม่เปลี่ยนรสชาติ หรือคงกลิ่นของอาหารไว้ได้ เราสามารถใช้ TBHQ ร่วมกับสารกันบูดขนิดอื่น ๆ เช่น บิวทิเลตไฮดรอกซีอะนิโซล (BHA) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานมากขึ้น

– EDTA

EDTA จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมีใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร เป็นสารเคมีไร้สีที่สามารถละลายน้ำได้ เพื่อป้องกันอาหารเน่าเสีย ป้องกันการเปลี่ยนสี ป้องกันการเหม็นหืน และเป็นสารจับโลหะ จะนิยมใส่ลงในอาหารประเภทกระป๋อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยา Browning 

ประโยชน์ของสาร Antioxidants 

ช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระ

สาร Antioxidants ช่วยปกป้องเซลล์ของเราจากความเสียหายที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระ สารอนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลที่มีปฏิกิริยาที่มีความไวต่อร่างกายของเราสูง การทำงานคือจะแย่งอิเล็กตรอนจากแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ซึ่งหากในร่างกายมีสารอนุมูลอิสระเยอะ มันจะกลายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ทั้งหมดนี้สามารถสร้างความเสียหายให้กับเซลล์และ DNA ของเรา ส่งผลให้เกิดการแก่ก่อนวัยและโรคต่าง ๆ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็ง 

เราไม่สามารถหนีจากสารอนุมูลอิสระได้เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเช่นเกิดขึ้นเมื่อเราหายใจหรือออกกำลังกายนอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่สามารถกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระได้เช่นควันบุหรี่มลพิษทางอากาศและแสงแดดดังนั้นเราต้องการสาร Antioxidants เพื่อชะลอการสร้างสารอนุมูลอิสระ เพื่อให้ร่างกายคงการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้นานมากขึ้น

ลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น

ความเครียดที่เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้นเมื่อเราขาดสมดุลและสามารถทำลายร่างกายและสมองของเราได้โดยเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด, มะเร็ง, เบาหวาน, โรคแก่ชรา, โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์และโรคพาร์กินสัน, โรคแพ้ภูมิต้านตนเองหรือโรคลูปัส, ภาวะซึมเศร้าและการสูญเสียความทรงจำ, โรคเครียด, ความผิดปกติทางอารมณ์ สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่โรคเรื้อรัง ส่งผลให้ร่างกายเกิดการสร้างปฏิกิริยาออกซิเดชั่นมากขึ้น ทำให้การฟื้นฟูตัวจากการอักเสบของกล้ามเนื้อช้าลงมาก มีการศึกษาพบว่าสาร Antioxidants สามารถลดโปรตีน c-reactive (CRP) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ โดยสาร Antioxidants สามารถลด CRP ลงได้ถึง 25% ในผู้ที่ป่วย 

ฟื้นฟูสุภาพจิต

สมองของมนุษย์มีความไวต่อสารอนุมูลอิสระอย่างมากโดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Hippocampus ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความทรงจำ ความเครียดที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ได้จากสารอนุมูลอิสระ ไม่เพียงแต่ทำลายเซลล์ในสมองส่วน Hippocampus เท่านั้น มันยังลดการสร้างเซลล์ โดยระงับการเจริญเติบโตของเซลล์ไว้ มีงานวิจัยพบว่าการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีสาร Antioxidants สามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าและอาการวิตกกังวลได้ โดยไปป้องกันการสร้างสารอนุมูลอิสระในสมอง ความน่าสนใจคือในการรักษาโรคซึมเศร้า มักจะมีการจ่ายวิตามินซีและวิตามินอีร่วมได้ เพื่อกระตุ้นการสร้างสาร Antioxidants และพบว่าหลังจากการรักษา 6 สัปดาห์ระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดเพิ่มขึ้น และอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลลดลง

ส่งเสริมการทำงานของสมอง 

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจากความเครียดสามารถทำให้ระบบประสาทของสมองทำงานผิดปกติได้มีการศึกษาหลายครั้งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของระบบประสาทเช่นโรคอัลไซเมอร์โรคฮันติงตันและโรคปลอกปลายประสาทเสื่อมและการขาดสารต้านอนุมูลอิสระพบว่ามีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกันหากเรามีสารต้านอนุมูลอิสระในสมองน้อยความเสี่ยงของโรคข้างต้นก็จะมากขึ้น 

ช่วยชะลอการเสื่อมของวัย

ด้วยอายุมากขึ้นความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบของกล้ามเนื้อก็มากขึ้นมีทฤษฎีที่น่าสนใจที่เรียกว่า oxi-inflamm-aging ชี้ให้เห็นว่าความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เรื้อรัง จะเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของมนุษย์ เช่น ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ และภูมิคุ้มกัน ทำให้เมื่อเรามีอายุมากขึ้น การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำได้ช้าลง ร่างกายจะทำงานแบบติดขัด นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระยังช่วยปกป้อง DNA ของเรา โดยจะไปป้องกันเทโลเมียร์ เทโลเมียร์คือส่วนที่ห่อหุ้มปลายประสาทของโครโมโซม เมื่ออายุมากขึ้น เทโลเมียร์จะสั้นลง แสดงให้เห็นถึงความแก่ชรา ดังนั้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถทำให้เทโลเมียร์สั้นลงได้ เนื่องจากจะไปช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันและการอักเสบ 

ส่งเสริมสุขภาพของดวงตา

มีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันโรคตาเสื่อมสภาพหรือโรค AMD ได้ ซึ่งโรค AMD จะเกิดขึ้น เมื่อเราอายุมากขึ้นและทำให้จุดดำในดวงตาเสียหาย เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียการมองเห็น โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โรค AMD ไม่ได้ทำให้เกิดอาการตาบอด แต่เป็นการทำลายการมองเห็นที่ต้องควบคุมด้วยสมองส่วนกลางของเรา ส่งผลให้วิสัยทัศน์ต่าง ๆ แย่ลง เช่น การอ่านหนังสือ การขับรถ การจดจำใบหน้า และการมองเห็นระยะใกล้

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของสาร Antioxidants

สารต้านอนุมูลอิสระนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมาก ผลการวิจัยด้านอาหารและสุขภาพชี้ให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมากขึ้นอาจช่วยป้องกันโรคได้ แต่อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูงก็อาจจะเป็นอันตรายในบางกรณี มีผลการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นถึงการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเบตาแคโรทีน ซึ่งเป็นสาร Antioxidants ในปริมาณที่สูง อาจจะส่งผลในเรื่องของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งปอดในผู้สูบบุหรี่ อาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดอาจจะทำปฏิกิยากับยาบางชนิดได้ ตัวอย่างเช่น อาหารเสริมวิตามินอีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดในผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด อย่างไรก็ตามหากเรารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากบริษัทที่ปลอดภัย เราก็สามารถไว้วางใจได้เลยว่าเราจะได้รับประโยชน์จากสารต้านอนุมูลอิสระอย่างแน่นอน 

สรุป

เราสามารถสรุปได้เลยว่าสาร Antioxidants มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก เนื่องจากสามารถหยุดยั้งการเกิดปฏิกิริยา oxidation ที่อาจจะเกิดขึ้นในร่างกายได้ ช่วยให้ร่างกายของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราสามารถได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติในอาหารทั่วไปได้และเราควรได้รับสาร Antioxidants ในทุก ๆ วัน ฉะนั้นหลังจากนี้เราอย่าลืมสำรวจตัวเองว่าเราได้รับสาร Antioxidants เพียงพอแล้วหรือยัง เพื่อให้ร่างกายของเราทำงานอย่างเป็นระบบต่อไป

อ้างอิง 

Alina Petre. 2019. What Are Polyphenols. Available at: https://www.healthline.com/nutrition/polyphenols

Yvette Brazier. 2020. What are vitamins, and how do they work. Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/195878 

Zia Sherrell. 2021. What is citric acid, and what is it used for. Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/citric-acid

Alina Petre. 2022. What is Anthocyanin. Available at: https://www.healthline.com/nutrition/anthocyanin

Amanda Barrell. 2021. 15 foods high in selenium. Available at: https://www.medicalnewstoday.com/articles/foods-with-selenium

Jessica Gavin. 2021. 6 Health Benefits of Antioxidants. Available at: https://www.jessicagavin.com/benefits-of-antioxidants/